ข้ามไปเนื้อหา

ไอน์สไตน์พบออปเพนไฮเมอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนิเมชันของเกมหมากรุกระหว่างไอน์สไตน์-ออปเพนไฮเมอร์

เกมหมากรุกระหว่างไอน์สไตน์-ออปเพนไฮเมอร์ เป็นเกมหมากรุกที่กล่าวอ้างกันว่าเป็นเกมหมากรุกระหว่างนักฟิสิกส์ทฤษฎี อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และ เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐ ใน ค.ศ. 1933 ในเกมนี้เชื่อกันว่า ไอน์สไตน์ใช้การเปิด รุย โลเปท์ ซึ่งออปเพนไฮเมอร์เดินหมากกลับด้วย การป้องกันแบบมอร์ฟี (Morphy Defense) (3...a6) ไอน์สไตน์ชนะเกมหมากรุกครั้งนี้ [1]

ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และ เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ เคยเล่นหมากรุกเกมนี้จริง ๆ [2]

ประวัติความเป็นมาและข้อเท็จจริง

[แก้]

หลักฐานข้อกล่าวอ้างที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักสำหรับเกมนี้มาจากหนังสือ ฟรอยเดอ อัม ชาค (Freude am Schach) โดย แกร์ฮาร์ด แฮนเชิล (Gerhard Henschel) ใน ค.ศ. 1959 [3] แต่ไม่ได้ระบุวันที่หรือสถานที่ [4] [5] [6] พจนานุกรมหมากรุกสากลภาษาฝรั่งเศส (French Dictionaire des echecs) ฉบับ ค.ศ. 1967 [7] มีการอ้างอิงจากหนังสือของแฮนเชิล แต่กล่าวถึงเกมหมากรุกในสถานอารมณ์ [4] [6] หนังสือของแฮนเชิล เป็นที่ทราบกันดีว่ามีเกมหมากรุกที่ไม่ได้รับการพิสูจน์โดยบุคคลที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่น โจเซฟ สตาลิน หรือ เลโอ ตอลสตอย [4] [6]

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และหมากรุก

[แก้]

ในการให้สัมภาษณ์กับ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ใน ค.ศ. 1936 ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ไอน์สไตน์กล่าวว่าเขาไม่เคยเล่นหมากรุกสามมิติ แต่เล่นเพียงหมากรุกสากลปกติในปฐมวัย ไอน์สไตน์อธิบายว่าเขาไม่มีเวลาที่จะเล่นเกมใด ๆ [8] [9]

ไอน์สไตน์ยังเคยกล่าวว่า "ผมต้องยอมรับว่าผมไม่ชอบใช้จิตวิญญาณการแข่งขันสูงในเกมที่ใช้สติปัญญามากมาโดยตลอด" เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของเขา เอ็มมานูเอล ลาสเกอร์ ที่เคยได้รับตำแหน่งแชมป์โลกหมากรุกสากล [10] นักหมากรุก แลร์รี เอแวนส์ ยืนยันว่าได้พบกับผู้คนเล่นหมากรุกกับไอน์สไตน์ ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และมีการโต้เถียงกัน

การอ้างอิงวันที่และผู้เล่นที่แตกต่างออกไป

[แก้]

ในอีกบันทึก หนังสือภาษาโรมาเนีย เขียนน ค.ศ. 1982 ชาร์ การ์เตีย เด เอาร์ (şah Cartea de Aur) โดย ซี. สเตฟานิว (C. ştefaniu) [11] มีการพูดถึงเกมนี้ในรายชื่อเกมว่าเกมนี้เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1940 ที่สหรัฐ [4] [6]

ชื่อ ไอน์สไตน์ ใน ไอน์สไตน์พบออปเพนไฮเมอร์ อาจไม่ได้หมายถึง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เดนนิส โฮลดิ้ง, อดัม สเลมเซน และ แอนดี โซลทิส กล่าวว่าเกมนี้เป็นของฮันส์ อัลเบิร์ต ลูกชายของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่เคยเล่นกับออปเพนไฮเมอร์ใน ค.ศ. 1940 [12] [4] [6] หรือ ค.ศ. 1945 [13] ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ โดยที่ฮันส์ อัลเบิร์ตได้รับเชิญบรรยายที่นั้น [5] [2] นักประวัติศาสตร์หมากรุก เอ็ดเวิร์ด วินเทอร์ เสนอถึงความเป็นไปได้ที่ชื่อ ไอน์สไตน์ อาจหมายถึง บี. ไอน์สไตน์ นักเล่นหมากรุกที่ไม่เกี่ยวข้องกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ [4]

การแข่งขัน

[แก้]

  หมากขาว: ไอน์สไตน์  หมากดำ: ออพเพนไฮเมอร์ 

1.e4 e5 2.Nf3 Nc6 3.Bb5 a6 4.Ba4 b5 5.Bb3 Nf6 6.OO Nxe4 7.Re1 d5 8.a4 b4 9.d3 Nc5 10.Nxe5 Ne7 11.Qf3f6 12.Qh5+ g6 13.Nxg6 hxg6 14.Qxh8 Nxb3 15.cxb3 Qd6 16.Bh6 Kd7 17.Bxf8 Bb7 18.Qg7 Re8 19.Nd2 c5 20.Rad1 a5 21.Nc4 dxc4 22.dxc4 Qxd1 23.Rxd1+ Kc8 24.Bxe7 หมากดำยอมแพ้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kramnik on boxing, Fischer, Kasparov and Einstein". Chess News (ภาษาอังกฤษ). 2005-05-08. สืบค้นเมื่อ 2023-11-06.
  2. 2.0 2.1 The British Chess Magazine (ภาษาอังกฤษ). Vol. 88–89. Trubner & Company. 1968. p. 225. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":5" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Henschel, Gerhard (1959). Freude am Schach (ภาษาเยอรมัน). Gütersloh: Bertelsmann.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Winter, Edward (2023). "Alleged Games by Einstein and Stalin". Chess History. สืบค้นเมื่อ 2023-08-28. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  5. 5.0 5.1 Wall, Bill (2011). "Albert Einstein and Chess". White Knight Review. 2 (5): 7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":2" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Winter, Edward (2007). "Edward Winter presents: Unsolved Chess Mysteries (7)". ChessBase. สืบค้นเมื่อ 29 August 2023. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":4" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  7. Le Lionnais, François; Maget, Ernst (1967). Dictionnaire des échecs (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Presses universitaires de France.
  8. Wolff, Alexander (March 18, 1979). "A Relatively Unknown Einstein". The New York Times.
  9. Smith, Robert P. (28 March 1936). "NEW CHESS THEORY NOT FOR EINSTEIN; Scientist Denies Ever Playing 'Three-Dimensional' Game, Even for Relaxation". The New York Times.
  10. Hannak, J. (1991-01-01). Emanuel Lasker: The Life of a Chess Master (ภาษาอังกฤษ). Courier Dover Publications. p. 7. ISBN 978-0-486-26706-7.
  11. Ştefaniu, Constantin (1982). Şah Cartea de Au. Bucharest: Sport-Turism.
  12. Soltis, Andy (July 1979). "Science at Play" (PDF). Chess Life: 372.
  13. Holding, Dennis H. (2021-10-07). The Psychology of Chess Skill (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 8. ISBN 978-1-000-39478-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]