ข้ามไปเนื้อหา

13 เกมสยอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
13 เกมสยอง
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
เขียนบท
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพจิตติ เอื้อนรการกิจ
ตัดต่อชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
ดนตรีประกอบกิตติ เครือมณี
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย5 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ความยาว116 นาที
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ทุนสร้าง13 ล้าน บาท
ทำเงิน18.47 ล้าน บาท
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

13 เกมสยอง (ชื่ออังกฤษ: 13 Beloved) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวระทึกขวัญ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2549 กำกับโดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดย กฤษดา สุโกศล แคลปป์, อชิตะ สิกขมานา, ศรัณยู วงษ์กระจ่าง และณัฐพงษ์ อรุณเนตร์

13 เกมสยอง เป็นภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากเรื่อง "13th Quiz Show" ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูน "รวมเรื่องสั้นจิตหลุด" (My Mania) ของ เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ นักเขียนการ์ตูนชาวไทย[1] สำหรับรางวัลที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคือ รางวัลสาขาผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม โดย กฤษดา สุโกศล แคลปป์ จากรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2549[2]

มีการสร้างภาพยนตร์ภาคก่อนหน้าของ 13 เกมสยอง เป็นหนังสั้น ชื่อเรื่อง 11 (หรือ Earthcore) , 12 Begin [3] และภาคต่อ ชื่อเรื่อง 14 Beyond [4]

ภาพยนตร์ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้างภาพยนตร์ฮอลลีวูด ชื่อเรื่อง 13 Sins กำกับโดย แดเนียล สแตมม์ ผู้กำกับชาวเยอรมัน [5]

เรื่องย่อ

[แก้]

ภูชิต พึ่งนาทอง[6](น้อย วงพรู) เซลล์แมนขายเครื่องดนตรี ที่กำลังถูกออกจากงานหลังจากที่ไม่สามารถทำรายได้ตามเป้าได้ อีกทั้งคนรักยังทิ้งไปหาคนใหม่ หนี้สินที่มีอยู่ก็มีอยู่และยังต้องส่งเสียน้องสาววัยเรียนและแม่ที่ต้องเลี้ยงดูเขาและน้องเพียงลำพังตั้งแต่เล็ก และแม้แต่รถยนต์ที่ขาดส่งไป 3 เดือนก็ยังถูกยึดไปต่อหน้าต่อตา และถึงตอนนั้นสิ่งที่ไม่คาดคิดคือ เขาเป็นคนที่ถูกเลือก

เมื่อโทรศัพท์มือถือดังขึ้น เสียงลึกลับจากปลายสายดึงเขาเข้าสู่ “13 BELOVED” เกมท้าทายชีวิตที่มีโจทย์ 13 ข้อ ซึ่งให้เขาค้นหาคำตอบและเล่นโดยมีผลตอบแทนที่ดึงดูดใจ คือเมื่อผ่านโจทย์ในแต่ละข้อได้เงินสะสมก็พร้อมที่จะทวีคูณขึ้นไปเรื่อย ๆ จะถูกส่งเข้าบัญชีธนาคารที่เขาสามารถตรวจสอบได้ทันที และถ้าครบ 13 ข้อก็จะได้เงินสะสมถึง 100 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขที่ว่าเมื่อใดก็ตามที่เขาหยุดเล่นเงินสะสมทั้งหมดจะถูกยกเลิก หากบอกต่อให้คนอื่นรู้เกมถือว่าเป็นโมฆะ และหากพยายามติดต่อกลับหมายเลขดังกล่าวถือว่าเกมสิ้นสุด

โจทย์ของเกม 13 เกมสยอง

[แก้]
  1. ฆ่าแมลงวันด้วยหนังสือพิมพ์
  2. กินแมลงวันที่ฆ่าแล้ว
  3. ทำให้เด็กร้องไห้ อย่างน้อย 3 คน
  4. ชิงเงินจากขอทานพิการ
  5. รับประทานอุจจาระสุนัขในร้านอาหารจีน
  6. เอาโทรศัพท์ให้คนบ้า
  7. ชิงโทรศัพท์มือถือจากกลุ่มนักเรียนเทคนิคเพื่อรับโจทย์ข้อต่อไป
  8. พาคนแก่ (ลุงชิว) ขึ้นจากบ่อที่เสียชีวิตตั้งแต่ 10 วัน และโทรเรียกญาติเพื่อจัดงานศพ ภายใน 10 นาที
  9. จัดการกับแฟนใหม่ของแมว ด้วยเก้าอี้ที่มีสัญลักษณ์เดียวกันกับเกม ฟาดหัวแฟนใหม่ของแมว
  10. พาหญิงชราหนีออกจากโรงพยาบาลโดยไม่ให้ถูกตำรวจจับ
  11. ทำตามความประสงค์ของหญิงชรา โดยให้แขวนลวดเพื่อตากผ้าแต่จริงๆแล้วลวดเส้นนั้นเป็นลวดที่แข็งโดยเป็นการสังหารแก๊งซิ่งมอเตอร์ไซค์หมู่ถูกลวดจนคอขาดทั้งแก๊ง
  12. ฆ่าวัวด้วยดาบซามูไรแล้วควักไส้เพื่อหากุญแจเพื่อเข้าสู่ในด่านสุดท้ายของเกม
  13. สังหารพ่อของตัวเองที่ถูกมัดไว้ที่เก้าอี้

