ไท่ผิงยฺวี่หล่าน
หน้าตา
ไท่ผิงยฺวี่หล่าน | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 《太平御覽》 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 《太平御览》 | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | หนังสือหลวงแห่งศักราชไท่ผิง | ||||||||||||
|
ไท่ผิงยฺวี่หล่าน (จีนตัวย่อ: 太平御览; จีนตัวเต็ม: 太平御覽; พินอิน: Tàipíng Yùlǎn; "หนังสือหลวงแห่งศักราชไท่ผิง") เป็นสารานุกรมจีนขนาดใหญ่ในรูปแบบเล่ย์ชู (類書) จัดทำขึ้นระหว่าง ค.ศ. 977–983 ตามรับสั่งของจักรพรรดิซ่งไท่จง (宋太宗) พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง (宋朝) แห่งจักรวรรดิจีน ผู้จัดทำ คือ คณะกรรมการซึ่งมีราชบัณฑิตหลี ฝ่าง (李昉) เป็นประธาน เนื้อหาแบ่งเป็น 1,000 เล่ม 55 ภาค ประกอบด้วยอักษรจีนราว 4.7 ล้านตัว ว่าด้วยเรื่องราวประมาณ 2,579 ประเภท เช่น ตำรับตำรา โคลงฉันท์กาพย์กลอน สำนวนคำพังเพย จารึก ฯลฯ ถือเป็นหนึ่งในสี่เอกสารสำคัญของซ่ง (宋四大書) เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ซ่งไท่จงทรงอ่านจบทั้งหมดภายในหนึ่งปี โดยทรงอ่านวันละสามเล่ม
สารานุกรมนี้เป็นหนึ่งในเอกสารหลักที่นักปราชญ์สมัยถัดมาใช้ซ่อมแซมเนื้อหาที่สูญหายของหนังสือ จิงฉู่จี้ (荊楚記)[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Theobald, Ulrich (2010), "Jing-Chu Suishi Ji", China Knowledge, Tübingen.