ข้ามไปเนื้อหา

แป็นเช็นลามะที่ 10 เชอกยี แกยแช็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 10th Panchen Lama)
โลซัง ชินแล ลวินชุบ เชอกยี แกยแช็น
ཆོས་ཀྱི་རྒྱལ་མཚན
แป็นเช็นลามะที่ 10
แป็นเช็นลามะเมื่อประมาณปี 1955
แป็นเช็นลามะที่ 10
ครองราชย์3 มิถุนายน 1949 – 28 มกราคม 1989
ก่อนหน้าทุบแต็น เชอกยี ญีมา
ถัดไปเกตวิน เชอกยี ญีมา
ประสูติ19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938(1938-02-19)
เทศมณฑลซุนฮวา มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐจีน
Gönbo Cêdän
สวรรคต28 มกราคม ค.ศ. 1989(1989-01-28) (50 ปี)
ชีกัตเจ เขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน
ฝังพระศพอารามตาชีลุงโป ชีกัตเจ
คู่อภิเษกLi Jie
พระราชบุตรYabshi Pan Rinzinwangmo
พระราชบิดาGonpo Tseten
พระราชมารดาSonam Drolma
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต
ลายพระอภิไธย
ฉายทางธรรม: Lobsang Trinley Lhündrub Chökyi Gyaltsen
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม羅桑赤列倫珠確吉堅贊
อักษรจีนตัวย่อ罗桑赤列伦珠确吉坚赞
ความหมายตามตัวอักษร善慧事業運成法幢
ชื่อภาษาทิเบต
อักษรทิเบต བློ་བཟང་ཕྲིན་ལས་ལྷུན་གྲུབ་ཆོས་ཀྱི་རྒྱལ་མཚན་་

โลซัง ชินแล ลวินชุบ เชอกยี แกยแช็น (19 กุมภาพันธ์ 1938 – 28 มกราคม 1989) เป็นแป็นเช็นลามะที่สิบ แห่งสำนักเกอลุกในศาสนาพุทธแบบทิเบต ถือว่าเป็นรูปมนุษย์รูปหนึ่งของพระอมิตาภพุทธเจ้า และเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สิบหกของอารามตาชิลฮุงโป[1]

ท่านเข้ารับสถาปนาตำแหน่งแป็นเช็นลามะในปี 1949 เมื่ออายุ 12 ปีตามระบบนับแบบทิเบต ที่อารามกุมปุม ในพิธีดังกล่าวมี กวาน จียู ประธานคณะกรรมการกิจการมองโกเลียและทิเบต และผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ของก๊กมินตั๋ง มู ปูฟาง[2] ในขณะที่ทะไลลามะรับรองสถานะเป็นแป็นเช็นลามะอย่างเป็นทางการในไม่กี่ปีให้หลัง[3]

สงครามกลางเมืองจีน

[แก้]

ในระหว่างสงครามกลางเมืองจีน พรรคก๊กมินตั๋ง ผู้นำสาธารณรัฐจีน ทำการวางแผนให้เขตคัมปาทั้ฝสามของทิเบตทำการต้านทานพวกคอมมิวนิสต์ด้วยความช่วยเหลือชองแป็นเช็นลามะ[4]

เมื่อรัฐบาลทางลาซาปฏิเสธอาณาเขตที่ตามธรรมเนียมแล้วเป็นของแป็นเช็นลามะปกครองแก่เชอกยี แกยแช็น เขาได้ร้องขอต่อ มา ปูฟาง ผู้ว่าการมณฑลชิงไห่ของก๊กมินตั๋ง ให้ช่วยนำกองทำรบกับทิเบตในปี 1949[5] มาพยายามโน้มน้าวให้แป็นเช็นลามะเดินทางมากับรัฐบาลของก๊กมินตั๋งไปยังไต้หวันเมื่อคราวก๊กมินตั๋งเพลี่ยงพล้ำแก่คอมมิวนิสต์ กระนั้น แป็นเช็นลามะประกาศตนว่าสนับสนุนรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน[6][7]

สาธารณรัฐประชาชนจีน

[แก้]

