ข้ามไปเนื้อหา

ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อท้องถิ่น
ไทยรุ่ง
ประเภทมหาชน
การซื้อขาย
SET:TRU
อุตสาหกรรมยานยนต์
ก่อตั้งพ.ศ. 2510; 58 ปีก่อน
ผู้ก่อตั้งวิเชียร เผอิญโชค
สำนักงานใหญ่ถ.มาเจริญ แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม, กรุงเทพมหานคร 10160
บุคลากรหลัก
  • ดร. ปราณี เผอิญโชค (ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่)
  • สมพงษ์ เผอิญโชค (ประธานกรรมการบริหาร)
ผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์
รายได้เพิ่มขึ้น 2,577 ล้านบาท (2561)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 181 ล้านบาท (2561)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 3,927 ล้านบาท (2561)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 3,268 ล้านบาท (2561)[1]
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ (อังกฤษ: Thai Rung Union Car) เดิมชื่อ ไทยมอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (THAMCO) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติไทยเพียงรายเดียว ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2510 เริ่มต้นประกอบรถยนต์อีซูซุ โตโยต้า นิสสัน และเชฟโรเลต นอกจากงานประกอบแล้ว ยังมีการผลิตแบรนด์รถยนต์ของตนเองในชื่อ "ไทยรุ่ง" หรือ "ไทยรุ่ง

ไทยรุ่งส่งออกชุดประกอบรถยนต์แบบกึ่งสำเร็จรูป (Semi-Knocked-Down Kits: SKD) ไปยังประเทศจีน เกาหลีเหนือ และอิหร่าน ปัจจุบันบริษัทมีแผนที่จะส่งออกเพิ่มเติมไปยังฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย อียิปต์ และเยเมนอีกด้วย

ประวัติ

[แก้]

ไทยมอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น

[แก้]

ก่อตั้งขึ้นโดยนายห้างวิเชียร เผอิญโชค ในปี พ.ศ. 2510 ในชื่อบริษัท ไทยมอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (THAMCO) เริ่มต้นประกอบรถยนต์ยี่ห้อเลย์แลนด์ (Leyland) ต่อมาหลังจากที่เลย์แลนด์ประสบปัญหา ทาง THAMCO จึงได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจมาเป็นการประกอบรถยนต์ยี่ห้อ อีซูซู, โตโยต้า, นิสสัน และเชฟโรเลตในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990

ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์

[แก้]

บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 หลังเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท ไทยมอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (THAMCO)[2] ปัจจุบัน บริษัทยังคงเป็นกิจการของตระกูลเผอิญโชค โดยสมาชิกในครอบครัวถือหุ้นอยู่ประมาณ 70% คุณสมพงษ์ เผอิญโชค ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัท[3]

ในปี พ.ศ. 2542 ไทยรุ่งได้ส่งออกชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์รุ่น Grand Adventure ไปยังโรงงานประกอบรถยนต์ของเชฟโรเลตในเมืองอาริกา ประเทศชิลี เพื่อใช้ในการผลิตรถยนต์ Chevrolet LUV Wagon และ Grand LUV

ยอดขายของรถยนต์รุ่น แอดเวนเจอร์ มาสเตอร์ ซึ่งดัดแปลงมาจากรถกระบะอีซูซุ ดีแมคซ์ เริ่มต้นวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2546 โดยมียอดขายประมาณ 300 คันต่อเดือน ขณะเดียวกันรถยนต์รุ่น เอ็กไซเตอร์ ที่ดัดแปลงมาจากนิสสัน ฟรอนเทียร์ D22 ก็มียอดขายประมาณ 100 คันต่อเดือน

ผลิตภัณฑ์

[แก้]

