ข้ามไปเนื้อหา

ได้ง์คีนคีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ได้ง์คีนคีน
ဒိုင်းခင်ခင်
เกิดคีนคีนจี้
ป. ค.ศ. 1863
ราชวงศ์โก้นบอง
เสียชีวิตเมษายน ค.ศ. 1882
ชื่ออื่นมิคีนจี้
มีชื่อเสียงจากสนมของพระเจ้าสีป่อ
บิดามารดาขุนนางแห่งกะนี (พ่อ)
ได้ง์หวุ่น มิ่นจี้ อู้โบจี้ (พ่อบุญธรรม)
ได้ง์หวุ่น มิ่นจี้ กะดอว์ (แม่บุญธรรม)

ได้ง์คีนคีน (พม่า: ဒိုင်းခင်ခင်; ชื่อเกิด คีนคีนจี้, ราว ค.ศ. 1863 – เมษายน ค.ศ. 1882) หรือที่รู้จักในชื่อ มิคีนจี้ (พม่า: မိခင်ကြီး)[1] เป็นหญิงสูงศักดิ์และสนมของพระเจ้าสีป่อ กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โก้นบอง เธอกลายเป็นบุคคลสำคัญในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันโด่งดังของพม่า ที่บรรยายถึงความพยายามของพระมเหสีเพื่อให้มั่นใจว่ากษัตริย์ซึ่งมีอำนาจสูงสุดยังคงซื่อสัตย์[2]

พระเจ้าสีป่อได้ให้สัญญาอย่างจริงจังว่าจะสมรสกับเธอเพื่อให้เธอปลอดภัยภายในพระราชวัง และจะมอบตำแหน่งพระมเหสีวังเหนือให้กับเธอ พระองค์สาบานว่าหากผิดสัญญา พระองค์จะสูญสิ้นราชบัลลังก์ ซึ่งอาจนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ได้ กษัตริย์ไม่ทำตามสัญญา และได้ง์คีนคีนถูกประหารชีวิตโดยพระนางศุภยาลัตในขณะที่เธอตั้งครรภ์

ภูมิหลัง

[แก้]

ได้ง์คีนคีนเกิดในตระกูลขุนนาง เป็นบุตรสาวของขุนนางและภริยาแห่งกะนี ต่อมาเธอได้รับการรับเลี้ยงโดย ได้ง์หวุ่น มิ่นจี้ อู้โบจี้ และภรรยาของเขา ได้ง์หวุ่น มิ่นจี้ กะดอว์ ซึ่งเป็นน้องสาวของขุนนางแห่งกะนี การรับเลี้ยงเกิดขึ้นเนื่องจาก ได้ง์หวุ่น มิ่นจี้ และ ได้ง์หวุ่น มิ่นจี้ กะดอว์ ไม่สามารถมีบุตรได้ ได้ง์คีนคีนมีเชื้อสายฝั่งพ่อจากปู่ของเธอ ค่านบะ มิ่นจี้ (ခန်းပတ်မင်းကြီး) ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดีแห่งค่านบะ การเสนอชื่อจาก มองเพเง (မောင်ဖေငယ်) เพื่อนในวัยเด็กของเธอที่พระราชวัง เธอจึงได้กลายมาเป็นข้ารับใช้ของพระนางศุภยาลัต

ชีวิตกับพระเจ้าสีป่อ

[แก้]

มองเพเง และมองมองโตะ (မောင်မောင်တုတ်) ดำรงตำแหน่งสูงได้รับความไว้วางพระทัยอย่างมากในราชสำนักของพระเจ้าสีป่อ ในความพยายามที่จะชนะใจกษัตริย์ มองมองโตะ ซึ่งต่อมากลายเป็นเจ้าเมืองยะนอง ได้แนะนำได้ง์คีนคีนวัย 17 ปี ให้กับพระเจ้าสีป่อในเดือนกันยายน ค.ศ. 1880 ไม่นานหลังจากที่พระธิดาคนแรกของพระเจ้าสีป่อกับพระนางศุภยาลัตพระราชสมภพ[1] ภายหลังการแนะนำตัวนี้ พระเจ้าสีป่อแสดงความประสงค์ที่จะสมรสกับได้ง์คีนคีน โดยยังคงปกปิดเจตนาของพระองค์ไว้ แม้ว่าเธอจะตั้งครรภ์ลูกคนที่สองก็ตาม[1] มองเพเง ยังมีความรักต่อได้ง์คีนคีน ซึ่งเป็นความลับ และแม้ว่าพ่อแม่ของเธอจะยินยอมให้แต่งงานกันในตอนแรก แต่คำสั่งของพระเจ้าสีป่อทำให้ มองเพเง ช่วยจัดการความสัมพันธ์กับได้ง์คีนคีน

ในที่สุดพระนางศุภยาลัตก็รับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากคำแนะนำของมองมองโตะ พระเจ้าสีป่อก็เพิกเฉยต่อคำคัดค้านของพระมเหสี และเปิดเผยความตั้งใจที่จะสมรสกับได้ง์คีนคีน โดยจะมอบตำแหน่งอันทรงเกียรติแก่เธอว่าพระมเหสีวังเหนือ การเปิดเผยนี้ทำให้พระนางศุภยาลัตพิโรธมาก พระองค์ต้องการความสัมพันธ์แบบสามีภริยาเดียว และมองว่านี่เป็นครั้งแรกที่กษัตริย์ขัดแย้งพระประสงค์ของพระองค์[1]

หลังจากนั้นไม่นาน มองมองโตะ มองเพเง ได้ง์คีนคีนและครอบครัวของเธอถูกจับกุมตามคำสั่งของสภาลุตตอ โดยถูกตั้งข้อหาที่เกี่ยวข้องกับแผนการยึดราชบัลลังก์ มองมองโตะฆ่าตัวตาย และ มองเพเง ถูกส่งไปที่บะมอและถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิตใน เมษายน ค.ศ. 1882 เขาแสดงความรักต่อได้ง์คีนคีนผ่านบทกวีจากใจจริง โดยขอร้องให้เธอช่วยทำพิธีศพให้เขา น่าเสียดายที่ในเวลานั้น ได้ง์คีนคีนเสียชีวิตไปแล้วจากน้ำมือของเพชฌฆาต แม้เธอจะตั้งครรภ์บุตรของพระเจ้าสีป่อก็ตาม[1] กินหวุ่นมิ่นจี้ อูกาวง์ ได้ร้องขอความเมตตาจากพระนางศุภยาลัต โดยอ้างว่าอาณาจักรจะล่มสลายถ้าหากลูกชายคนเดียวของกษัตริย์ถูกสังหาร แต่พระนางก็ยังคงไม่สะทกสะท้าน เหตุการณ์ครั้งนี้ในประวัติศาสตร์พม่า ทำให้พระนางศุภยาลัตเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ที่สุดในประวัติศาสตร์พม่าในด้านความโหดร้ายของพระองค์

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ได้ง์คีนคีน เป็นหัวข้อของนวนิยายชื่อดัง ได้ง์คีนคีน ของ Seint ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1976[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Shah, Sudha (2014-06-05). The King in Exile (ภาษาอังกฤษ). HarperCollins Publishers India. ISBN 9789351365853.
  2. "ပဒေသရာဇ်ခြေတော်တင် ပါရမီရှင်အမျိုးသမီးတဦး". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-01-29. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.
  3. Than Htut (2013). "Some Myanmar Historical Fiction and Their Historical Context". Manusya: Journal of Humanities. 6: 101–102.