ข้ามไปเนื้อหา

ไฮอะซินท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮอะซินท์
Hyacinthus orientalis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
อันดับ: Asparagales
วงศ์: Asparagaceae
วงศ์ย่อย: Scilloideae
สกุล: Hyacinthus
Tourn. ex. L.
Species

Hyacinthus litwinowii
Hyacinthus orientalis
Hyacinthus transcaspicus

ไฮอะซินท์ (อังกฤษ: hyacinth) หรือ ไฮอะซินทัส (อังกฤษ: hyacinthus) เป็นพืชในสกุลพืชมีหัวขนาดเล็ก เป็นพืชหลายปีออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ[1][2] เป็นพืชดอกมีกลิ่นหอมที่อยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง วงศ์ย่อย Scilloideae[3] พืชสกุลนี้มีต้นกำเนิดบริเวณทางตะวันออกของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน จากทางเหนือของประเทศบัลแกเรียไปจนถึงตอนเหนือของภูมิภาคปาเลสไตน์[4]

พวกคลัสเตอร์ลิลลี่, สคิลลา และพืชอื่น ๆ หลายชนิดที่แต่เดิมเคยถูกจัดอยู่ในวงศ์ลิลลี่ และมีดอกเป็นกลุ่มอยู่ตามก้านช่อดอกโดดยังถูกเรียกรวม ๆ ว่า "ไฮอะซินท์" ด้วย โดยไม่ควรสับสนพืชสกุลนี้กับสกุลมัสคารีหรือไฮอะซินท์พวงองุ่น

คำอธิบาย

[แก้]

ไฮอะซินท์เจริญขึ้นจากหัว แต่ละหัวจะสร้างใบหอกสี่ถึงหกใบและช่อเชิงลด (spike) หรือช่อกระจะ (raceme) ของดอกหนึ่งถึงสามช่อ ในสปีชีส์ไฮอะซินท์ป่า ดอกจะมีระยะห่างอย่างกว้างอย่างน้อยหนึ่งถึงสองดอกต่อช่อกระจะใน Hyacinthus litwinowii และหกถึงแปดดอกใน Hyacinthus orientalis ซึ่งมีความสูงได้ 15–20 ซม. (6–8 นิ้ว) ส่วน H. orientalis พันธุ์ปลูก จะมีความหนาแน่นของช่อเชิงลดดอกน้อยกว่าและโดยทั่วไปแล้วจะทนทานกว่า[5]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ชื่อสกุล Hyacinthus น่าจะมาจากโฌเซฟ ปิตตง เดอ ตูร์เนอฟอร์ตซึ่งถูกนำมาใช้โดยคาโรลัส ลินเนียสในปี ค.ศ. 1753[4] โดยชื่อมาจาก ὑάκινθος (hyákinthos, ฮากินโทส) ชื่อพืชในภาษากรีกโดยโฮเมอร์ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่คาดว่าน่าจะขึ้นจากเลือดของเด็กหนุ่มในชื่อเดียวกันนี้ เนื่องจากถูกเทพเซไฟร์สังหาร[6] โดยพืชป่าแต่เดิมที่รู้จักในชื่อฮากินโทสของโฮเมอร์นั้น คือ Scilla bifolia ท่ามกลางพืชที่เป็นไปได้อื่น ๆ[7] ลินเนียสนิยามว่าสกุล Hyacinthus นั้นประกอบด้วยสปีชีส์ที่ปัจจุบันนี้อยู่ในสกุลของวงศ์ย่อย Scilloideae เช่น Muscari (เช่น Hyacinthus botryoides)[8] และ Hyacinthoides (เช่น Hyacinthus non-scriptus)[9]

Hyacinthus แต่เดิมถูกแยกไปเป็นสกุลของวงศ์ Hyacinthaceae ก่อนที่ภายหลังจะถูกจัดเข้าไปไว้ในวงศ์ลิลลี่[10]

สปีชีส์

[แก้]

สกุลไฮอะซินท์ประกอบด้วยสามสปีขีส์:[11]

หน่วยงานบางแห่งยังจัดให้ H. litwonovii และ H. transcaspicus อยู่ในสกุล Hyacinthella ด้วย ซึ่งจะทำให้ไฮอะซินท์กลายเป็นสกุลมีชนิดเดียว (monotypic)