อยู่ในสายการผลิต

[แก้]
ไทยรุ่ง MUV4

ยุติการผลิต

[แก้]
  • อีซูซุ Stationwagon (พ.ศ. 2522–2526), บนพื้นฐานของ Isuzu KB
  • อีซูซุ KB Stationwagon (พ.ศ. 2525–2534), บนพื้นฐานของ Isuzu KB
  • อีซูซุ Victor (พ.ศ. 2529–2540), บนพื้นฐานของ Isuzu TF
  • อีซูซุ Buddy (พ.ศ. 2525–2545), บนพื้นฐานของ Isuzu TF และ Isuzu WFR
  • อีซูซุ Supreme (พ.ศ. 2535–2545), บนพื้นฐานของ Isuzu TF
  • อีซูซุ Adventure (พ.ศ. 2536–2540), บนพื้นฐานของ Isuzu TF
  • อีซูซุ Wanderer (พ.ศ. 2536–2540), บนพื้นฐานของ Isuzu TF
  • อีซูซุ Tripper (พ.ศ. 2539–2545), บนพื้นฐานของ Isuzu TF Dragon Eyes / Dragon Power
  • ไทยรุ่ง Grand Adventure (พ.ศ. 2540–2545), บนพื้นฐานของ Isuzu TF Dragon Eyes / Dragon Power
  • ไทยรุ่ง แอดเวนเจอร์ มาสเตอร์ ต้นแบบจากอีซูซุ ดีแมคซ์
    ไทยรุ่ง แอดเวนเจอร์ มาสเตอร์ (พ.ศ. 2545–2555), บนพื้นฐานของ อีซูซุ ดีแมคซ์
  • ไทยรุ่ง Adventure II (พ.ศ. 2551–2555), บนพื้นฐานของ อีซูซุ ดีแมคซ์
    • ไทยรุ่ง Adventure Sport (พ.ศ. 2549–2555), บนพื้นฐานของ อีซูซุ ดีแมคซ์ (รวมไปถึง Isuzu 4JJ1-TC Engine)
    • ไทยรุ่ง Adventure Elegance (พ.ศ. 2549–2555), บนพื้นฐานของ อีซูซุ ดีแมคซ์ (รวมไปถึง Isuzu 4JJ1-TC Engine)
    • ไทยรุ่ง Adventure Sport EX (พ.ศ. 2549–2555), บนพื้นฐานของ อีซูซุ ดีแมคซ์ (รวมไปถึง Isuzu 4JJ1-TC Engine)
  • ไทยรุ่ง Allroader (พ.ศ. 2550–2555), บนพื้นฐานของ เชฟโรเลต โคโลราโด
  • ไทยรุ่ง Exclusive Limousine (พ.ศ. 2552–2555), บนพื้นฐานของ อีซูซุ ดีแมคซ์ และ เชฟโรเลต โคโลราโด
  • ไทยรุ่ง Xciter (พ.ศ. 2538–2548), บนพื้นฐานของ Nissan D22 BIG-M FRONTIER
  • ไทยรุ่ง Super Xciter (พ.ศ. 2545–2551), บนพื้นฐานของ Nissan D22 (รวมไปถึง Nissan TD27 & Nissan ZD30DDT Engine)
  • ไทยรุ่ง Freelife (พ.ศ. 2545–2551), บนพื้นฐานของ Nissan D22 (รวมไปถึง Nissan TD27 & ZD30DD Engine)
  • ไทยรุ่ง Superior (พ.ศ. 2534–2541), บนพื้นฐานของ โตโยต้า ไฮลักซ์
  • ไทยรุ่ง Vanner (พ.ศ. 2530–2539) บนพื้นฐานของ Toyota Hilux Hero และ Isuzu WFR
  • ไทยรุ่ง Passport (พ.ศ. 2539–2545) บนพื้นฐานของ Isuzu TF และ Nissan D21
  • ไทยรุ่ง Super-Tant (พ.ศ. 2522–2529) บนพื้นฐานของ Isuzu Elf (TL) Toyota Dyna (BU35)
  • ไทยรุ่ง ชีต้า
    รถบรรทุกชีต้า (พ.ศ. 2522–2527) บนพื้นฐานของ Isuzu Elf (TL) และ Toyota Dyna (BU35)
  • รถมินิมัสชีต้า (พ.ศ. 2522–2529) บนพื้นฐานของ Isuzu Elf (TL) และ Toyota Dyna (BU35)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "TRU: Financial Data". Stock Exchange of Thailand (SET). สืบค้นเมื่อ 5 December 2019.
  2. The Stock Exchange of Thailand : Company Profile
  3. The Stock Exchange of Thailand: Major Shareholders
  4. "TR Transformer II". Thai Rung. สืบค้นเมื่อ 5 December 2019.