ไทรทัน (ดาวบริวาร)
ไทรทัน (อังกฤษ: Triton)[1] เป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเนปจูน เป็นสถานที่เพียงหนึ่งในสี่แห่งในระบบสุริยะ ที่มีก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศ นอกเหนือจากโลก, ดาวบริวารไททัน (Titan Moon) ของดาวเสาร์ และดาวพลูโต
ไทรทันมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,707 ก.ม. มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -235 องศาเซลเซียส (35 เคลวิน) สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเหวและร่องลึกมากมาย เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำทำให้เกิดน้ำแข็ง และน้ำแข็งละลายกลับไปกลับมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า นอกจากนั้นยังมีภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcanos) ที่พ่นน้ำพุแรงดันสูง ประกอบด้วยไนโตรเจนเหลว มีเทนแข็ง และฝุ่นที่เย็นจัดขึ้นไปกว่า 8 กิโลเมตร เหนือพื้นผิวของดาวบริวาร
ลักษณะพื้นผิวดาวบริวารจะแวววาวจากหินแข็ง โดยมีส่วนผสมด้วยละอองอนุภาคสีดำขนาดเล็ก ถูกหุ้มด้วยผลึกน้ำแข็ง (เกิดจาก Ice carbonaceous) มีส่วนประกอบของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน และแก๊สมีเทน ฟุ้งกระจายเป็นหมอกบางๆ เหนือพื้น โดยมีน้ำแข็งทั้งหมดประมาณ 25%
ไทรทันเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ เลยวงโคจรของดาวพลูโต ออกไปและถูกดาวเนปจูนดูดจับเข้ามาเป็นบริวาร รูปทรงสัณฐานของไทรทันที่สังเกตเห็น จะมีแนวเฉดฟ้าอ่อนจาก Nitrogen ice เช่นเดียวกับไอของน้ำแข็งแห้ง
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ไทรทัน เก็บถาวร 2011-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก โครงการสำรวจระบบสุริยะขององค์การนาซา