การกระจาย

[แก้]

สกุลไฮอะซินท์มีที่มาอยู่ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ประกอบด้วย ประเทศตุรกี ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศอิหร่าน ประเทศอิรัก ประเทศเลบานอน และประเทศอิสราเอล นอกจากนี้ยังมีการนำไปปลูกตามธรรมชาติอย่างกว้างขวางในพื้นที่อื่น ๆ ได้แก่ ทวีปยุโรป (ประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส ซาร์ดิเนีย อิตาลี ซิซิลี โครเอเชีย เซอร์เปีย มอนเตเนโกร บัลแกเรีย นอร์ทมาซีโดเนีย แอลเบเนีย กรีซ และไซปรัส), ประเทศเกาหลี, ทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐและแคนาดา) และตอนกลางของประเทศเม็กซิโก คิวบา และเฮติ[4]

การเพาะปลูก

[แก้]

ไฮอะซินท์ดัตช์หรือไฮอะซินท์บ้าน (H. orientalis มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) เป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 18 โดยมีการนำไปปลูกในประเทศเนเธอร์แลนด์มากกว่า 2,000 พันธุ์ปลูกเพื่อการค้าขายเชิงพาณิชย์ ไฮอะซินท์นี้มีดอกที่มีกลิ่นหอมที่มีช่อเชิงลดหนาแน่น ตัวดอกมีสีแดง น้ำเงิน ขาว ส้ม ชมพู ม่วง หรือเหลือง รูปแบบที่พบได้ทั่วไป คือ ไฮอะซินท์ที่มีความทนน้อยกว่า ดอกสีน้ำเงินที่มีขนาดเล็กกว่าหรือมีกลีบดอกสีขาว คือ ไฮอะซินท์โรมัน (Roman hyacinth) ไม้ดอกพวกนี้ต้องการแสงทางอ้อมและควรรดน้ำในระดับปานกลาง

ความเป็นพิษ

[แก้]

หัวไฮอะซินท์มีพิษ ซึ่งส่วนหัวนั้นประกอบด้วยกรดออกซาลิก การสัมผัสหัวไฮอะซินท์ด้วยมือนั้นอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังเล็กน้อย จึงแนะนำให้สวมถุงมือเพื่อป้องกัน[12]

พืชบางชนิดในวงศ์ย่อย Scilloideae ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า ไฮอะซินท์ แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสกุลไฮอะซินท์ นั้นกินได้ เช่น ไฮอะซินท์พู่ (Leopoldia comosa) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาหารในบางประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน

วัฒนธรรม

[แก้]
ดอกไฮอะซินท์ในวันโนวรุซ

ไฮอะซินท์มักเกี่ยวข้องกับฤดูใบไม้ผลิและการเกิดใหม่ ดอกไฮอะซินท์ถูกใช้ในการจัดโต๊ะฮาร์ฟชินเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวเปอร์เซีย หรือ วันโนวรุซซึ่งจัดขึ้นในวิษุวัตช่วงเดือนมีนาคม โดยในภาษาเปอร์เซียเรียกไฮอะซินท์ว่า سنبل (ซันบัล)

