ข้ามไปเนื้อหา

เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554

พิกัด: 59°54′54″N 10°44′48″E / 59.9149776°N 10.746544°E / 59.9149776; 10.746544 (เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 2011 Norway attacks)
เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554
ทิวทัศน์ทันทีทันใดหลังเกิดระเบิด
ที่เกิดเหตุในเทศมณฑลออสโลและVikenของประเทศนอร์เวย์
สถานที่ออสโลและอูเตอยา ประเทศนอร์เวย์
พิกัด59°54′54″N 10°44′48″E / 59.9149776°N 10.746544°E / 59.9149776; 10.746544 (เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554)
วันที่22 กรกฎาคม 2011; 13 ปีก่อน (2011-07-22)
(UTC+02:00)
เป้าหมายสมาชิกพรรคแรงงาน[4][5]
ประเภทระเบิดติดรถ, เหตุกราดยิงหมู่, การก่อการร้าย
อาวุธ
ตาย77 คน (ด้วยระเบิด 8 คน, ปืน 67 คน, ทางอ้อม 2 คน)[7][8]
เจ็บมากกว่า 319 คน (ด้วยระเบิดมากกว่า 209 คน, ปืน 32 คน, ทางอ้อมมากกว่า 78 คน)[9][10][11]
ผู้ก่อเหตุแอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก
เหตุจูงใจการเมืองขวาจัดสุดโต่ง[12]

เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554 กล่าวถึงในประเทศนอร์เวย์เป็น 22 กรกฎา (นอร์เวย์: 22. juli)[13] หรือ 22/7[14] เป็นเหตุโจมตีเพื่อก่อการร้ายสองครั้ง ต่อรัฐบาล ค่ายฤดูร้อนทางการเมือง และประชากรพลเรือน ในประเทศนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ครั้งแรกเป็นเหตุระเบิดในกรุงออสโล เมื่อเวลาประมาณ 15:25:22 นาฬิกา (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)[1] โดยมีระเบิดตั้งอยู่ในรถตู้[15] นอกสำนักงานนายกรัฐมนตรี เย็นส์ สต็อลเตินบาร์ก และสำนักราชการอีกหลายแห่ง[16] ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน และได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 209 คน ซึ่งมี 12 คนได้รับบาดเจ็บสาหัส[9][10][11]

เหตุโจมตีครั้งที่สองนั้นเกิดขึ้นในราวสองชั่วโมงให้หลัง ที่ค่ายเยาวชนซึ่งจัดโดยองค์การเยาวชนของพรรคแรงงานนอร์เวย์ ณ เกาะอูเตอยา โดยมีมือปืนอย่างน้อยหนึ่งคนปลอมตัวเป็นตำรวจกราดยิงใส่ผู้เข้าค่าย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 67 คน[7][8][17] และบาดเจ็บ 32 คน[10][11] เหตุยิงบนเกาะอูเตอยานี้ถือเป็นเหตุที่มือปืนเดี่ยวสังหารผู้อื่นไปมากที่สุดในประวัติศาสตร์[18] หลังเหตุดังกล่าว เจ้าพนักงานตำรวจปะทะกับและจับกุมชายชาวนอร์เวย์วัย 32 ปี ชื่อ แอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก[19] และตั้งข้อหาเขาว่าเป็นผู้ลงมือก่อเหตุทั้งสองครั้ง[20] สหภาพยุโรป นาโต และอีกหลาย ๆ ประเทศแสดงการสนับสนุนนอร์เวย์ และประณามเหตุโจมตีดังกล่าว

การเตรียมการ

[แก้]

เบรวิกใช้เวลาหลายปีเข้าไปอภิปรายในอินเทอร์เน็ตฟอรั่มและแสดงความเห็นต่อต้านอิสลามและการอพยพ[21] เขากำลังเตรียมก่อเหตุโจมตีตั้งแต่ พ.ศ. 2552 หรือก่อนหน้านั้น แม้ว่าเขาจะปกปิดเจตนารุนแรงของเขาก็ตาม[22][23][24]

เขาใช้เวลาช่วงต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 พยายามหาซื้ออาวุธปืนในกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงหันมาพึ่งช่องทางกฎหมาย[25] โดยตัดสินใจซื้อปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติและปืนพกกล็อกอย่างถูกต้องตามกฎหมายในนอร์เวย์ เขาได้รับอนุญาตให้ซื้อปืนคาร์ไบน์กึ่งอัตโนมัติ รูเกอร์ มินิ-14 ซึ่งใช้เพื่อล่ากวาง เขาซื้อปืนในราคา 1,400 ยูโร ในปลาย พ.ศ. 2553[26] แต่การได้มาซึ่งปืนพกนั้นยากกว่ามาก โดยเขาต้องเข้าใช้บริการของสโมสรกีฬายิงปืนเป็นประจำ[27] จนกระทั่งได้รับอนุญาตให้ซื้อปืนพกกล็อกในกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2554[28][29]

เบรวิกอ้างในแถลงการณ์ของเขาว่าได้ซื้อโซเดียมไนเตรต 300 กรัมจากร้านค้าโปแลนด์แห่งหนึ่งเป็นเงิน 10 ยูโร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เพื่อทำชนวนระเบิด[30] เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[31] เขาซื้อสารเคมีจากบริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ที่วรอตสวัฟ เบรวิกตัดสินใจเก็บเงิน 2,000 ยูโรเพื่อซื้อ "โสเภณีหรูหรา" ก่อนลงมือก่อเหตุ ซึ่งคาดกันว่าช่วยให้เขามีขวัญกำลังใจและแรงจูงใจ เขายังวางแผนบริการมรณสักขีครั้งสุดท้ายในโบสถ์ฟรอกเนอร์ก่อนก่อเหตุด้วย[27]

ตามแถลงการณ์ส่วนตัวของเขา เบรวิกสั่งซื้อปุ๋ยเพื่อทำระเบิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554[32] เขาเริ่มต้นทำระเบิดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม วันที่ 13 มิถุนายน เขาได้ทดลองระเบิดครั้งแรก ณ สถานที่ไร้ผู้คนแห่งหนึ่งที่ไม่ระบุ วันที่ 15 กรกฎาคม เขาเช่ายืมรถมาคันหนึ่ง และวันที่ 18 กรกฎาคม เขาผูกระเบิดติดเข้ากับรถ บันทึกสุดท้ายของเขาในวันที่ 22 กรกฎาคม กล่าวว่า เขามีวัตถุดิบเพียงพอสำหรับก่อเหตุระเบิดอย่างน้อย 20 ครั้ง[33]

เหตุระเบิดในออสโล

[แก้]
แผนที่พื้นที่ที่เกิดระเบิด สีแดง: อาคารรัฐบาล สีส้ม: ตำแหน่งของรถที่ถูกทำลาย แต่ไม่ใช่จุดเกิดระเบิด สีน้ำเงิน: อาคารกระทรวงน้ำมัน

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เมื่อเวลา 15.25 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง ระเบิดซึ่งถูกวางไว้ในโฟล์กสวาเกนครัฟแตร์ถูกจุดระเบิดในที่จอดรถที่จัตุรัสรัฐบาล ในกรุงออสโล ใกล้กับสำนักงานนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก และสำนักราชการอื่น ๆ เช่น กระทรวงปิโตรเลียมและพลังงาน และกระทรวงการคลัง[34] โดยพบว่ามีหน้าต่างแตกกระจายเป็นอันมาก แต่ต่อมา มีการยืนยันว่ารายงานดังกล่าวไม่เป็นความจริง[35] และมีรายงานแย้งกันด้วยว่า อาจมีระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้ง[36] สโตลเทนเบิร์กไม่ได้รับอันตรายจากเหตุดังกล่าว[37] เสียงของการระเบิดสามารถได้ยินไปไกลถึง 7 กิโลเมตร[34]

