ข้ามไปเนื้อหา

ไวยากรณ์เพิ่มพูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ต้นไม้แจงส่วน (parse tree) ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน: ประโยคถูกแยกออกเป็นนามวลี (N) และกริยาวลี (VP) ซึ่งรวมถึงกรรมด้วย นี่แตกต่างจากภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างและเชิงหน้าที่ซึ่งถือประธานและกรรมเป็นองค์ประกอบที่เหมือนกัน[1][2]

ไวยากรณ์เพิ่มพูน (generative grammar) หรือ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน (generative linguistics) เป็นทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ (Theoretical linguistics) ที่ถือว่าภาษาศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างไวยากรณ์สชาติกะ (Universal grammar) หรือที่มีโดยกำเนิดซึ่งถูกสมมุติฐานขึ้นมา[3]ทฤษฎีนี้เป็นการดัดแปลงทฤษฎีภาษาศาสตร์แบบโครงสร้างนิยมอันก่อนหน้า กล่าวคือกลอสเซแมติกส์ (glossematics)[4][5] ไปในทางชีววิทยา[6] หรือแบบนิยัตินิยมทางชีววิทยา (Biological determinism)[7] ภาษาศาสตร์เพิ่มพูนถือว่าไวยากรณ์เป็นระบบของกฏที่ผลิตการจัดหมู่ของคำศัพท์แล้วได้ผลออกมาเหมือนกับประโยคที่ถูกต้องทางไวยากรณ์ในภาษาหนึ่ง ว่าเป็นระบบของกฎที่ชัดเจนที่สามารถถูกใช้ซ้ำหลายครั้งเพื่อผลิตประโยคออกมาจำนวนนับไม่ถ้วนและมีความยาวเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ สิ่งที่แตกต่างจากตัวแบบของภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างและภาษาศาสตร์เชิงหน้าที่คือ ในภาษาศาสตร์เพิ่มพูนกรรมนั้นถูกผลิตโดยหน่วยคำหลัก (base-generated) อยู่ภายในกริยาวลี (verb phrase)[8][9] โครงสร้างทางปริชานที่ถูกอ้างนี้ถูกคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์สากล ซึ่งเป็นโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมของมนุษย์[10]

นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนได้สร้างทฤษฎีมากมายเพื่อทำให้สามารถเคราะห์นามวลี (NP) และกริยาวลี (VP) ได้ในการวรรณนาภาษาธรรมชาติ นั่นคือให้ประธานและกริยาวลีปรากฏเป็นองค์ประกอบอิสระและให้กรรมอยู่ในกริยาวลี จุดหลักที่สนใจอยู่ในวิธีการวิเคราะห์การย้ายคำปฤจฉาได้อย่างเหมาะสม และในกรณีอื่น ๆ ที่ประธานปรากฏเสมือนแยกกริยาออกจากกรรม[11] ถึงแม้นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนจะอ้างว่าเป็นโครงสร้างที่มีตัวตนจริงในทางปริชาน แต่ประสาทวิทยาศาสตร์ยังไม่พบหลักฐานสนับสนุน[12][13] พูดได้ว่าไวยากรณ์เพิ่มพูนนั้นครอบคลุมตัวแบบของการรับรู้ทางภาษาศาสตร์ แต่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ใดที่บอกว่าถูกต้อง

ขอบเขต

[แก้]

มีแนวทางต่อภาษาศาสตร์เพิ่มพูนอยู่หลากหลายแนวทาง และทั้งหมดพยายามหากฎหรือหลักการชุดหนึ่งซึ่งนิยามสมาชิกของเซตของข้อความในภาษาธรรมชาติที่จัดรูปดีอย่างรูปนัย คำว่า ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน สัมพันธ์กับสำนักภาษาศาสตร์อย่างน้อยดังต่อไปนี้:

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของตัวแบบของไวยากรณ์ปริวรรต

[แก้]

แม้เลนาร์ด บลูมฟิลด์ (Leonard Bloomfield) ผู้ที่งานของเขาถูกปฏิเสธโดยชอมสกี มองว่านักไวยากรณ์ชาวอินเดียสมัยโบราณปาณินิเป็นบรรพบทของแนวคิดโครงสร้างนิยม[14][15] ชอมสกีได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานรับรางวัลที่อิเดียในปี ค.ศ. 2001 และกล่าวว่า "ไวยากรณ์เพิ่มพูนอันแรกในนิยามร่วมสมัยคือไวยากรณ์ของปาณินิ"[a]