ในธรรมเนียมของโรมันคาทอลิก ไฮอะซินท์บ้านแสดงถึงความรอบคอบ ความมั่นคง และความปรารถนาของสวรรค์ และความสงบของจิตใจ และยังเป็นเรื่องราวของไฮอะซินทัส ผู้ซึ่งมีดอกไม้ผลิออกมาหลังความตายด้วย[13] ตำนานกรีก วันหนึ่งอะพอลโลโดนลงโทษตากซุสให้ไปรับใช้บนโลกมนุษย์เป็นเวลา 1 ปี ในวันนั้น อะพอลโล ได้พบเห็นเด็กหนุ่มหน้าตาน่ารัก เป็นเจ้าชายแห่งสปาต้า มีนามว่า ไฮยาซินทัส มีข่าวลือในเมืองสปาต้าว่าไฮยาซินทัสมีหน้าตาเหมือนกุลสตรีหญิงแก่ก็เลยตกหลุมรัก แต่มีเทพอีกองค์นึงมีนามว่าเซฟีรัสอยู่ด้วย แต่เขากับอิจฉาเพราะว่า เด็กหนุ่มคนนี้นั้นได้เล่นกับอะพอลโลเล่นในช่วงนั้นที่อะพอลโลได้สอนต่างๆ จนมาถึงการสอนกีฬาคือการขว้างจาน แต่ไฮยาซินทัสทำได้ดีมาก จนเขาเกิดความโกรธและเขาก็เลยต้องเป่าลมใส่ เลือกกำจัด อะพอลโล แต่บังเอิญไปโดนไฮยาซินทัส จนหัวคว่ำกับหินบาดเจ็บสาหัส แต่อะพอลโลจะพยายามช่วยแล้วแต่ไม่มีผลเพราะว่าไฮยาซินทัสได้สิ้นใจตาย และอะพอลโล เสียใจและน้ำตาของเขาจึงหยดออกมา เป็นดอกไม้ที่สวยงาม มีทั้งสีม่วง สีน้ำเงินม่วง และ สีแดง นี่คือตำนานดอกไม้ไฮยาซินเป็นอนุสรณ์แก่ความรักของ อะพอลโล และ ไฮยาซินทัส มาจนถึงทุกวันนี้

ระเบียบภาพ

[แก้]

สี

[แก้]

สีของดอกไฮอะซินท์สีน้ำเงินนั้นหลากหลายกันไปตั้งแต่ "น้ำเงินกลาง"[14] สีคราม และสีม่วงน้ำเงิน ในช่วงสีนี้สามารถพบสี Persenche ได้ ซึ่งเป็นชื่อสี hyacinth hue ของอเมริกา[15] การวิเคราะห์ของสี Persenche นี้ คือ สีกรมท่า 73% สีแดง 9% และสีขาว 18%[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://homeguides.sfgate.com/hyacinths-perennials-63933.html
  2. https://www.gardenguides.com/12446829-are-hyacinths-perennials.html
  3. Stevens, P.F. "Angiosperm Phylogeny Website: Asparagales: Scilloideae". Mobot.org. สืบค้นเมื่อ 7 November 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Hyacinthus". World Checklist of Selected Plant Families. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 2016-10-28.
  5. Beckett, K., บ.ก. (1993), Encyclopaedia of Alpines : Volume 1 (A–K), Pershore, UK: AGS Publications, ISBN 978-0-900048-61-6 pp. 656–657.
  6. Hyam, R. & Pankhurst, R.J. (1995), Plants and their names : a concise dictionary, Oxford: Oxford University Press, ISBN 978-0-19-866189-4
  7. Lindsell, Alice, Was Theocritus a botanist? in Raven, John E. (2000), Plants and Plant Lore in Ancient Greece, Oxford: Leopard's Head Press, ISBN 978-0-904920-40-6, p. 68
  8. "Hyacinthus botryoides", World Checklist of Selected Plant Families, Royal Botanic Gardens, Kew, สืบค้นเมื่อ 2013-03-20[ลิงก์เสีย]
  9. "Hyacinthus non-scriptus", World Checklist of Selected Plant Families, Royal Botanic Gardens, Kew, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-23, สืบค้นเมื่อ 2013-03-20
  10. Hyacinthaceae, Tolweb.org, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22, สืบค้นเมื่อ 2011-03-20
  11. World Checklist of Selected Plant Families, The Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew, สืบค้นเมื่อ 2011-10-07, search for "Hyacinthus" and its species
  12. "Home Forcing of Hyacinths", North Carolina State University Horticulture Information, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-04, สืบค้นเมื่อ 2013-03-20
  13. "Signs and Symbols". catholictradition.org. สืบค้นเมื่อ 2019-01-22.
  14. Mathew, Brian (1987), The Smaller Bulbs, London: B.T. Batsford, ISBN 978-0-7134-4922-8
  15. "(M)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-17. สืบค้นเมื่อ 2015-09-24.
  16. Funk & Wagnell's New Standard Dictionary (1942), under spectrum color list.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ไฮอะซินท์