แป็นเช็นลามะแสดงท่าทีประกาศตนสนับสนุนรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน รวมถึงสนับสนุนการผนวกทิเบตเข้ากับจีน ตลอดจนนโยบายปฏิรูปต่าง ๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่จะนำมาใช้ในทิเบต[3] วิทยุปักกิ่งออกอากาศคำกล่าวของลามะที่เรียกร้องให้จีนเข้ามาปลดแอกทิเบต ซึ่งนำไปสู่ความกดดันต่อรัฐบาลที่ลาซาในการเข้าเจรจากับจีน แป็นเช็นลามะสนับสนุนแนวคิดการปฏิรูปทางสังคมและการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเมืองในทิเบตผ่านการรวมทิเบตเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทิเบตในเวลานั้นเต็มไปด้วยความไม่มั่นคงทางการเมืองและปัญหาทางสังคมต่าง ๆ

ในเดือนกันยายน 1954 ทะไลลามะและแป็นเช็นลามะเดินทางพร้อมกันไปยังปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมการประชุมประชาชนแห่งชาติครั้งแรก รวมถึงเข้าพบเหมา เจ๋อตง[8][9] ต่อมาท่านได้รับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการถาวรของสภาประชาชนแห่งชาติ และในปลายปี 1954 เป็นรองประธานคณะกรรมการการประชุมปรึกษาหารือทางการเมืองของประชาชนจีน[10] ในปี 1959 ท่านได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการเตรียมเขตปกครองตนเองทิเบตจากรัฐบาลจีน[11]

ถูกจับกุม

[แก้]

หลังเดินทางเยี่ยมทั่วทิเบตในปี 1962 แป็นเช็นลามะได้เขียนเอกสารส่งให้แก่นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ประณามนโยบายและการกระทำอันละเมิดของสาธารณรัฐประชาชนจีนในทิเบต เอกสารดังกล่าวต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อคำร้อง 70,000 ตัวอักษร[12][13] ถือเป็น "การโจมตีที่ละเอียดและมีข้อมูลมากที่สุดต่อนโยบายของจีนในทิเบตที่เคยเขียนขึ้น"[14]

ขณะถูกประณามและทำให้เสื่อมเสียในการประชุมโปลิตบูโร ปี 1964

ในปี 1964 เขาถูกประณามและทำให้เสื่อมเสียในการประชุมโปลิตบูโร ถูกนำออกจากทุกตำแหน่งของรัฐ ถูกประกาศให้เป็นศัตรูของประชาชนทิเบต ถูกริบบันทึกความฝันซึ่งต่อมาถูกนำมาใช้ต่อต้านท่าน[15] ก่อนจะถูกจับกุม ขณะอายุได้ 26 ปี[16] ท่านได้รับการปล่อยตัวในปี 1977 แต่ถูกกักขังในบ้านที่ปักกิ่งจนถึงปี 1982[17]

ชีวิตช่วงปลาย

[แก้]

ในปี 1978 ท่านลาสิกขาบวชและละทิ้งสมณศักดิ์ทั้งหมด เดินทางไปทั่วประเทศจีนและหาภรรยาเพื่อสร้างครอบครัว[18] เขาเริ่มคบหากับ ลี เจีย (Li Jie) หลานสาวของนายพลตง ชีวู ของกองทัพ PLA ที่นำการรบในสงครามเกาหลี ในเวลานั้นเธอเป็นนักศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ทหารที่สี่ในซีอาน ภรรยาของเติ้ง เสี่ยวผิง และภรรยาหม้ายของโจว เอินไหล เห็นคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของการแต่งงานระหว่างพระลามะทิเบตกับสตรีชาวฮั่น พวกเขาจึงเข้าไปแทรกแซงเพื่อจัดพิธีแต่งงานที่ยิ่งใหญ่ให้กับทั้งคู่ด้วยตนเองที่โถงประชาชนในปี 1979[19]

ในวันที่ 23 มกราคม 1989 เขากล่าวสุนทรพจน์ในลาซา ระบุว่า "ตั้งแต่มีการปลดแอกทิเบต การพัฒนานั้นมีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อการพัฒนานี้กลับมากกว่าผลสืบเนื่องอื่นที่ตามมา"[20][21] รวมถึงวิจารณ์ความเกินพอของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในทิเบต และเชิดชูนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศในทศวรรษ 1980

การเสียชีวิต

[แก้]

ห้าวันให้หลังจากการกล่าวสุนทรพจน์ ในวันที่ 28 มกราคม 1989 เขาเสียชีวิตในชีกัตเจ สิริอายุ 50 ปี[22] ทางการให้สาเหตุการเสียชีวิตว่าาจากหัวใจล้มเหลวฉับพลัน กระนั้นชาวทิเบตบางส่วนเชื่อว่าการเสียชีวิตนี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ[20] ทะไลลามะและอีกหลายคนเชื่อว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่การแพทย์ส่วนตัววางยาพิษ[19]

ในเดือนสิงหาคม 1993 ได้ย้ายร่างไปยังอารามตาชีลุงโป โดยไว้ร่างในโลงศพที่ทำมาจากไม้จันทน์และไว้ในสถูปของอาราม[23]

ในปี 2011 ยวน ฮงปิง ประกาศว่า ฮู จินเตา ซึ่งในตอนนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในทิเบต เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหาร[24]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Panchen Lama, Treasury of Lives, https://treasuryoflives.org/incarnation/Panchen-Lama
  2. Parshotam Mehra (2004). From conflict to conciliation: Tibetan polity revisited : a brief historical conspectus of the Dalai Lama-Panchen Lama Standoff, ca. 1904–1989. Otto Harrassowitz Verlag. p. 87. ISBN 3-447-04914-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2012. สืบค้นเมื่อ 9 April 2011.
  3. 3.0 3.1 Melvyn C. Goldstein, in McKay 2003, p. 222.
  4. Hsiao-ting Lin (2010). Modern China's ethnic frontiers: a journey to the west. Vol. 67 of Routledge studies in the modern history of Asia (illustrated ed.). Taylor & Francis. p. 117. ISBN 978-0-415-58264-3. สืบค้นเมื่อ 27 December 2011. China's far northwest.23 A simultaneous proposal suggested that, with the support of the new Panchen Lama and his entourage, at least three army divisions of the anti-Communist Khampa Tibetans could be mustered in southwest China.
  5. "Exiled Lama, 12, Wants to Lead Army on Tibet". Los Angeles Times. 6 September 1949. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2012.
  6. Goldstein, Melvyn C. (2009). A History of Modern Tibet: The Calm Before the Storm: 1951–1955, Volume 2. University of California Press. pp. 272, 273. ISBN 978-0-520-25995-9.
  7. Hilton, Isabel (2001). The Search for the Panchen Lama. W. W. Norton & Company. p. 110. ISBN 0-393-32167-3.
  8. "Ngapoi recalls the founding of the TAR" เก็บถาวร 13 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ngapoi Ngawang Jigme, China View, 30 August 2005.
  9. "Selected Foreign Dignitaries Met From Year 1954 to 1989" เก็บถาวร 9 พฤษภาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. Goldstein, M.C., A History of Modern Tibet, Volume 2 – The Calm before the Storm: 1951–1955, p. 496
  11. Feigon 1996, p. 163
  12. "News Updates: Information and analysis of developments in Tibet - extract from Reports From Tibet, November 1990-February 1991 TIN News Update" (PDF). Columbia University. London: Tibet Information Network. 20 February 1991. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
  13. "World Tibet Network News: Secret Report on 1960s Tibet Published". Tibet.ca. Canada Tibet Committee. 12 February 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2015. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
  14. Hilton, Isabel (2001) [1st pub. Norton:2000]. The Search for the Panchen Lama (1st American ed.). New York: W. W. Norton. p. 156. ISBN 978-0-393-32167-8. OCLC 48420207. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2017. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
  15. Hilton 2000
  16. "Exploring Chinese History :: East Asian Region :: Tibet" เก็บถาวร 1 กรกฎาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. tibetanreview (15 February 2018). "China seeks new contributions from its Panchen Lama to strengthen its rule in Tibet". Tibetan Review (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 5 December 2023.
  18. Hilton, Isabel (21 March 2004). "The Buddha's Daughter". The New Yorker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0028-792X. สืบค้นเมื่อ 5 December 2023.
  19. 19.0 19.1 Johnson, Tim (2011). Tragedy in Crimson: How the Dalai Lama Conquered the World But Lost the Battle with China. Nation Books. pp. 170–172.
  20. 20.0 20.1 Laird 2006, p. 355
  21. "Panchen Lama Poisoned arrow". BBC h2g2 – an encyclopaedic project contributed to by people from all over the world. 14 October 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2007. สืบค้นเมื่อ 29 April 2007.
  22. Hilton 2000, p. 1
  23. "Tashilhungpo Monastery: Residence of Panchen Lama". China Culture. สืบค้นเมื่อ 19 February 2024.
  24. Kalsang Rinchen, "Hu killed Panchen: Chinese dissident" เก็บถาวร 13 กันยายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Phayul.com, 16 March 2011