ข้ามไปเนื้อหา

ไป่ตู้ไป่เคอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไป่ตู้ไป่เคอ
百度百科
ประเภทสารานุกรมออนไลน์
ภาษาที่ใช้ได้จีนมาตรฐาน
ก่อขึ้นค.ศ. 2006
สำนักงานใหญ่,
จีน
เจ้าของไป่ตู้
สร้างโดยโรบิน หลี่
ยูอาร์แอลbaike.baidu.com
ipv6.baidu.com IPv6ipv6.baidu.com
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น (จำเป็นถ้าจะแก้ไขหน้า)
ผู้ใช้มากกว่า 6.9 ล้านคน (2019)[1]
สถานะปัจจุบันเปิดใช้งาน
ไป่ตู้ไป่เคอ
ภาษาจีน百度百科

ไป่ตู้ไป่เคอ (จีน: 百度百科; พินอิน: Bǎidù Bǎikē; แปลตรงตัว: "สารานุกรมไป่ตู้" มีอีกชื่อว่า ไป่ตู้วิกิ)[2] เป็นสารานุกรมออนไลน์ที่ร่วมกันเขียนในภาษาจีน จัดทำโดยไป่ตู้[1] มีการเปิดตัวรุ่นเบต้าในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2006[1] และเปิดตัวรุ่นทางการที่ผ่านการแก้ไขจากกลุ่มผู้ใช้ที่ลงทะเบียนในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2008 ข้อมูลเมื่อ กุมภาพันธ์ 2022 สารานุกรมนี้มีบทความ 25.54 ล้านบทความ และผู้แก้ไขมากกว่า 7.5 ล้านคน[1] ทำให้เป็นสารานุกรมออนไลน์ภาษาจีนที่มีจำนวนรายการมากที่สุดในโลก[3]

ไป่ตู้ไป่เคอถูกวิจารณ์ในด้านการเซ็นเซอร์, การละเมิดลิขสิทธิ์, การแสวงหากำไร และการเพิ่มข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มา[4][5][6]

ประวัติ

[แก้]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 โรบิน หลี่ได้ก่อตั้งไป่ตู้ไป่เคอขึ้นหลังการตัดสินใจเซนเซอร์วิกิพีเดียของรัฐบาลจีนใน ค.ศ. 2005[1][7]

รุ่นเบต้าของไป่ตู้ไป่เคอได้รับการเปิดตัวในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2006[1] หลังจากนั้น 20 วัน ไป่ตู้ไป่เคอมีผู้ใช้ลงทะเบียนมากกว่า 300,000 คนและมีบทความมากกว่า 100,000 บทความ แซงหน้าจำนวนบทความในวิกิพีเดียภาษาจีน[8] ข้อมูลเมื่อ พฤศจิกายน 2019 ไป่ตู้ไป่เคอมีบทความมากกว่า 16 ล้านบทความและมีผู้แก้ไขมากกว่า 6.9 ล้านคน[1]

William Chang จากไป่ตู้ ได้กล่าวไว้ในงาน WWW2008 ซึ่งเป็นงานสัมมนาของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียมว่า "ไม่มีเหตุผลใดที่จีนจะใช้วิกิพีเดีย ... เป็นเรื่องปกติที่จีนจะผลิตสินค้าขึ้นเอง"[9] เมื่อค้นหาในเว็บไซต์ไป่ตู้ ถ้ามีบทความในไป่ตู้ไป่เคอ ก็จะแสดงผลการค้นหาเป็นผลการค้นหาแรกหรือหนึ่งในช่องแรก[10]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Zhang, Jane (20 November 2019). "How Baidu built an encyclopedia with 16 times more Chinese entries than Wikipedia". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  2. Baidu Inc. (2021-06-29). "We've launched new paid consulting services on #BaiduWiki". Twitter.
  3. "How Baidu built an encyclopedia with 16 times more Chinese entries than Wikipedia". South China Morning Post. 20 November 2019.
  4. Harrison, Stephen (26 October 2021). "Why Wikipedia Banned Several Chinese Admins". Slate Magazine.
  5. Xia Huosong, Wang Ruixin. An Empirical Study on the Impact of Baidu Baike Entry Features on Knowledge Sharing Willingness. Research in Science of Science. December 2010.
  6. "网络百科要权威,人人参与还不够-新华网". www.xinhuanet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ October 27, 2021.
  7. Shariza Baranyanka (2018-03-21). "Baidu, l'anti-Google : comment Robin Li a créé un monopole chinois". www.numerama.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.
  8. "Baidu desafía a la Wikipedia en China con su nueva enciclopedia 'on line'". El Mundo (ภาษาสเปน). EFE. 12 May 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  9. Webster, Graham (2008-04-22). "Baidu's William Chang: 'No reason for China to use Wikipedia'". CNET News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-06-22.
  10. "《互动百科诉百度"垄断"》". 孙超逸. 网易. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23. (Chinese)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]