ข้ามไปเนื้อหา

ไปรษณียบัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปรษณียบัตร

ไปรษณียบัตร (ฝรั่งเศส: Carte Postaleอังกฤษ: postal card) มีลักษณะเป็นกระดาษแข็งจัดทำและจำหน่ายโดยไปรษณีย์ ด้านหน้ามีที่สำหรับใส่ที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง และมีภาพแสตมป์พิมพ์ติดบนกระดาษ ส่วนด้านหลังเป็นที่ให้เขียนข้อความ สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้เลยโดยไม่ต้องติดแสตมป์เพิ่ม มีอัตราค่าส่งถูกกว่าจดหมายธรรมดา เหมาะกับการส่งข้อความที่ไม่ต้องการความเป็นส่วนตัว เช่นการแจ้งข่าวสารต่าง ๆ แสตมป์บนไปรษณียบัตรมักเป็นอัตราสำหรับส่งภายในประเทศ แต่ประเภทที่ใช้ส่งต่างประเทศก็มีการทำขึ้นเช่นเดียวกัน

โปสการ์ด

ไปรษณียบัตร ในภาษาอังกฤษ อาจใช้คำว่า postcard หรือ post card ได้ แต่สองคำนี้มีความหมายกว้างกว่า กล่าวคือ หมายรวมถึง โปสการ์ด หรือ ไปรษณียบัตรรูปภาพ ซึ่งเป็นกระดาษแข็งที่ไม่มีแสตมป์และด้านหลังเป็นรูปภาพได้อีกด้วย


ไปรษณียบัตรพร้อมใบตอบระหว่างประเทศ

[แก้]

ไปรษณียบัตรพร้อมใบตอบ (ฝรั่งเศส: carte postale avec réponse payée) เดิมเรียกว่า «ไปรสนีย์บัตรกับใบตอบด้วย» คือหนึ่งในวิธีการเขียนติดต่อสื่อสารโดยที่ผู้ส่งจ่าย ค่าส่งไปและกลับ จุดมุ่งหมายคือ ให้ผู้รับสามารถตอบได้ สะดวก รวดเร็ว เพียงเขียนบนใบตอบ ก็พร้อมส่งได้ รูปแบบเป็นบัตรคู่แฝด รวมบัตรส่งไปและใบตอบ บนบัตรทั้งคู่มีแสตมป์พิมพ์ ตามอัตราในประเทศหากใช้ส่งภายใน หรือตามอัตราระหว่างประเทศซึ่งใช้ส่งไปยังนานาชาติ

ประวัติ

[แก้]
  • ค.ศ. 1872 : ไปรษณีย์ประเทศเยอรมัน(ปรัสเซีย)เป็นผู้ริเริ่มโดยมีใช้ไปรษณียบัตรพร้อมใบตอบในภายในประเทศเท่านั้น
  • ค.ศ. 1878 : ในการประชุมไปรษณีย์สากล ที่กรุงปารีส บางประเทศสมาชิกในสหภาพ ทำสัญญาการตกลงอนุญาตใช้ไปรษณียบัตรพร้อมใบตอบ ระหว่างประเทศผู้ลงนาม
  • ค.ศ. 1885 : การประชุมไปรษณีย์สากล ที่กรุงลิสบอน โปรตุเกส ได้ลงมติสัญญาตกลงยอมรับการใช้ไปรษณียบัตรพร้อมใบในทุกประเทศสมาชิก
  • ค.ศ. 1887 : 1 เมษายน เริ่มจำหน่ายไปรษณียบัตรพร้อมใบตอบระหว่างประเทศแรกของสยาม ราคา 4อัฐ + 4อัฐ โดยมีบริษัท De La Rue & Co ลอนดอน เป็นผู้ออกแบบสลักและจัดพิมพ์จำนวนทั้งหมด 30724ใบ แสตมป์สีแดงพิมพ์บนบัตรคล้ายกับแสตมป์ติดจดหมายชุดที่สอง
  • ค.ศ. 1969 : การประชุมไปรษณีย์สากล ที่โตเกียว ได้ลงมติยกเลิกการใช้ไปรษณียบัตรพร้อมใบตอบระหว่างประเทศ

ตัวอย่างไปรษณียบัตรพร้อมใบตอบ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]