ข้อพิเศษจากข้อ 11 ไม่ให้เพื่อนเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเกม โดยให้เลือกว่าจะฆ่าตอง

หรือฆ่าสุนัขของตอง ทำตาม 13 ขอเพื่อเงิน 100 ล้านบาท

นักแสดง

[แก้]

การออกฉาย

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง 13 เกมสยอง ออกฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ทำรายได้รวมไปได้ 18.47 ล้านบาท[7] และต่อมาได้ออกฉายในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นในญี่ปุ่นและสิงคโปร์ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 และได้ฉายใน Puchon International Fantastic Film Festival ช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่เมืองปูชอน เกาหลีใต้[8] และยังได้ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์ Fanatasia Film Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งบัตรที่ฉายในงานเทศกาลครั้งนี้เต็มทั้งสองรอบ จนมิตช์ เดวิส ตำแหน่งไดเรกเตอร์ออฟอินเตอร์เนชันนอลโปรแกรมมิง ซึ่งเป็นผู้คัดเลือกภาพยนตร์จากทั่วโลกเข้าร่วมในเทศกาลครั้งนี้ เขียนบทความพูดถึงภาพยนตร์ 13 เกมสยอง ในหนังสือและเว็บไซต์ทางการของเทศกาลไว้ว่า “หากคุณมีโอกาสที่จะได้ชมภาพยนตร์เรื่องเดียวในซัมเมอร์นี้ เราขอแนะนำ 13 เกมสยอง”[9]

และภาพยนตร์เรื่องนี้ยังออกเป็นดีวีดี โซน 3 ในสิงคโปร์ ที่มีซับไตเติ้ลเป็นภาษาอังกฤษ[10] และได้ฉายในโรงภาพยนตร์ที่ฮ่องกงเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551[11]

รางวัล

[แก้]

ดีวีดี

[แก้]

ดีวีดีออกขายเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550 มีผู้แทนจำหน่ายคือพรีเมี่ยม ดิจิตอล เอ็นเตอร์เทนเม้นท์[17]

ระบบภาพ
  • Disc 1 : Widescreen 16:9 (Anamophic)
ระบบเสียง
  • THAI: Dolby Digital 5.1
  • THAI: Dolby Surround 2.0
  • THAI: Director'sCommentary
  • บรรยาย-ภาษา : คำบรรยายไทยทดแทนการได้ยิน
ลักษณะเพิ่มเติมพิเศษ DVD 9
  • 3D Interactive Animate Menu
  • คำบรรยายไทยทดแทนการได้ยิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 13 เกมสยอง pantip.com
  2. ผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2549
  3. Rithdee, Kong. September 29, 2006. "Maverick vision", Bangkok Post, Realtime, Page R1.
  4. "More details about '13 Beloved'" เก็บถาวร 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Twitchfilm.net, October 15, 2006.
  5. "13: Game of Death Planned for American Remake - ComingSoon.net". ComingSoon.net. September 12, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-13. สืบค้นเมื่อ September 12, 2011.
  6. http://www.13beloved.com/victim_detail3.html
  7. สรุปรายได้ของหนังไทยประจำปี 2549[ลิงก์เสีย]
  8. "13เกมสยอง และ ฅนไฟบิน 2 หนังไทยเนื้อหอมต่างชาติรุมจองเดินสายร่วมเทศกาลหนังระดับนานาชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  9. ฝรั่งปลื้ม "13 เกมสยอง" ยกย่อง ผู้กำกับไทย kapook.com
  10. Srisirirungsimakul, Nuttaporn (2007-10-06), "Behind the Scenes", BK Magazine: 32
  11. 13 Beloved เก็บถาวร 2008-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Yahoo! Hong Kong.
  12. ผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2549
  13. เบื้องหลังคะแนนรางวัล ตุ๊กตาทอง 49
  14. ""เด็กหอ"คว้าหนังเยี่ยม ชมรมวิจารณ์บันเทิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  15. 15.0 15.1 15.2 13 เกมสยอง ฉลองความสำเร็จ 3 รางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์
  16. INTERNATIONAL FEATURE FILM COMPETITION เก็บถาวร 2008-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน bifff.org
  17. "13 เกมสยอง (1 Disc) (DVD)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]