มีเศษแก้วและสะเก็ดอาคารที่ถูกระเบิดดาดาษตามท้องถนนรอบพื้นที่เกิดเหตุ พบซากรถคันหนึ่งถูกระเบิดใกล้อาคารที่ได้รับผลกระทบ และมีรายงานว่าเกิดควันไฟสีขาวขนาดใหญ่ โดยว่าเป็นเพลิงที่ลุกไหม้ในกระทรวงปิโตรเลียมและพลังงาน หลังเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าปราบพื้นที่ และตรวจหาวัตถุระเบิดเพิ่มเติม[38] ตำรวจกระตุ้นให้ประชาชนอพยพออกจากใจกลางกรุงออสโล[39]

ความสูญเสีย

[แก้]

มีการยืนยันว่า ในเหตุระเบิดที่กรุงออสโล มีผู้เสียชีวิต 8 คน[37] ได้รับบาดเจ็บสาหัส 11 คน[40] และได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 15 คน[41][42] นายแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยออสโลกล่าวว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกำลังรักษาอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หน้าอกและบริเวณท้อง[43]

ในพื้นที่เกิดเหตุ มีผู้คนอยู่น้อยกว่าปกติ เพราะเป็นเดือนกรกฎาคมที่ชาวนอร์เวย์มีวันหยุดเป็นหลัก[44] ประกอบกับเหตุระเบิดเกิดขึ้นหลังเวลาราชการ นี้จึงอาจเป็นสาเหตุที่มีจำนวนผู้เสียหายไม่สูงนัก

ผลกระทบต่อการคมนาคม

[แก้]

ถนนทุกสายที่มุ่งสู่เขตเมืองออสโลถูกปิดเพราะเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอพยพประชาชนจากพื้นที่ และเตือนพลเมืองออสโลให้อยู่ห่างจากใจกลางเมือง และจำกัดการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเกรงว่าอาจเกิดการโจมตีเพื่อก่อการร้ายขึ้นอีกได้[45] การขนส่งสาธารณะทั้งเข้าและออกเมืองถูกระงับ[46] โดยมีนักเดินทางรายหนึ่งติดต่อทางอีเมลกับบีบีซีซึ่งระบุว่า ตำรวจตั้งด่านตรวจบนถนนที่มุ่งสู่ท่าอากาศยานออสโล[47] แต่ท่ายังคงเปิดทำงานขณะที่ตำรวจตรวจค้นรถ ณ ที่นั้น[48][49]

สายทางรถไฟการ์เดอร์โมนระหว่างลีลล์สตอร์มกับท่าอากาศยานถูกปิดเช่นกัน หลังพบพัสดุต้องสงสัยใกล้กับรางรถไฟ[50] เหตุการณ์ทำนองเดียวกันยังเกิดที่สำนักงานสถานีโทรทัศน์ ทีวี 2 เป็นเหตุให้พนักงานต้องอพยพออกไป[51]

เหตุยิงกันบนเกาะอูเตอยา

[แก้]

อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงครึ่งให้หลังเหตุระเบิดในกรุงออสโล[37] ชายในชุดตำรวจ ซึ่งยืนยันว่าเป็นแอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก กำลังโดยสารเรือเฟอร์รีไปยังเกาะอูเตอยา[52] อันเป็นสถานที่ตั้งของค่ายเยาวชนฤดูร้อนประจำปีของสันนิบาตเยาวชนแรงงานของพรรคแรงงานนอร์เวย์[37] โดยมีเยาวชนเข้าร่วมอย่างน้อย 600 คน[53]

เมื่อเบรวิกมาถึงเกาะ เขาแสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งเดินทางมาเพื่อตรวจสอบตามปกติหลังเหตุระเบิดในกรุงออสโล เขาส่งสัญญาณและขอให้ผู้คนมารวมตัวอยู่รอบตัวเขา[54] ก่อนที่เขาจะชักอาวุธและเครื่องกระสุนจากกระเป๋าและกราดยิงอาวุธออกไปไม่เลือก[55][56][57] ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เขาเริ่มยิงประชาชนบนเกาะก่อนแล้วค่อยเริ่มต้นยิงผู้ที่พยายามหลบหนีโดยว่ายน้ำข้ามทะเลสาบ[58]

โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติใต้กำกับกระทรวงยุติธรรมและตำรวจรายงานว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอายุ 15 และ 16 ปี[59] มีรายงานว่า พยานบางคนบนเกาะซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้และในห้องน้ำ และติดต่อโดยเมสเสจข้อความเพื่อมิให้มือปืนทราบตำแหน่งของตน[60] ตามรายงาน เหตุยิงสิ้นสุดลงหลังเวลาผ่านไปกว่าหนึ่งชั่วโมงครึ่ง เมื่อหน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจมาถึงและมือปืนยอมให้จับกุมแต่โดยดี แม้ว่าจะมีกระสุนเหลืออยู่ก็ตาม เมื่อเวลา 18.35 น.[61]

เมื่อเวลา 17.27 น. ตำรวจท้องที่ได้รับแจ้งเหตุยิงกันดังกล่าว และอีกสองนาทีให้หลัง ตำรวจในกรุงออสโลได้รับแจ้งเหตุเช่นกัน[62] ถึงเวลา 17.38 น. หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายกลางถูกส่งไปยังอูเตอยา[62] อย่างไรก็ตาม กองกำลังปฏิบัติการพิเศษในกรุงออสโลไม่มีเฮลิคอปเตอร์ที่จะขนส่งไปยังเกาะอูเตอยาได้ทันที ทำให้หน่วยดังกล่าวต้องลงพื้นที่โดยรถยนต์[63] แล้วจึงต่อเรือเฟอร์รีไปยังเกาะเมื่อเวลา 18.09 น. แต่ต้องรอเรือพาพวกเขาแล่นข้ามน้ำไปอีกหลายสิบนาที จนไปถึงเกาะเมื่อเวลา 18.25 น. และเมื่อตำรวจมาถึงไม่เกินสองนาที มือปืนก็ยอมให้ตำรวจจับกุมแต่โดยดี[62]

พยานหลายคนที่ค่ายเยาวชนแสดงความสงสัยว่ามีมือปืนก่อเหตุเพียงคนเดียวจริงหรือไม่[64] ตำรวจได้รับการบอกรูปพรรณสัณฐานของมือปืนคนที่สอง และกำลังสอบสวนเพื่อยืนยันหรือปฏิเสธความถูกต้องของข้อมูลนี้ เนื่องจากความไม่แน่นอนในการระบุรูปพรรณสัณฐานของพยานและลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโกลาหล ตำรวจจึงยังไม่ได้มีข้อคิดเห็นอย่างเป็นทางการต่อประเด็นดังกล่าว[65][66] เบรวิกอ้างว่าเขาลงมือก่อเหตุคนเดียวและไม่มีผู้สมรู้ร่วมคิด[67] เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม มีการจับกุมเพิ่มอีก 6 คนในกรุงออสโลด้วยข้อหามีความเชื่อมโยงกับเหตุโจมตี ก่อนจะถูกปล่อยตัวมาเมื่อเชื่อว่าทั้งหมดไม่ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอีกต่อไป[68]

ผู้ต้องสงสัย

[แก้]

สื่อนอร์เวย์หลายสำนักระบุว่า ผู้ต้องสงสัยลงมือก่อเหตุคือ แอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก เขาถูกจับกุมในเกาะอูเตอยาสำหรับก่อเหตุยิงดังกล่าวและเชื่อมโยงเข้ากับเหตุระเบิดในกรุงออสโลด้วย[69][70] เขาถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายจากเหตุทั้งสอง[20] ตามข้อมูลของทนายของเขา เบรวิกยอมรับว่าเขารับผิดชอบต่อทั้งเหตุระเบิดและเหตุยิงระหว่างการสืบสวนสอบสวน แต่ปฏิเสธความผิดทางอาญา โดยอ้างว่าพฤติการณ์ของเขานั้น "โหดร้ายแต่จำเป็น"[71] เมื่อเขาถูกนำตัวขึ้นศาลครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม เบรวิกถูกส่งกลับไปคุมขังเป็นเวลาแปดสัปดาห์ และช่วงสี่สัปดาห์แรกเป็นการขังเดี่ยว[72] เบรวิกต้องการให้มีการไต่สวนอย่างเปิดเผยและสวมเครื่องแบบที่เขาออกแบบเองระหว่างไต่สวน แต่คำขอทั้งสองถูกผู้พิพากษาปฏิเสธ[73]

อุดมการณ์ขวาจัดของเบรวิกปรากฏในแถลงการณ์ยาว 1,518 หน้า ชื่อว่า "2083-การประกาศอิสรภาพของยุโรป" ซึ่งถูกโพสต์วันเดียวกับวันเกิดเหตุ[74][75] แถลงการณ์ชาตินิยมสุดขั้วของเขาเปิดเผยถึงมุมมองแบบอาการกลัวคนแปลกหน้าของเขา ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดทางการเมืองหลายแนวคิด รวมทั้งการสนับสนุนลัทธิอนุรักษนิยมทางวัฒนธรรม ประชานิยมฝ่ายขวา ต่อต้านอิสลามานุวัตร และลัทธิทหารพรานเซอร์เบียในระดับที่แตกต่างกัน[76][77] ขณะที่สนับสนุนการกวาดล้างยูราเบีย "มากซิสต์ทางวัฒนธรรม" อิสลามและพหุวัฒนธรรมนิยมด้วยกำลัง เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นคริสต์ของทวีปยุโรป[23][77][78][79][80][81]

ความสูญเสีย

[แก้]

เมื่อเวลาประมาณ 3.50 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง ของวันที่ 23 กรกฎาคม เครือข่ายโทรศัพท์หลักสองสถานีของนอร์เวย์ แพร่ภาพการแถลงข่าวสดจากกรุงออสโล ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินอร์เวย์ ออยสเตน เมแลนด์ แถลงจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุยิงบนเกาะอูเตอยาว่ามี "อย่างน้อย 80 คน" และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น[82][83][84][85]

วันที่ 25 กรกฎาคม โฆษกตำรวจเปิดเผยว่ายอดผู้เสียชีวิตของเหยื่อบนเกาะอูเตอยาถูกทบทวนปรับลดลงเหลือ 68 คน หลังยอดผู้เสียชีวิตถูกนับเมื่อศพถูกนำมายังแผ่นดินใหญ่[86] นอกจากนี้ยังเสริมอีกว่ายอดผู้สูญหายยังคงมีสูงและยอดผู้เสียชีวิตอาจสูงถึง 86 คน

วันที่ 26 กรกฎาคม ตำรวจนอร์เวย์เผยแพร่ชื่อและวันที่เกิดของเหยื่อบนเว็บไซต์ จนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม ชื่อของเหยื่อทั้ง 77 คน (8 คนจากเหตุระเบิด และ 69 คนบนเกาะอูเตอยา) ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์[87] ภายหลังเหตุการณ์ สถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงออสโล ได้แจ้งกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่ามีผู้เสียชีวิตชาวไทย 1 ราย คือ นางสาว พรทิพย์ อดัม อายุ 21 ปี เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เกาะอูโทยา โดยนายจุลพงษ์ โนนศรีชัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ได้ให้เกียรติในการเข้าร่วมงานฝังศพในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ โบสถ์เมือง Lund ใกล้กับเมือง Kristiansand พร้อมกล่าวคำสดุดีต่อหน้า นางสวรรยา อดัม มารดา ของผู้เสียชีวิตอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Eksplosjonen i Oslo sentrum 22. juli 2011" [The explosion in Oslo 22 July 2011] (ภาษานอร์เวย์). 23 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2012. สืบค้นเมื่อ 1 August 2011.
  2. "Notat – Redgjørelse Stortinget" (PDF) (ภาษานอร์เวย์). Politiet. 10 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 December 2013. สืบค้นเมื่อ 10 November 2011.
  3. "Slik var Behring Breiviks bevegelser på Utøya". Aftenposten (ภาษานอร์เวย์). 16 April 2012. สืบค้นเมื่อ 16 April 2012.
  4. "Norway: Anders Behring Breivik claims 'two more cells'". BBC News. 25 July 2011.
  5. "Arbeiderpartiet har sveket landet, og prisen fikk de betale fredag" [The Labour Party has betrayed the country, and the price they paid on Friday]. NRK (ภาษานอร์เวย์). 25 July 2011.
  6. "Skutt på kloss hold" [Shot at close range]. Dagsavisen (ภาษานอร์เวย์). 3 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2012.
  7. 7.0 7.1 "Terrorofrene på Utøya og i Oslo". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). Schibsted ASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2011. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
  8. 8.0 8.1 "Navn på alle terrorofre offentliggjort". Verdens Gang (ภาษานอร์เวย์). Schibsted ASA. 29 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2011. สืบค้นเมื่อ 27 September 2011.
  9. 9.0 9.1 "Dette er Breivik tiltalt for" [Breivik's indictment] (ภาษานอร์เวย์). NRK. 7 March 2012.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Oslo government district bombing and Utøya island shooting July 22, 2011: The immediate prehospital emergency medical service response". Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine. 26 January 2012.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Læring for bedre beredskap; Helseinnsatsen etter terrorhendelsene 22. juli 2011" (ภาษานอร์เวย์). 9 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2013.
  12. "Norway killer Anders Breivik ruled sane, given 21-year prison term". CNN. 24 August 2012.
  13. "Journalists and PTSD: Is it about guilt?". Columbia Journalism Review. 6 December 2013.
  14. "Må i retten for underslag av 22/7-penger". vg.no. สืบค้นเมื่อ 15 December 2016.
  15. "Her er restene av bombebilen" [Here is the remains of the car]. NRK (ภาษานอร์เวย์). 29 October 2011.
  16. Beaumont, Peter (22 July 2011). "Oslo bomb: suspicion falls on Islamist militants". The Guardian. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  17. "En av de sårede døde på sykehuset" [One of the wounded died in hospital]. Østlendingen (ภาษานอร์เวย์). 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  18. "Norwegian Gunman Confesses -- Deadliest Attack By A Single Gunman In History". Radar Online. July 24, 2011. สืบค้นเมื่อ July 29, 2011.
  19. Skevik, Erlend; Jørstad, Atle; Stormoen, Stein-Erik (22 July 2011). "Storberget: - Den pågrepne er norsk". VG Nett (ภาษานอร์เวย์). NO. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  20. 20.0 20.1 "Scores killed in Norway attack". BBC. UK. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011. We have no more information than... what has been found on [his] own websites, which is that it goes towards the right and that it is, so to speak, Christian fundamentalist.
  21. Clive Williams. "Deadly, cruel lesson from Norway". The Australian. สืบค้นเมื่อ 2011-07-27.