มีการพัฒนาไวยากรณ์เพิ่มพูนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 และมีการเปลี่ยนแปลงชนิดของกฏและตัวแทนที่ใช้คาดการณ์ความถูกต้องทางไวยากรณ์ การพูดถึงระยะต่าง ๆ ของการพัฒนาทฤษฎีจะเป็นประโยชน์ในการตามรอยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของแนวคิดในภาษาศาสตร์เพิ่มพูน

ทฤษฎีมาตรฐาน (ค.ศ. 1957–1965)

[แก้]

ทฤษฎีมาตรฐานที่ว่านี้สอดคล้องกับตัวแบบต้นฉบับของไวยากรณ์เพิ่มพูนที่วางไว้โดยชอมสกีในปี ค.ศ. 1965

แง่มุมหลักของทฤษฎีมาตรฐานคือการจำแนกการแทนของประโยคเป็นสองรูปแบบ ซึ่งเรียกว่าโครงสร้างลึก (deep structure) และโครงสร้างผิว (surface structure) การแทนสองแบบนี้เชื่อมต่อกันด้วยไวยากรณ์ปริวรรต

ทฤษฎีมาตรฐานแบบขยาย (ค.ศ. 1965–1973)

[แก้]

ทฤษฎีมาตรฐานแบบขยายที่ว่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาในปลายช่วงปี ค.ศ. 1960 ถึงต้นช่วงปี ค.ศ. 1970 ส่วนประกอบคือ:

ทฤษฎีมาตรฐานแบบปรับปรุงใหม่ (ค.ศ. 1973–1976)

[แก้]

ทฤษฎีมาตรฐานแบบปรับปรุงใหม่ที่ว่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาระหว่างปี ค.ศ. 1973 และ 1976 ส่วนประกอบคือ:

ไวยากรณ์สัมพันธ์ (ประมาณปี ค.ศ. 1975–1990)

[แก้]

ตัวแบบทางเลือกของวากยสัมพันธ์ที่อยู่บนแนวคิดว่าแนวคิดเช่น ประธาน กรรมตรง และกรรมรอง มีบทบาทหลักในไวยากรณ์

ทฤษฎีหลักการและตัวแปร/กำกับและผูกยึด (ค.ศ. 1981–1990)

[แก้]

Lectures on Government and Binding (1981) และ Barriers (1986) ของชอมสกี

โปรแกรมจุลนิยม (ค.ศ. 1990–ปัจจุบัน)

[แก้]

โปรแกรมจุลนิยมเป็นลำดับของการสอบสวนที่สมมุติฐานว่าโมดูลภาษาของมนุษย์ดีที่สุดแล้ว โดยประกอบด้วยแค่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการตอบสนองความต้องการทางกายภาพและการสื่อสาร และแสวงหาที่จะระบุคุณสมบัติที่จำเป็นของระบบแบบนั้น ชอมสกีได้เสนอโปรแกรมนี้ในปี ค.ศ. 1993[16]

ไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท

[แก้]

(อังกฤษ: Context-free grammar) เราสามารถอธิบายและเปรียบเทียบภาษาศาสตร์เพิ่มพูนได้ด้วยความช่วยเหลือของลำดับชั้นของชอมสกี (Chomsky hierarchy) (ซึ่งชอมสกีได้เสนอในสมัยปี ค.ศ. 1950) นี่ให้กำเนิดลำดับของชนิดของไวยากรณ์รูปนัยที่มีพลังในการแสดงออกมากขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในชนิดที่ง่ายที่สุดคือไวยากรณ์ปรกติ (regular grammar) (ชนิด 3) ชอมสกีอ้างว่านี่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นตัวแบบสำหรับภาษามนุษย์เพราะการอนุญาตการฝังตรงกลาง (center-embedding) ของสายอักขระไว้ในสายอักขระในภาษามนุษย์ธรรมชาติ

ที่ระดับความซับซ้อนที่สูงขึ้นคือไวยากรณ์ไม่พึ่งบริบท (ชนิด 2) อนุพันธ์ของประโยคโดยไวยากรณ์เช่นนี้สามารถนำมาวาดเป็นอนุพันธ์ของแผนภาพต้นไม้ (tree structure) นักภาษาศาสตร์ที่ทำงานในภาษาศษสตร์เพิ่มพูนมักจะมองต้นไม้เช่นนั้นว่าเป็นวัตถุหลักในการศึกษา จากมุมมองนี้ ประโยคหนึ่งประโยคไม่ได้เป็นเพียงเส้นสายของคำเรียงติดกัน แต่ทว่าคำที่อยู่ติดกันถูกรวมเป็น หน่วยประกอบ ซึ่งสามารถรวมเพิ่มเติมกับคำหรือหน่วยประกอบอื่นเพื่อสร้างแผนภาพต้นไม้ลำดับชั้น

อนุพันธ์ของโครงสร้างต้นไม้ง่าย ๆ ของประโยคในภาษาอังกฤษ "the dog ate the bone" เป็นไปดังต่อไปนี้: ตัวกำหนด (determiner) the และนาม dog รวมกันเพื่อสร้างนามวลี the dog นามวลีที่สอง the bone ก็สร้างขึ้นด้วยตัวกำหนด the และนาม bone กริยา ate รวมกับนามวลีที่สอง the bone เพื่อสร้างกริยาวลี ate the bone สุดท้าย นามวลีแรก the dog รวมกับกริยาวลี ate the bone เพื่อทำให้ประโยคสมบูรณ์เป็น the dog ate the bone แผนภาพต้นไม้ดังต่อไปแสดงให้เห็นอนุพันธ์นี้และโครงสร้างที่เป็นผล:

แผนภาพต้นไม้เช่นนี้ก็สามารถเรียกว่าตัวกำหนดวลี (phrase marker) ซึ่งนำมาแทนอยู่ในรูปตัวหนังสือได้ (แต่ผลคือจะอ่านยากกว่า) ในรูปแบบนี้ประโยคด้านบนจะถูกนำมาแสดงเป็น:
[S [NP [D The ] [N dog ] ] [VP [V ate ] [NP [D the ] [N bone ] ] ] ]

ในภาษาไทยเราอาจแทนตัวกำหนดเป็นคำนิยม (อ่านว่า นิ-ยะ-มะ, demonstrative) ห่างหรือเคียง และลักษณนาม (classifier) เช่น หมาตัวนั้นกินกระดูกซี่นี้ เป็น:
[S [NP [N หมา ] [CL ตัว ] [D นั้น] ] [VP [V กิน ] [NP [N กระดูก ] [CL ซี่ ][D นี้ ] ] ] ]

ชอมสกีได้กล่าวอ้างว่าไวยากรณ์โครงสร้างวลีก็ไม่เหมาะสมสำหรับการวรรณนาภาษาธรรมชาติ และได้กำหนดระบบไวยากรณ์ปริวรรตที่ซับซ้อนขึ้น[17]

คำวิจารณ์

[แก้]

การขาดหลักฐาน

[แก้]

โนม ชอมสกีผู้ก่อตั้งไวยากรณ์เพิ่มพูนเชื่อว่าได้พบหลักฐานทางภาษาศาสตร์ว่าโครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ไม่ได้ถูกเรียนรู้แต่ตัวเด็ก ‘ได้มา’ จากไวยากรณ์สากล นี่นำไปสู่การก่อตั้งข้ออ้างความไม่สมบูรณ์ของสิ่งเร้า (poverty of the stimulus) แต่ได้ค้นพบทีหลังว่าการวิเคราะห์เชิงภาษาศาสตร์ของชอมสกีนั้นไม่เหมาะสมและเพียงพอ[18]

ไม่มีหลักฐานที่ว่าโครงสร้างวากยสัมพันธ์นั้นมีโดยกำเนิด แม้ว่าจะมีความหวังขึ้นหน่อยเมื่อมีการค้นพบยีน FOXP2[19][20] ก็ยังมีข้อสนับสนุนเพียงพอต่อแนวคิดที่ว่ายีนนี้เป็น 'ยีนไวยากรณ์' หรือว่ามีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับการอุบัติของการพูดเชิงวากยสัมพันธ์หรือภาษาพูดเมื่อซึ่งพึ่งมีขึ้นเมื่อไม่นานมานี้[21]

การศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์โดยการใช้ ERPs หรือศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ต่อข้ออ้างว่าสมองมนุษย์ประมวลวัตถุทางไวยากรณ์เสมือนว่าวัตถุถูกวางใว้ในกริยาวลี[12] ผลคือไวยากรณ์เพิ่มพูนไม่ใช่ตัวแบบที่เป็นประโยชน์สำหรับภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา[13]

นักภาษาศาสตร์เพิ่มพูนอ้างว่าภาษานั้นมีส่วนจำเพาะของจิต (Modularity of mind) เป็นของตัวเอง และไม่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างการประมวลภาษาแม่กับการประมวลสารสนเทศชนิดอื่น ๆ อาทิคณิตศาสตร์[22] คำกล่าวอ้างนี้ไม่ได้อยู่บนฐานของการวิจัยหรือความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปว่าสมองทำงานอย่างไร[23][24]

ชอมสกีได้ตอบกลับคำวิจารณ์โดยการเน้นว่าทฤษฎีของเขาความจริงแล้วขัดแย้งกับหลักฐาน เขาหากแต่เชื่อว่าจะเป็นกรณีที่คุณค่าจริงของงานวิจัยจะถูกเข้าใจในภายหลัง เหมือนกับกาลิเลโอ กาลิเลอี[25]

ดนตรี

[แก้]

ไวยากรณ์เพิ่มพูนได้ถูกใช้ในขนาดที่จำกัดในทฤษฎีดนตรี (music theory) และการวิเคราะห์ดนตรี (musical analysis) ตั้งแต่สมัยปี ค.ศ. 1980[26][27] แนวทางที่เป็นที่รู้จักที่สุดถูกพัฒนาโดยมาร์ก สตีดแมน (Mark Steedman)[28] รวมถึงเฟร็ด เลอร์ดาห์ล (Fred Lerdahl) และเรย์ แจ็คเคนดอฟฟ์ (Ray Jackendoff)[29] ผู้ที่กำหนดรูปแบบและขยายแนวคิดจากการวิเคราะห์แบบเชงเกอร์ (Schenkerian analysis)[30] และเร็ว ๆ มานี้แนวทางเพิ่มพูนแรก ๆ ต่อดนตรีก็ได้ถูกพัฒนาต่อเพิ่มและขยายโดยนักวิชาการหลายคน[31][32][33][34]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "The first generative grammar in the modern sense was Panini's grammar"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Schäfer, Roland (2016). Einführung in die grammatische Beschreibung des Deutschen (2nd ed.). Berlin: Language Science Press. ISBN 9781537504957.
  2. Butler, Christopher S. (2003). Structure and Function: A Guide to Three Major Structural-Functional Theories, part 1 (PDF). John Benjamins. pp. 121–124. ISBN 9781588113580. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2020.
  3. Everaert, Martin; Huybregts, Marinus A. C.; Chomsky, Noam; Berwick, Robert C.; Bolhuis, Johan J. (2015). "Structures, not strings: linguistics as part of the cognitive sciences" (PDF). Trends in Cognitive Sciences. 19 (12): 729–743. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2020.
  4. Seuren, Pieter A. M. (1998). Western linguistics: An historical introduction. Wiley-Blackwell. pp. 160–167. ISBN 0631208917.
  5. Koerner, E. F. K. (1978). "Towards a historiography of linguistics". Toward a Historiography of Linguistics: Selected Essays. John Benjamins. p. 41f. ISBN 9789027286543. it is worth noting that Chomsky cites Hjelmslev's Prolegomena, which had been translated into English in 1953, since the authors theoretical argument, derived largely from logic and mathematics, exhibits noticeable similarities. Cf. Chomsky's Syntactic Structures, which is based on the 1955 manuscript (Chomsky 1957:50), for a direct reference to Hjelmslev, and 115 f., the original [1957] bibliography).
  6. Chomsky, Noam (2017). "The language capacity: architecture and evolution". Psychonomic Bulletin & Review. 24 (24): 200–203. doi:10.3758/s13423-016-1078-6. PMID 27368638.
  7. Kotowski, Sven; Härtl, Holden (2011). "Recursion and the language faculty - on the evolution of the concept in Generative Grammar" (PDF). Norddeutsches Linguistisches Kolloquium (12): 24–46. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2020.
  8. Butler, Christopher S. (2003). Structure and Function: A Guide to Three Major Structural-Functional Theories, part 1 (PDF). John Benjamins. pp. 121–124. ISBN 9781588113580. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2020.
  9. Osborne, Timothy (2015). "Dependency Grammar". ใน Kiss, Tibor; Alexiadou, Artemis (บ.ก.). Syntax – Theory and Analysis. Vol. 2. De Gruyter. ISBN 9783110358667.
  10. Berwick, Robert C.; Chomsky, Noam (2015). Why Only Us: Language and Evolution. MIT Press. ISBN 9780262034241.
  11. Kiss, Tibor; Alexiadou, Artemis, บ.ก. (2015). Syntax--theory and analysis: An international handbook. De Gruyter. ISBN 9783110202762.
  12. 12.0 12.1 Kluender, R.; Kutas, M. (1993). "Subjacency as a processing phenomenon" (PDF). Language and Cognitive Processes. 8 (4): 573–633. doi:10.1080/01690969308407588. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2020.
  13. 13.0 13.1 Barkley, C.; Kluender, R.; Kutas, M. (2015). "Referential processing in the human brain: An Event-Related Potential (ERP) study" (PDF). Brain Research. 1629: 143–159. doi:10.1016/j.brainres.2015.09.017. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2020.
  14. Bloomfield, Leonard, 1929, 274; cited in Rogers, David, 1987, 88
  15. Hockett, Charles, 1987, 41
  16. Chomsky, Noam. 1993. A minimalist program for linguistic theory. MIT occasional papers in linguistics no. 1. Cambridge, Massachusetts: Distributed by MIT Working Papers in Linguistics.
  17. Chomsky, Noam (1956). "Three models for the description of language" (PDF). IRE Transactions on Information Theory. 2 (3): 113–124. doi:10.1109/TIT.1956.1056813. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-09-19.
  18. Pullum, GK; Scholz, BC (2002). "Empirical assessment of stimulus poverty arguments" (PDF). The Linguistic Review. 18 (1–2): 9–50. doi:10.1515/tlir.19.1-2.9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-02-28.
  19. Scharff C, Haesler S (December 2005). "An evolutionary perspective on FoxP2: strictly for the birds?". Curr. Opin. Neurobiol. 15 (6): 694–703. doi:10.1016/j.conb.2005.10.004. PMID 16266802.
  20. Scharff C, Petri J (July 2011). "Evo-devo, deep homology and FoxP2: implications for the evolution of speech and language". Philos. Trans. R. Soc. Lond. B Biol. Sci. 366 (1574): 2124–40. doi:10.1098/rstb.2011.0001. PMC 3130369. PMID 21690130.
  21. Diller, Karl C.; Cann, Rebecca L. (2009). Rudolf Botha; Chris Knight (บ.ก.). Evidence Against a Genetic-Based Revolution in Language 50,000 Years Ago. The Cradle of Language. Oxford Series in the Evolution of Language. Oxford.: Oxford University Press. pp. 135–149. ISBN 978-0-19-954586-5. OCLC 804498749.
  22. Smith, Neil (2002). Chomsky: Ideas and Ideals (2nd ed.). Cambridge University Press. p. 17. ISBN 0521475171. the mind itself is not an undifferentiated general-purpose machine: it is compartmentalized in such a way that different tasks are subserved by different mechanisms. The mind is "modular." Sight and smell, taste and touch, language and memory, are all distinct from each other, from our moral and social judgment, and from our expertise in music or mathematics.
  23. Schwarz-Friesel, Monika (2012). "On the status of external evidence in the theories of cognitive linguistics". Language Sciences. 34 (6): 656–664. doi:10.1016/j.langsci.2012.04.007.
  24. Elsabbagh, Mayada; Karmiloff-Smith, Annette (2005). "Modularity of mind and language". ใน Brown, Keith (บ.ก.). Encyclopedia of Language and Linguistics (PDF). Elsevier. ISBN 9780080547848. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2020.
  25. Chomsky, Noam; Belletti, Adriana; Rizzi, Luigi (January 1, 2001). "Chapter 4: An interview on minimalism". ใน Chomsky, Noam (บ.ก.). On Nature and Language (PDF). Cambridge University Press. pp. 92–161. ISBN 9780511613876. สืบค้นเมื่อ 2020-02-28.
  26. Baroni, M., Maguire, S., and Drabkin, W. (1983). The Concept of Musical Grammar. Music Analysis, 2:175–208.
  27. Baroni, M. and Callegari, L. (1982) Eds., Musical grammars and computer analysis. Leo S. Olschki Editore: Firenze, 201–218.
  28. Steedman, M.J. (1989). "A Generative Grammar for Jazz Chord Sequences". Music Perception. 2 (1): 52–77. doi:10.2307/40285282. JSTOR 40285282.
  29. Lerdahl, Fred; Ray Jackendoff (1996). A Generative Theory of Tonal Music. Cambridge: MIT Press. ISBN 978-0-262-62107-6.
  30. Heinrich Schenker, Free Composition. (Der Freie Satz) translated and edited by Ernst Ostler. New York: Longman, 1979.
  31. Tojo, O. Y. & Nishida, M. (2006). Analysis of chord progression by HPSG. In Proceedings of the 24th IASTED international conference on Artificial intelligence and applications, 305–310.
  32. Rohrmeier, Martin (2007). A generative grammar approach to diatonic harmonic structure. In Spyridis, Georgaki, Kouroupetroglou, Anagnostopoulou (Eds.), Proceedings of the 4th Sound and Music Computing Conference, 97–100. http://smc07.uoa.gr/SMC07%20Proceedings/SMC07%20Paper%2015.pdf
  33. Giblin, Iain (2008). Music and the generative enterprise. Doctoral dissertation. University of New South Wales.
  34. Katz, Jonah; David Pesetsky (2009) "The Identity Thesis for Language and Music". http://ling.auf.net/lingBuzz/000959

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]