ข้ามไปเนื้อหา

ไตลังเจีย

พิกัด: 2°56′49″S 48°57′10″W / 2.94694°S 48.95278°W / -2.94694; -48.95278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไตลังเจีย
เมือง
ใจกลางเมืองไตลังเจียขณะพระอาทิตย์ตก
ใจกลางเมืองไตลังเจียขณะพระอาทิตย์ตก
ไตลังเจียตั้งอยู่ในบราซิล
ไตลังเจีย
ไตลังเจีย
ที่ตั้งเมืองไตลังเจียในประเทศบราซิล
พิกัด: 2°56′49″S 48°57′10″W / 2.94694°S 48.95278°W / -2.94694; -48.95278
ประเทศ บราซิล
ภาคเหนือ
รัฐปารา
เขตพื้นที่ระดับกลางนอร์แดสชีปาราเองซี
เขตพื้นที่ระดับย่อยโตแม-อาซู
วันที่จัดตั้ง10 พฤษภาคม พ.ศ. 2532
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีโรซีเนย์ ปิงตู จี โซซา
(พ.ศ. 2556–2559)
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,430.222 ตร.กม. (1,710.518 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2553)
 • ทั้งหมด79,297 คน
 • ความหนาแน่น17.90 คน/ตร.กม. (46.4 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC -3

ไตลังเจีย (โปรตุเกส: Tailândia) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่งในรัฐปารา ทางตอนเหนือของประเทศบราซิล[1][2][3][4] ตั้งอยู่ห่างจากเบเล็ง เมืองหลวงของรัฐไปทางทิศใต้ประมาณ 260 กิโลเมตร จากการแบ่งภูมิภาคของสถาบันภูมิศาสตร์และสถิติศาสตร์บราซิล ไตลังเจียถือเป็นส่วนหนึ่งของเขตพื้นที่ระดับกลางนอร์แดสชีปาราเองซี (Mesorregião do Nordeste Paraense) และเป็นส่วนหนึ่งของเขตพื้นที่ระดับย่อยโตแม-อาซู (Microrregião de Tomé-açu) ทิศเหนือติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองอาการา ทิศตะวันออกติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองโตแม-อาซู ทิศใต้ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองอีปีชูนาดูปารา และทิศตะวันตกติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองโมฌู

เมืองไตลังเจียได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 โดยนำชื่อเรียกประเทศไทยในภาษาโปรตุเกส (ภาษาราชการของประเทศ) มาตั้งเป็นชื่อเมือง[5] เทศบาลมีพื้นที่การบริหารทั้งหมด 4,430.222 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรในความดูแล 79,297 คน (ณ พ.ศ. 2553)[6] ตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณชายขอบด้านทิศตะวันออกของป่าดิบชื้นแอมะซอน มีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกับประเทศไทย กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองนี้ได้แก่ อุตสาหกรรมป่าไม้ รวมทั้งการปลูกข้าว ถั่ว และถั่วเหลือง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Divisão Territorial do Brasil" (ภาษาโปรตุเกส). Divisão Territorial do Brasil e Limites Territoriais, Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística (IBGE). 1 กรกฎาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2009.
  2. "Estimativas da população para 1º de julho de 2009" (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Estimativas de População, Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística (IBGE). 14 สิงหาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2009.
  3. "Ranking decrescente do IDH-M dos municípios do Brasil" (ภาษาโปรตุเกส). Atlas do Desenvolvimento Humano, Programa das Nações Unidas para o Desenvolvimento (PNUD). 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2009.
  4. "Produto Interno Bruto dos Municípios 2002-2005" (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística (IBGE). 19 ธันวาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2009.
  5. 5.0 5.1 "ข่าวเด่น : เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลียให้การต้อนรับนาย Gilberto Sufredine นายกเทศมนตรีเมือง Tailandia รัฐปารา นาย Nilson Pinto สส.ประจำรัฐปารา และคณะ". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย. 16 พฤศจิกายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2013.
  6. "Cidades@: Tailândia". Instituto Brasileiro de Geografia e Estatística.