  22. "Oslo Suspect Cultivated Parallel Life to Disguise 'Martyrdom Operation'". 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  23. 23.0 23.1 "2083 — A European Declaration of Independence" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  24. Norský vrah sháněl zbraně i u motorkářů v Praze (ภาษาเช็ก), Týden, 24 July 2011 (Google Translate link)
  25. Oslo killer sought weapons from Prague’s underworld, Czech Position, 25 July 2011, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-12, สืบค้นเมื่อ 2011-07-28
  26. "Breivik's injected his dum-dum bullets with poison to make them deadlier". Daily Mail. 2011-07-26.
  27. 27.0 27.1 Zbraně jel Breivik nakoupit do "nebezpečné Prahy" (ภาษาเช็ก), novinky.cz, 24 July 2011 (Google Translate link)
  28. Suspect focused on buying specific weapons, ft, 24 July 2011
  29. "Skaffet seg våpen på lovlig vis". Bergens Tidende (ภาษานอร์เวย์). Norsk Telegrambyrå. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  30. Zoellner, Marek (26 July 2011). "ABW: Breivik kupował we Wrocławiu chemikalia, ale legalnie" (ภาษาโปแลนด์). pl:Gazeta Wrocławska/PAP. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011. (Google Translate link)
  31. "Tajné služby Breivika sledovaly od března, podle otce se měl raději zastřelit". novinky.cz (ภาษาเช็ก). 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011. (Google Translate link)
  32. "Diary of a madman". 24 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-14. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  33. Z deníku norského vraha: Prásk! Detonace byla úspěšná!:-) (ภาษาเช็ก), Týden, 24 July 2011 (Google Translate link)
  34. 34.0 34.1 Ward, Andrew (22 July 2011). "Youth camp shooting after Oslo bomb". Financial Times. Stockholm. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  35. Foto: Dagbladet.no. "Explosion i centrala Oslo - Nyheter - Senaste nytt | Expressen - Nyheter Sport Ekonomi Nöje". Expressen.se. สืบค้นเมื่อ 2011-07-22.
  36. "Stor eksplosjon i Oslo sentrum" (ภาษานอร์เวย์). NO: NRK. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  37. 37.0 37.1 37.2 37.3 "Oslo: Bomb blast near Norway prime minister's office". BBC News. UK. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  38. "Big Blast Hits Government Buildings in Central Oslo". The New York Times. 23 July 2011.
  39. "Explosion rocks Oslo | Events". Blogs. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  40. "Explosion In Oslo Government Building". News. Sky. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  41. Hough, Andrew (22 July 2011). "Oslo explosion: 'several' dead, dozens injured after Norway city blast". The Telegraph. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  42. "Explosion hits Norwegian PM's office — Europe". Al Jazeera English. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  43. "17 dead in Oslo bombing, shootings; Norwegian held - On Deadline - USATODAY.com". Content.usatoday.com. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  44. "Norway on summer vacation". The Research Council of Norway. 1 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-13. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  45. Duxbury, Charles (22 July 2011). "Deadly Attacks Shake Norway". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  46. Rayfield, Jillian (22 July 2011). "Oslo Bomb Attack — Eyewitness Reports". LiveWire. Talking Points Memo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  47. "Oslo bomb — latest updates". News. UK: BBC. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  48. "Bomb blast rocks downtown Oslo". RT. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  49. "Oslo-trikken: – Det er normal drift, ingen grunn til bekymring". TV 2 (ภาษานอร์เวย์). NO. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  50. "All trains shut down after suspicious package". Dagbladet. NO. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  51. Lofstad, Ralf; Haraldsen, Stian; Badi, Diana (22 July 2011). "Disse områdene er evakuert". Dagbladet (ภาษานอร์เวย์). NO. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  52. "Police: 91 youth campers dead in mass shooting, bombing in Norway". CNN. US. 23 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-27. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  53. "Norway Camp Shooting: 'As Many As 30 Dead'". Sky News. 23 July 2011. Accessed 27 July 2011
  54. "Flere unge skutt og drept på Utøya". Norwegian Broadcasting Corporation. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  55. Witnesses Describe Scene Of Terror At Norway Camp by NPR, 23 July 2011
  56. Brenna, Jarle (22 July 2011). "Vi er under angrep!". VG Nett (ภาษานอร์เวย์). NO. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  57. "LIVE: Doden bij bomexplosie in Oslo – schietpartij op jongerenkamp" (ภาษาดัตช์). NL: NRC.
  58. "Nine, perhaps 10, killed in Norway shooting". Reuters. 22 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  59. "Blasts and Gun Attack in Norway; 7 Dead". The New York Times. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  60. "Twin terror attacks shock Norway". News. UK: BBC. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  61. "Terroriserte Utøya i halvannen time" [Terrorized Utøya in half hour] (ภาษานอร์เวย์). 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  62. 62.0 62.1 62.2 "Breivik forberedte terror i ni år" [Breivik preparing terror for nine years] (ภาษานอร์เวย์). 24 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  63. "The wrong helicopter and a sinking boat: Why it took police so long to reach Norwegian island massacre". News. UK: Mail Online. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  64. "Eyewitness to VG: (...)". VG.
  65. "Politiet frykter gjerningsmann kan være på frifot" (ภาษานอร์เวย์). NO: VG. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  66. "Frykter at gjerningsmann kan være på frifot" (ภาษานอร์เวย์). NO: Aftenposten. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  67. "Synes ikke selv at han bør straffes" (ภาษานอร์เวย์). NO: NRK. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  68. Norwegian police arrest six in Oslo raids BreakingNews.ie, 24 July 2011.
  69. "Anders (32) i Oslo ble pågrepet etter bombe og massedrap". Nyhetene. NO: TV 2. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  70. "Pågrepet 32-åring kalte seg selv nasjonalistisk". Nett (ภาษานอร์เวย์). NO: VG. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  71. Hansen, Birthe Steen (23 July 2011). "Defence: - In his mind it was necessary". Nettavisen / TV2. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  72. Tisdal, Townsend (25 July 2011). "Defiant from the dock, Breivik boasts more will die". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  73. Erlanger, Steven (25 July 2011). "Norway Suspect Denies Guilt and Suggests He Did Not Act Alone". New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
  74. Kumano-Ensby, Anne Linn (23 July 2011). "Sendte ut ideologisk bokmanus en time før bomben". NRK News (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  75. Bjoern Amland and Sarah Dilorenzo (24 July 2011). "Lawyer: Norway suspect wanted a revolution". Forbes. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.[ลิงก์เสีย]
  76. "Norwegian mass murderer Breivik comments on Croat-Serb relations in his manifesto". Croatian Times. 27 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  77. 77.0 77.1 'Norway attack suspect had anti-Muslim, pro-Israel views' by Ben Hartman, The Jerusalem Post, 24 July 2011
  78. Birnbaum, Michael; Mala, Elisa; Goodman, J David (22 July 2011). "At Least 80 Are Dead in Norway Shooting". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  79. Norwegian Massacre Gunman was a Right-Wing Extremist who hated Muslims by The Daily Mail, 24 July 2011
  80. Beaumont, Peter (23 July 2011). "Anders Behring Breivik: profile of a mass murderer". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  81. Norwegian Crime and Punishment by Debra J. Saunders, San Francisco Chronicle, 26 July 2011 ~ "... the anti-multiculturalism, anti-Muslim and anti-Marxist message of his 1,500-page manifesto."
  82. "At least 92 killed in shootings and bomb blast in Norway". NO: VG. 22 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  83. Live Stream. NO: TV 2.
  84. TV2, Norwegian national television station
  85. "Politiet: Minst 80 drepte på Utøya - Norge". Nyheter (ภาษานอร์เวย์). NO: NRK. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  86. "Norway Skynews Live blog". Sky News. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  87. "– Navn på omkomne etter tragediene på Utøya og i Oslo" (ภาษานอร์เวย์). 29 July 2011. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ภาพ

[แก้]