ข้ามไปเนื้อหา

ไกวเฟนิซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไกวเฟนิซิน
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียง/ɡwˈfɛnɪsɪn/[1]
ชื่อทางการค้ามิวซิเน็กซ์เป็นต้น
ชื่ออื่นGlyceryl guaiacolate
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682494
ข้อมูลทะเบียนยา
ช่องทางการรับยารับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงยาไต
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ1–5 ชม.[2]
ตัวบ่งชี้
  • (RS) -3-(2-methoxyphenoxy) propane-1,2-diol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEMBL
ECHA InfoCard100.002.021
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC10H14O4
มวลต่อโมล198.218 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ไครัลลิตีRacemic mixture
  • O(c1ccccc1OC)CC(O)CO
  • InChI=1S/C10H14O4/c1-13-9-4-2-3-5-10(9)14-7-8(12)6-11/h2-5,8,11-12H,6-7H2,1H3 checkY
  • Key:HSRJKNPTNIJEKV-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ไกวเฟนิซิน[3] หรือ ไกวเฟเนซิน[4] (guaifenesin หรือ glyceryl guaiacolate) เป็นยากินขับเสมหะ จำหน่ายเป็นตัวช่วยขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจ มีโครงสร้างทางเคมีเป็นอีเทอร์ของไกวอะคอล (guaiacol) กับกลีเซอรีน อาจใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้[5] การศึกษาในปี 2014 พบว่ายาไม่มีผลต่อการผลิตหรือการกำจัดเสมหะเมื่อติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (รวมอวัยวะต่าง เหนือปอด)[6][7]

ผลข้างเคียงอาจรวมอาการวิงเวียน ง่วงนอน ผื่นที่ผิวหนัง และคลื่นไส้[5] แม้จะยังไม่มีการศึกษาที่เหมาะสมกับหญิงมีครรภ์ แต่ก็ดูปลอดภัย[8] เชื่อว่ายานี้ออกฤทธิ์โดยละลายสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ[5]

ยาได้ใช้ในการแพทย์มาตั้งแต่อย่างช้าปี 1933[9] มีจำหน่ายเป็นยาสามัญและยาที่ขายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์[5][8] ในปี 2021 เป็นยาที่แพทย์จ่ายบ่อยเป็นอันดับที่ 288 ในสหรัฐอเมริกา คือมากกว่า 600,000 ครั้ง[10][11]

ทางการแพทย์

[แก้]

ยาใช้ขับเสมหะที่เหนียวข้น และบางครั้งจะผสมกับยาแก้ไอ เดกซ์โทรเมทอร์แฟน เช่น ในยามิวซิเน็กซ์ ดีเอ็ม หรือโรบิทัสซิน ดีเอ็ม[12] อนึ่ง ยังผสมกับเอฟิดรีนในยาเม็ด Primatene และ Bronkaid สำหรับบรรเทาอาการหอบหืด และผสมกับ phenylephrine (เป็นยาลดน้ำมูก) และพาราเซตามอล ในยา เลมซิพ บางสูตร[13]

การทบทวนแบบคอเคลนได้ระบุการทดลองทางคลินิก 3 งานที่ประเมินผลของไกวเฟเนซินในการรักษาอาการไอเฉียบพลัน การทดลองงานหนึ่งพบว่ามีประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญ แต่อีก 2 งานพบว่าไม่มีประสิทธิผล[14]

ผลข้างเคียง

[แก้]

แม้ปกติคนไข้จะอดทนรับยาได้ แต่ผลข้างเคียงของยาอาจรวมถึงอาการแพ้ (มีน้อย) คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว หรือปวดหัว[15][16]

เภสัชวิทยา

[แก้]

กลไกการออกฤทธิ์

[แก้]

ยาอาจออกฤทธิ์ขับเสมหะโดยเพิ่มปริมาณและลดความหนืดของสารคัดหลั่งในท่อลม (trachea) และหลอดลม (bronchi) อาจช่วยการไหลของสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ คือช่วยให้ขนเซลล์ (ciliar) สามารถนำสารคัดหลั่งที่ไม่เหนียวขึ้นสู่คอหอย[17] ดังนั้น จึงอาจเพิ่มประสิทธิภาพของรีเฟล็กซ์การไอและช่วยขับสารคัดหลั่งออก

