ไทยน้ำทิพย์
ประเภท | อาหารและเครื่องดื่ม |
---|---|
รูปแบบ | บริษัทจำกัด |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2502 (65 ปี) |
ผู้ก่อตั้ง | ตระกูลสารสิน ตระกูลเคียงศิริ ตระกูลบุญสูง บจก.โคคา-โคลา เอ็กซ์ปอร์ตคอร์ปอเรชั่น[1] |
สำนักงานใหญ่ | 214 หมู่ 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210[2] |
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย (ยกเว้น 14 จังหวัด ภาคใต้ของไทย) |
บุคลากรหลัก | พรวุฒิ สารสิน (ประธานกรรมการ) |
เว็บไซต์ | http://www.thainamthip.co.th/ |
บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด (อังกฤษ: ThaiNamthip Company Limited) เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำอัดลม ในชื่อของ โคคา-โคล่า โดยได้รับลิขสิทธิ์มาจาก โคคา-โคลา คัมปะนี (ประเทศสหรัฐอเมริกา) และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ใน ประเทศไทย (ยกเว้นพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทย ที่มีทาง บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย)[3]
ประวัติ
[แก้]เครื่องดื่ม โคคา-โคล่า ออกจำหน่ายใน ประเทศไทย ครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2492 โดย พันตรี รักษ์ ปันยารชุน นักธุรกิจชาวไทย ร่วมกับ หุ้นส่วนชาวต่างชาติ คือ Bill Davis และ Ray Derrick โดยได้มีการเปิดโรงงานบรรจุขวด "Rak Derrick & Davis Bottling" เพื่อผลิตและจำหน่าย อย่างเป็นทางการในวันที่ 8 เมษายน 2492[4] ต่อมาด้วยสภาวะการแข่งขันทางการค้า ที่เป็นไปอย่างเข้มข้น โดยมีสภาวะทางการเมือง เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้ รักษ์ ตัดสินใจ ขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้แก่บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด[5] ซึ่งก่อตั้งโดย สามตระกูลหลักคือ ตระกูลสารสิน (พจน์ สารสิน) ตระกูลเคียงศิริ (เชวง เคียงศิริ[6]) และ ตระกูลบุญสูง (จุติ บุญสูง[7][8]) โดยร่วมมือกับ บจก.โคคา-โคลา เอ็กซ์ปอร์ตคอร์ปอเรชั่น เปิดบริษัทผู้บรรจุขวดรายแรกของประเทศไทย โดยให้ พจน์ ดำรงตำแหน่ง ประธานบริษัท[1]
ในปี 2510 เครื่องดื่ม โคคา-โคลา ได้เป็นผู้สนับสนุน การแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ที่ กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติ แปรอักษรเป็นรูปเครื่องหมายการค้าโคคา-โคลา และ ในปีเดียวกัน จึงได้เปิด โรงงานผลิตขอนแก่น ซึ่งถือว่า เป็นโรงงานต่างจังหวัดแห่งแรกของบริษัทฯ[1]
ปี 2512 บริษัทฯ ได้มีการย้ายโรงงาน และ สำนักงานใหญ่ มาที่โรงงานหัวหมาก เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจในเวลานั้น (ปัจจุบัน โรงงานหัวหมากเป็นเพียงสำนักงาน)[1]
ปี 2520 ได้มีการเปิด โรงงานผลิตที่ จังหวัดลำปาง เพื่อผลิตและจัดจำหน่าย ในพื้นที่ภาคเหนือ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 54 ไร่ โดยมีกำลัง การผลิต 100-150 ล้านลิตรต่อปี[1]
ปี 2524 บริษัทฯ ได้ทำการย้ายโรงงาน จากแต่เดิมที่ หัวหมาก มาตั้งอยู่ที่ จังหวัดปทุมธานี โดยเป็นโรงงานแรกๆ ในประเทศไทย ที่ใช้ระบบกำจัดน้ำเสียแบบ "อะนาโรบิค" โดยรองรับการผลิต ในเขตพื้นที่ภาคกลาง[1]
ปี 2529 บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่ม รายแรกของประเทศ ที่นำผลิตภัณฑ์แบบชนิดกระป๋อง (Steel Can) ออกวางจำหน่ายในประเทศไทย[1]
ในปี 2539 บริษัทฯ ได้เปิดโรงงานที่ รังสิต โดยเป็นโรงงานหลัก เพื่อผลิตและจัดจำหน่าย ในพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 205 ไร่[1] ก่อนที่อีกหนึ่งปีถัดมา จะย้ายที่ทำการสำนักงานใหญ่ มาตั้งที่ปัจจุบัน (สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต)
ในปี 2547 นับเป็นพระมหากรุณาที่คุณเป็นล้นพ้น จาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทาน ตราตั้งพระครุฑพ่าห์ นับเป็นเกียรติประวัติ สูงสุดของบริษัทฯ
ในปี 2550 บริษัทฯ ได้ทำการเปลื่ยนชื่อในภาษาอังกฤษ จาก Thai Pure Drinks Limited เป็น ThaiNamthip Limited พร้อมกันนี้ยังได้จัดตั้งมูลนิธิไทยน้ำทิพย์ เพื่อช่วยเหลือ และ บรรเทาทุกข์ของ พนักงานไทยน้ำทิพย์ อีกด้วย
การประกอบธุรกิจ
[แก้]บริษัทฯ ผลิต ผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ในชื่อของ โคคา-โคล่า (ยกเว้นพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ของไทย) ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ประกอบด้วย:[9]
- ผลิตภัณฑ์น้ำอัดลม (Sparkling Beverages)
- ผลิตภัณฑ์ non-carbonated (Still Beverages)
นอกเหนือจากนี้บริษัทฯ ยังถือหุ้นใน บริษัท ฝาจีบ จำกัด (มหาชน) ซึ่งผลิตและจำหน่าย ฝาสำหรับปิดผนึกภาชนะประเภทขวด[10]
อย่างไรก็ดี ทั้ง ไทยน้ำทิพย์ และ หาดทิพย์ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในชื่อของ โคคา-โคล่า เท่านั้น ในส่วนกิจกรรมการตลาด จะเป็น บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ โดยได้มีการรวมตัวกันเป็น กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 MILESTONES บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
- ↑ ติดต่อเรา (Contact Us) บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
- ↑ โค้ก ประเทศไทย คนขายไม่ได้มีแค่ ไทยน้ำทิพย์ Marketeer Online
- ↑ “พันตรี รักษ ปันยารชุน” นำเข้า “โค้ก” ให้ชาวไทยได้ลิ้มรสเป็นครั้งแรก และเปลี่ยนโลโก้เป็นสีเขียว" The People
- ↑ โคคา โคลามาถึงไทยแล้ว, หน้า 39 กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485- 2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
- ↑ พรรณี พุทธารี เจ้าที่ดินรายใหญ่ย่านบางกะปิ[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ
- ↑ สี่ตระกูลสำคัญในภูเก็ต เก็บถาวร 2020-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นิตยสารผู้จัดการ
- ↑ วรรณ ชันซื่อ ทำงานเงียบ ๆ รวยเงียบ ๆ[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ
- ↑ ภาพรวมขององค์กร เก็บถาวร 2019-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)
- ↑ สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน บริษัท ฝาจีบ จำกัด (มหาชน) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ http://www.thainamthip.co.th/company/group เก็บถาวร 2019-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย] บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด