ไอ้เท่ง (ทากทะเล)
ไอ้เท่ง (ไอ้เท่ง เอเทอร์) | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | มอลลัสกา Mollusca |
ชั้น: | หอยฝาเดียว |
วงศ์: | Aitengidae |
สกุล: | ไอ้เท่ง |
ชื่อทวินาม | |
Aiteng ater Swennen & Buatip, 2009[1][2] |
ไอ้เท่ง หรือ ไอ้เท่ง เอเทอร์ (Aiteng ater) เป็นทากทะเลชนิดหนึ่งในจำพวกแกสโทรโพดา (หอยฝาเดียว) ในกลุ่มมอลลัสกาทะเล ไอ้เท่งจัดอยู่ในวงศ์ไอ้เท่ง (Aitengidae)[2] ชื่อแสดงคุณลักษณะ เอเทอร์ (ater) มาจากภาษาละติน หมายถึงสีดำ โดยอ้างถึงสีของไอ้เท่งที่ปรากฏเมื่ออยู่บนผิวโคลนของป่าชายเลน
ไอ้เท่ง เอเทอร์ (Aiteng ater) ได้รับเลือกจาก International Institute for Species Exploration of Arizona State University ให้เป็นหนึ่งใน "10 อันดับสายพันธุ์ใหม่ที่อธิบายไว้ในปี 2009"[3]
อนุกรมวิธานและการค้นพบ
[แก้]Cornelis Swennen ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลชาวเนเธอร์แลนด์ แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และสมศักดิ์ บัวทิพย์ นักชีววิทยา ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ค้นพบทากทะเล (slug) ชนิดใหม่ของโลก ที่ป่าชายเลนที่อ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2552 จัดอยู่ในไฟลัม Mollusca ชั้น Gastropoda วงศ์ไอ้เท่ง (Aitengidae) ชื่อ Aiteng ater หรือ “ไอ้เท่ง” ตีพิมพ์ใน The Raffle Bulletin of Zoology เมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552[4]
ชื่อแสดงคุณลักษณะ เอเทอร์ (ater) มาจากภาษาละติน หมายถึง สีดำ โดยอ้างถึงสีของไอ้เท่งที่ปรากฏเมื่ออยู่บนผิวโคลนของป่าชายเลน
การแพร่กระจายและถิ่นกำเนิด
[แก้]ถิ่นกำเนิดของ ไอ้เท่ง (A. ater) อยู่ประเทศไทย ซึ่งพบต้นแบบทางชีววิทยา ที่พิกัดภูมิศาสตร์: 8 ° 29'18 "N, 100 ° 10'55" E อำเภอปากพนัง (บริเวณอ่าวปากพนัง ในอ่าวไทย)[2]
ลักษณะทางชีววิทยา
[แก้]ขนาดของลำตัว 8–12 มม. [2] อาจยาวได้ถึง 17 มม.[5] รูปร่างของลำตัวยาว แต่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับทากทั่วไป[2] สีของทากไอ้เท่งมีตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีดำ[2] สามารถสังเกตเห็นดวงตาขนาดใหญ่ ไม่มีก้านตา[6][7] อยู่สองข้างของส่วนหัวได้ชัดเจนจากภายนอกหัว และเป็นส่วนที่ไม่มีสี [8]
ไอ้เท่ง (A. ater) มีการผสมกันของลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ผิดปกติ ได้แก่
- การลดขนาดของช่องแมนเทิล[9]
- มีแหวนประสาท Prepharyngeal (circumpharyngeal)[9]
- มี ascus[9] (อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการตรวจสอบยืนยันการมี "ascus" ใน Aiteng ater เนื่องจากในการตรวจสอบตัวอย่าง Aitengidae จากญี่ปุ่นพบว่าไม่มี ascus จริง ที่แสดงซากฟันแต่เป็นเพียงแค่ radula ที่งอเล็กน้อยที่ปลาย[9]
- มีเรดูลา (radula) ที่เป็นแบบฟันแถวเดี่ยว (ทั้งเรดูลาที่งอกจากบนลงล่าง และล่างขี้นบน) (เรดูลา - อวัยวะที่ใช้ในการบดอาหารในบริเวณคอหอยมีลักษณะคล้ายตะไบ)[9]
- เรดูลา มีฟันหน้ากลาง (rhachidian teeth) ฟันเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานกว้างปากแตรกลางที่แข็งแรงและแฉกซี่ฟันเล็ก ๆ ด้านข้าง[9]
- ดวงตาด้านข้าง ที่มีขนาดใหญ่ และสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปมประสาทสมอง[9]
- มีร่องเท้า (foot groove) - กึ่งกลางลำตัวด้านล่างคล้ายทากบก[9]
- ต่อมย่อยอาหาร (digestive gland) ที่แตกแขนงรอบตัว[9]
ไอ้เท่ง (A. ater) ไม่มีลักษณะของ acochlidian หลายประการ ได้แก่
- ไม่มีเปลือก [2]
- ไม่มีหนวด (cephalic tentacles)[2]
- ไม่มีเหงือก[2]
- ไม่มีหงอน (หรือ หนามของทากทะเล - cerata)[2]
- ขาดการแบ่งส่วนของร่างกาย คือ ไม่แบ่งส่วนหัว – เท้าและ ไม่มีโหนกภายใน (visceral hump)[9]
- ไม่มีรยางค์ส่วนหัว (หนอก หรือ นอ ในลักษณะเฉพาะของไรโนฟอร์)[9]
- ขาดความสามารถในการหดหัว - เท้ากลับเข้าไปในโหนกภายใน[9]
ไอ้เท่ง (A. ater) มี ตีน (notum) ซึ่งมีขอบที่หดขยายขนาดได้ [2] การที่ไม่มีโหนกภายใน (visceral hump) ที่ช่วยหดหัว ไอ้เท่ง (A. ater) สามารถดึงหัวกลับมาและคลุมอยู่ใต้ส่วนหน้าของ ตีน ได้[9]
นิเวศวิทยา
[แก้]ไอ้เท่ง (A. ater) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน และเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลง (เขตน้ำขึ้นน้ำลง) [2] สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก (โดยการขับเมือกหุ้มร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้น[5] และในน้ำ ทนต่อน้ำกร่อยและน้ำทะเลได้ ความพิเศษของการเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกพบได้น้อยมากในทากทะเลชนิดอื่น ๆ ในปัจจุบัน แต่ไม่มีข้อสังเกตว่าไอ้เท่งอาศัยบนบกได้อย่างแท้จริง[9][2]
ไอ้เท่ง เป็นสัตว์กินแมลง[2] โดยเฉพาะแมลงในระยะดักแด้[5] ในห้องปฏิบัติการพบว่ากิน ดักแด้ของด้วง ( Coleoptera ), ดักแด้ของผีเสื้อ Lepidoptera, ตัวโม่งของ ยุง และ ตัวอ่อนของ มด
ภายในตัวของไอ้เท่งมักพบว่ามีปรสิต ยาวสีขาว แต่ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด[2] ซึ่ง ปรสิต ดังกล่าวใน Aiteng ater อาจเป็นขวาก (spicules) ภายในลำตัว[9] เนื่องจากการมีการยืนยันการพบ ขวาก ในตัวอย่างสปีชีส์หนี่งใน Aitengidae ที่ยังไม่ได้การระบุสายพันธุ์จากญี่ปุ่น[9]
อ้างอิง
[แก้]บทความนี้ประกอบด้วยข้อความ CC-BY-2.0 จากJörger et al พ.ศ. 2553 [9]
- ↑ Bieler R, Bouchet P, Gofas S, Marshall B, Rosenberg G, La Perna R, Neubauer TA, Sartori AF, Schneider S, Vos C, ter Poorten JJ, Taylor J, Dijkstra H, Finn J, Bank R, Neubert E, Moretzsohn F, Faber M, Houart R, Picton B, Garcia-Alvarez O, บ.ก. (2018). "Aiteng ater". MolluscaBase. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 Swennen C. & Buatip S. "Aiteng ater, new genus, new species, an amphibious and insectivorous sea slug that is difficult to classify [Mollusca: Gastropoda: Opisthobranchia: Sacoglossa(?): Aitengidae, new family]". The Raffles Bulletin of Zoology 57(2): 495–500. PDF เก็บถาวร 2012-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "Top 10 New Species – 2010" เก็บถาวร 2012-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ."Top 10 – 2010 Bug-eating Slug" เก็บถาวร 2010-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. accessed 29 November 2010.
- ↑ Swennen C. & Buatip S. "Aiteng ater, new genus, new species, an amphibious and insectivorous sea slug that is difficult to classify [Mollusca: Gastropoda: Opisthobranchia: Sacoglossa(?): Aitengidae, new family]". The Raffles Bulletin of Zoology 57(2): 495–500. PDF เก็บถาวร 2012-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี (13 สิงหาคม 2557). ""ไอ้เท่ง" ทากทะเลชนิดใหม่ของโลก พบโดยนักวิทยาศาสตร์ ม.อ. ปัตตานี". มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-05. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)) - ↑ http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=417
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2020-11-02.
- ↑ https://www.researchgate.net/publication/289327663_Aiteng_ater_new_genus_new_species_an_amphibious_and_insectivorous_sea_slug_that_is_difficult_to_classify_Mollusca_Gastropoda_Opisthobranchia_Sacoglossa_aitengidae_new_family
- ↑ 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 9.12 9.13 9.14 9.15 9.16 Jörger K. M., Stöger I., Kano Y., Fukuda H., Knebelsberger T. & Schrödl M. (2010). "On the origin of Acochlidia and other enigmatic euthyneuran gastropods, with implications for the systematics of Heterobranchia". BMC Evolutionary Biology 10: 323. doi:10.1186/1471-2148-10-323.