ข้ามไปเนื้อหา

ไดอะไนซัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไดโอนิซัส)
ไดโอนีซัส
เทพเจ้าแห่งไวน์ เทศกาลรื่นเริง การละครและปีติสานติ์
รูปปั้นไดอะไนซัสแบบโรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2 ตามแบบเฮลเลนนิสติก (ex-coll. Cardinal Richelieu, Louvre)
ที่ประทับยอดเขาโอลิมปัส
สัญลักษณ์ช่อกระจุกแยกแขนง เถาองุ่น หนังเสือดาว เสือดำ แพนเธอร์ เสือ เสือดาว
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองแอรีแอดนี
บิดา-มารดาซูสและซีมีลี
พี่น้องแอรีส, อธีนา, อพอลโล, อาร์ทิมิส, แอโฟรไดที, ฮีบี, เฮอร์มีส, เฮราคลีส, เฮเลนแห่งทรอย, ฮิฟีสตัส, เพอร์ซิอัส, ไมนอส, มิวส์, ชาริทีส
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น
เทียบเท่าในโรมันแบคัส, ลิเบอร์

ไดอะไนซัส (อังกฤษ: Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; กรีกโบราณ: Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี[1] แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1,500–1,100 ปีก่อน ค.ศ. ร่องรอยลัทธิประเภทไดอะไนเซียพบได้ในอารยธรรมไมนวนบนเกาะครีต[2] จุดกำเนิดของพระองค์นั้นไม่แน่ชัด และลัทธิของพระองค์มีหลายรูปแบบ แหล่งข้อมูลโบราณบางแหล่งอธิบายว่าเป็นของชาวเทรซ บางแหล่งก็อธิบายว่าเป็นของชาวกรีก[3][4][5] ในบางลัทธิ พระองค์มาจากทางตะวันออก โดยเป็นพระเจ้าเอเชีย ในลัทธิอื่น พระองค์มาจากเอธิโอเปียทางใต้ พระองค์เป็นเทพเจ้าแห่งการสำแดงอย่างเทพเจ้า (epiphany) และ "ความเป็นต่างประเทศ" ของพระองค์ที่เป็นพระเจ้าที่มาจากต่างแดนอาจสืบทอดและสำคัญต่อลัทธิของพระองค์ พระองค์เป็นพระเจ้าหลักและได้รับความนิยมในเทพปกรณัมและศาสนากรีก และรวมอยู่ในรายพระนามเทวสภาโอลิมปัสบ้าง ไดอะไนซัสเป็นพระเจ้าพระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับเข้าสู่ยอดเขาโอลิมปัส พระองค์เป็นพระเจ้าองค์ที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดและเป็นพระองค์เดียวที่ประสูติแก่มารดาที่เป็นมนุษย์[6] เทศกาลของพระองค์เป็นแรงผลักดันเบื้องหลังการพัฒนาการละครกรีก พระองค์เป็นตัวอย่างของพระเจ้าที่กำลังสวรรคต (dying god)[7][8]

พระองค์มีอีกพระนามหนึ่งว่า แบคัส (อังกฤษ: Bacchus, /ˈbækəs/ หรือ /ˈbɑːkəs/; กรีก: Βάκχος, Bakkhos) ซึ่งเป็นพระนามที่ชาวโรมันรับไป[9] ช่อกระจุกแยกแขนง (thyrsus) ของพระองค์บางครั้งมีเถาไม้เลื้อยพันและมีน้ำผึ้งไหลเป็นหยด ซึ่งเป็นไม้ถือที่มีประโยชน์ แต่ยังเป็นอาวุธได้ด้วย และสามารถใช้ทำลายผู้ที่ต่อต้านลัทธิของพระองค์และเสรีภาพซึ่งพระองค์เป็นตัวแทน พระองค์ยังทรงถูกเรียกว่า ผู้ปลดปล่อย (Liberator) ที่ปลดปล่อยส่วนลึกของตนเองโดยทำให้คลั่ง หรือให้มีความสุขอย่างล้นเหลือ หรือด้วยเหล้าองุ่น[10] หน้าที่ของไดอะไนซัสคือเป็นผู้สร้างดนตรีออโลส (aulos) และยุติความกังวล[11] นักวิชาการถกกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไดอะไนซัสกับ “คตินิยมเกี่ยวกับวิญญาณ” และความสามารถในการติดต่อระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่และผู้ที่ตายไปแล้ว[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Raymoure, K.A. (November 2, 2012). "Khania Linear B Transliterations". Minoan Linear A & Mycenaean Linear B. Deaditerranean. "Possible evidence of human sacrifice at Minoan Chania". Archaeology News Network. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-20. Raymoure, K.A. "Khania KH Gq Linear B Series". Minoan Linear A & Mycenaean Linear B. Deaditerranean. "KH 5 Gq (1)". DĀMOS: Database of Mycenaean at Oslo. University of Oslo.
  2. Kerenyi 1976.
  3. Thomas McEvilley, The Shape of Ancient Thought, Allsworth press, 2002, pp. 118–121. Google Books preview
  4. Reginald Pepys Winnington-Ingram, Sophocles: an interpretation, Cambridge University Press, 1980, p.109 Google Books preview
  5. Zofia H. Archibald, in Gocha R. Tsetskhladze (Ed.) Ancient Greeks west and east, Brill, 1999, p.429 ff.Google Books preview
  6. Sacks, David; Murray, Oswyn; Brody, Lisa R. (2009-01-01). Encyclopedia of the Ancient Greek World. Infobase Publishing. ISBN 9781438110202. สืบค้นเมื่อ 20 April 2013.
  7. Dionysus, greekmythology.com
  8. Burkert, Walter, Greek Religion, 1985 pp. 64, 132
  9. In Greek "both votary and god are called Bacchus". Burkert, Greek Religion 1985:162. For the initiate as Bacchus, see Euripides, Bacchantes 491. For the god, who alone is Dionysus, see Sophocles, Oedipus the King 211 and Euripides, Hippolytus 560.
  10. Sutton, p.2, mentions Dionysus as The Liberator in relation to the City Dionysia festivals.
  11. Fox, p.221, "The divine mission of Dionysus was to mingle the music of the flute and to bring surcease to care"; Fox then cites Euripides as a direct source for this statement. Euripides, Bacchae, Choral II, lines 379-381: "[370] Holiness, queen of the gods, Holiness, who bear your golden wings along the earth, do you hear these words from Pentheus? Do you hear his unholy [375] insolence against Bromius, the child of Semele, the first deity of the gods at the banquets where guests wear beautiful garlands? He holds this office, to join in dances, [380] to laugh with the flute, and to bring an end to cares, whenever the delight of the grape comes at the feasts of the gods, and in ivy-bearing banquets [385] the goblet sheds sleep over men." [1]
  12. Riu, Xavier, Dionysism and Comedy, Chapter 4, Happiness and the Dead, p.105, "Dionysus presides over communications with the Dead".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ไดอะไนซัส