ข้ามไปเนื้อหา

ไพศาล ยิ่งสมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพศาล ยิ่งสมาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2482
อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ประเทศไทย
เสียชีวิต16 มกราคม พ.ศ. 2556 (73 ปี)
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
คู่สมรสจรูญ ยิ่งสมาน

ไพศาล ยิ่งสมาน (2 เมษายน พ.ศ. 2482 - 16 มกราคม พ.ศ. 2556) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา 4 สมัย

ประวัติ

[แก้]

ไพศาล ยิ่งสมาน เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2482 เป็นบุตรของนายแวสามะ (ชื่อเดิม:อรุณ) และ นางแวสะลาเมาะ (ชื่อเดิม:นงเยาว์) ยิ่งสมาน[1] มีพี่น้อง 4 คน โดยนายไพศาล เป็นบุตรคนที่ 2 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จาก โรงเรียนเทพศิรินทร์ และเคยเข้าศึกษาที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 2 ปี ก๋อนที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยไคโร ประเทศอียิปต์

การทำงาน

[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษา ไพศาล ได้เข้าทำงานเป็นข้าราชการครูที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา และโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ตามลำดับ ก่อนที่จะลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว[2]

งานการเมือง

[แก้]

ไพศาล เข้าสู่วงการการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดยะลา เขตอำเภอเมือง เมื่อ พ.ศ. 2523 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 4 ครั้ง

พ.ศ. 2554 ไพศาล ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 13 สังกัดพรรคมาตุภูมิ ก่อนที่จะไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากทางพรรค ได้รับเลือกแค่ที่นั่งเดียวเท่านั้น

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ไพศาล ยิ่งสมาน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดยะลา สังกัดความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย

ข้าราชการเมือง

[แก้]
  1. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2538[3]

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

ไพศาล ยิ่งสมาน เสียชีวิตด้วยอาการน้ำท่วมปอด เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556 สิริอายุรวม 73 ปี [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดยะลา. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๓๕/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  4. "ทุกชีวิตต้องกลับสู่พระเจ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-11-24.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณอันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