ข้ามไปเนื้อหา

ขบวนการไซออนิสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไซออนนิสต์)
ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ ผู้นำลัทธิไซออน
อาณาเขตของมณฑลซีเรียปาเลสตีนาของจักรวรรดิโรมัน[a]

ขบวนการไซออนิสต์ (อังกฤษ: Zionism; ฮีบรู: צִיּוֹנוּתTsiyyonut) เป็นทั้งอุดมการณ์[2] และขบวนการชาตินิยม[3] ในหมู่ชาวยิวทั้งที่เชื่อในการสถาปนาใหม่และสนับสนุน[4] รัฐยิวในบริเวณที่นิยามว่าเป็นแผ่นดินอิสราเอลในประวัติศาสตร์ (โดยประมาณตรงกับคานาอัน แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ หรือภูมิภาคปาเลสไตน์)[5][6] ขบวนการไซออนิสต์สมัยใหม่เกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเป็นขบวนการฟื้นฟูชาติ ทั้งเป็นปฏิกิริยาต่อความเกลียดกลัวยิวที่เกิดเป็นระลอก และยุคภูมิธรรมยิว (Haskalah)[7][8][9] ไม่นานหลังจากนั้น ผู้นำขบวนการส่วนใหญ่ตั้งเป้าหมายหลักคือการสร้างรัฐในปาเลสไตน์ ซึ่งในเวลานั้นอยู่ในการควบคุมของจักรวรรดิออตโตมัน[10][11][12]

จนถึงปี 1948 เป้าหมายหลักของนักขบวนการไซออนิสต์คือการสถาปนาเอกราชยิวใหม่ในแผ่นดินอิสราเอล รวบรวมผู้ถูกเนรเทศ และปลดปล่อยยิวจากการเลือกปฏิบัติเกลียดกลัวยิว และการบีฑาต่าง ๆ ที่ประสบ นับแต่การสถาปนารัฐอิสราเอลในปี 1948 ขบวนการไซออนิสต์ยังส่งเสริมในนามของอิสราเอลเป็นหลัก และจัดการกับภัยคุกคามการอยู่รอดและความมั่นคงของรัฐนั้น

คำว่า "ไซออนิสต์" มาจากคำว่าไซออน ซึ่งหมายถึงนครเยรูซาเล็ม

ภาพรวม

[แก้]

ลักษณะร่วมของนักขบวนการไซออนิสต์ทุกประเภทคือการอ้างแผ่นดินอิสราเอลเป็นมาตุภูมิแห่งชาติของยิวและเป็นความมุ่งสนใจโดยชอบของการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของชาติยิว โดยตั้งอยู่บนพันธะทางประวัติศาสตร์และประเพณีศาสนาที่เชื่อมโยงชาวยิวกับแผ่นดินอิสราเอล นักขบวนการไซออนิสต์ไม่ได้มีอุดมการณ์แบบเดียวกันทุกคน แต่มีวิวัฒนาการในคำโต้ตอบในบรรดาอุดมการณ์ต่าง ๆ เช่น ไซออนิสต์ทั่วไป ไซออนิสต์ศาสนา ไซออนิสต์แรงงาน ไซออนิสต์แก้ ไซออนิสต์เขียว เป็นต้น

หลังยิวได้กระจัดกระจายออกจากมาตุภูมิเกือบสองสหัสวรรษ อยู่ตามประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีรัฐชาติของตน ขบวนการไซออนิสต์ก่อตั้งขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยยิวฆราวาส ส่วนใหญ่เป็นการตอบสนองของชาวยิวอัชเคนาซิต่อการต่อต้านยิวที่เพิ่มขึ้นในทวีปยุโรป ขบวนการทางการเมืองนี้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรีย-ฮังการี ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์ ในปี 1897 ขณะนั้นขบวนการดังกล่าวส่งเสริมให้ยิวอพยพไปยังปาเลสไตน์ของออตโตมัน

สมาชิกสร้างพันธมิตรกับบริเตนใหญ่และได้รับการสนับสนุนอยู่บ้างในการอพยพยิวเข้าสู่ปาเลสไตน์ สมาชิกยังกะเกณฑ์ยิวในยุโรปให้เข้าเมืองที่นั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจักรวรรดิรัสเซียที่ความเกลียดชังยิวดำเนินไปอย่างรุนแรง พันธมิตรกับบริเตนเสื่อมลงหลังบริเตนทราบเจตนาของขบวนการยิวต่อชาวอาหรับในปาเลสไตน์ แต่การดำเนินการยังดำเนินต่อไป ขบวนการดังกล่าวประสบความสำเร็จในกาสถาปนารัฐอิสราเอลในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 เป็นมาตุภูมิของชาวยิว สัดส่วนชาวยิวของโลกที่อาศัยอยู่ในอิสราเอลเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ขบวนการนี้ถือกำเนิดขึ้น

ภูมิหลัง

[แก้]
ประชากรในภูมิภาคปาเลสไตน์ จำแนกตามศาสนาต่าง ๆ ไม่นับคนเร่ร่อน[13]
ปี มุสลิม ชาวยิว คริสเตียน อื่นๆ รวม
1922 486,177 (74.91%) 83,790 (12.91%) 71,464 (11.01%) 7,617 (1.17%) 649,048
1931 493,147 (64.32%) 174,606 (22.77%) 88,907 (11.60%) 10,101 (1.32%) 766,761
1941 906,551 (59.68%) 474,102 (31.21%) 125,413 (8.26%) 12,881 (0.85%) 1,518,947
1946 1,076,783 (58.34%) 608,225 (32.96%) 145,063 (7.86%) 15,488 (0.84%) 1,845,559

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. วัฒนธรรมแบบ "ปาเลสไตน์" ปัจจุบันที่เป็นชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นเกิดขึ้นในภายหลัง ชื่อปาเลสไตน์เป็นคำเรียกดินแดนบริเวณนี้มาแต่สมัยกรีกโบราณ ประมาณการของ Sergio Della Pergola (2001) ระบุว่ายิวเป็นคนส่วนใหญ่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 คริสต์ศาสนิกชนเป็นประชากรส่วนใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และมุสลิมค่อยมาเป็นประชากรส่วนใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12[1] อาหรับค่อยเข้ามาในสมัยกลาง และเพิ่มมากขึ้นในสมัยออตโตมันตอนปลาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pergola, Sergio della (2001). "Demography in Israel/Palestine: Trends, Prospects, Policy Implications" (PDF). Semantic Scholar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-20. สืบค้นเมื่อ 2020-09-01.
  2. ดู:
  3. ดู:
  4. "What's the difference between anti-Semitism and anti-Zionism?". BBC. 29 April 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2019. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
  5. Motyl 2001, pp. 604.
  6. Herzl, Theodor (1988) [1896]. "Biography, by Alex Bein". Der Judenstaat [The Jewish state]. แปลโดย Sylvie d'Avigdor (republication ed.). New York: Courier Dover. p. 40. ISBN 978-0-486-25849-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2014. สืบค้นเมื่อ September 28, 2010.
  7. Ben-Ami Shillony (January 24, 2012). Jews & the Japanese: The Successful Outsiders. Tuttle Publishing. p. 88. ISBN 978-1-4629-0396-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2018. สืบค้นเมื่อ November 21, 2017. (Zionism) arose in response to and in imitation of the current national movements of Central, Southern, and Eastern Europe.
  8. LeVine, Mark; Mossberg, Mathias (2014). One Land, Two States: Israel and Palestine as Parallel States. University of California Press. p. 211. ISBN 978-0-520-95840-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2016. สืบค้นเมื่อ March 16, 2016. The parents of Zionism were not Judaism and tradition, but antiSemitism and nationalism. The ideals of the French Revolution spread slowly across Europe, finally reaching the Pale of Settlement in the Russian Empire and helping to set off the Haskalah, or Jewish Enlightenment. This engendered a permanent split in the Jewish world, between those who held to a halachic or religious-centric vision of their identity and those who adopted in part the racial rhetoric of the time and made the Jewish people into a nation. This was helped along by the wave of pogroms in Eastern Europe that set two million Jews to flight; most wound up in America, but some chose Palestine. A driving force behind this was the Hovevei Zion movement, which worked from 1882 to develop a Hebrew identity that was distinct from Judaism as a religion.
  9. Gelvin, James L. (January 13, 2014). The Israel-Palestine Conflict: One Hundred Years of War. Cambridge University Press. p. 93. ISBN 978-1-107-47077-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2016. สืบค้นเมื่อ March 16, 2016. The fact that Palestinian nationalism developed later than Zionism and indeed in response to it does not in any way diminish the legitimacy of Palestinian nationalism or make it less valid than Zionism. All nationalisms arise in opposition to some "other". Why else would there be the need to specify who you are? And all nationalisms are defined by what they oppose. As we have seen, Zionism itself arose in reaction to anti-Semitic and exclusionary nationalist movements in Europe. It would be perverse to judge Zionism as somehow less valid than European anti-Semitism or those nationalisms. Furthermore, Zionism itself was also defined by its opposition to the indigenous Palestinian inhabitants of the region. Both the "conquest of land" and the "conquest of labor" slogans that became central to the dominant strain of Zionism in the Yishuv originated as a result of the Zionist confrontation with the Palestinian "other".
  10. Cohen, Robin (1995). The Cambridge Survey of World Migration. Cambridge University Press. p. 504. ISBN 9780521444057. Zionism Colonize palestine.
  11. Gelvin, James (2007). The Israel–Palestine Conflict: One Hundred Years of War (2nd ed.). Cambridge University Press. p. 51. ISBN 978-0521888356. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2017. สืบค้นเมื่อ February 19, 2016.
  12. Ilan Pappe, The Ethnic Cleansing of Palestine, 2006, p.10–11
  13. unispal (September 3, 1947). "UNSCOP Report to the General Assembly, Volume 1, Chapter II, Par. A., 12 (doc.nr. A/364)". United Nations Special Committee on Palestine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2013. สืบค้นเมื่อ May 2, 2012.

บรรณานุกรม

[แก้]
ข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลทุติยภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]