ประวัติ

[แก้]

ยาที่คล้ายคลึงกันซึ่งสกัดจากต้นไกวแอก (Guaiacum ไกวอะคัม) ได้ใช้เป็นยารักษาโรคทั่วไปโดยชนพื้นเมืองอเมริกัน เมื่อชาวยุโรปเดินทางมาถึงทวีปอเมริกาเหนือในศตวรรษที่ 16 ส่วนชาวสเปนพบไม้ไกวแอก "เมื่อพวกเขาพิชิตเกาะฮิสปันโยลา และไม่นานหลังจากนั้นก็นำกลับไปยังยุโรป ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ 16 โดยใช้รักษาโรคซิฟิลิสและโรคอื่น ๆ บางชนิด..."[18]

ตำราเภสัชเวทฉบับปี 1955 (Textbook of Pharmacognosy) ระบุว่า "ไกวอะคัมมีฤทธิ์กระตุ้นเฉพาะที่ซึ่งบางครั้งมีประโยชน์สำหรับอาการเจ็บคอ ยางไม้ใช้สำหรับโรคเกาต์เรื้อรังและโรครูมาติสซึม ในขณะที่เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนผสมในสารละลายเข้มข้นผสมของเครื่องดื่มซาร์ซาพาริลา ซึ่งแต่เดิมใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคซิฟิลิส"[18]

ในสหรัฐอเมริกา ยาได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เป็นครั้งแรกในปี 1952 แต่ยานี้ก็ได้รับอนุมัติให้เป็นยาใหม่ในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้นานเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2002[19] เอฟดีเอจึงออกจดหมายถึงผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่ผลิตยาชนิดออกฤทธิ์นานให้หยุดขายผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้อนุมัติ ส่งผลให้บริษัทผู้ได้อนุมัติคลองตลาดได้แต่เพียงผู้เดียว[20][21] ปัจจุบันยานี้ขายแบบไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ทั้งเป็นยาเดี่ยวและยาผสม[22]

สังคมและวัฒนธรรม

[แก้]

โรคไฟโบรไมอัลเจีย

[แก้]

ในทศวรรษ 1990 นายแพทย์พอล เซนต์ อแมนด์ เสนอไกวเฟเนซินเป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอลรักษาโรคไฟโบรไมอัลเจีย แต่ผลการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มเป็นเวลาหนึ่งปีในปี 1996 กลับไม่สนับสนุนสมมติฐานดังกล่าว จนถึงปี 2015 FDA ก็ยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้ยารักษาโรคนี้[23] อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาปี 2017 แบบมีหลายศูนย์ ควบคุมด้วยยาหลอก ให้ยาซ้ำ แบบขนาน ในผู้ใหญ่ 77 คนที่สุ่มเลือก ชี้ว่า ไกวเฟเนซินชนิดรับประทานขนาด 1,200 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน ที่ขายโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ อาจมีศักยภาพบรรเทาอาการปวดกระดูกกล้ามเนื้อและอาการกระตุกที่หลังส่วนบน[24]

ยาผสม

[แก้]

ไกวเฟเนซินเป็นยากิน[5] มีจำหน่ายเป็นยาเม็ด แคปซูล ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน ยาเม็ดชนิดละลาย และน้ำเชื่อม[16] มีจำหน่ายหลายยี่ห้อ ทั้งที่เป็นยาเดี่ยวยาผสม[16] ยาผสมที่ขายโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ รวมถึงยาแก้ไอเดกซ์โทรเมทอร์แฟน ยาแก้ปวดเช่นพาราเซตามอล และยาลดน้ำมูก เช่น เอฟิดรีน ซูโดอีเฟดรีน หรือฟีนิลเอฟรีน (phenylephrine)[16]

ทางสัตวแพทย์

[แก้]

ฤทธิ์ต่อระบบประสาทของยาเริ่มปรากฏในช่วงปลายทศวรรษ 1940 เป็นยาคลายกล้ามเนื้อที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งใช้เป็นประจำทางสัตวแพทย์ในการผ่าตัดสัตว์ขนาดใหญ่ และใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ เช่น เคตามีน เพราะไกวเฟเนซินไม่มีฤทธิ์ระงับปวดหรือทำให้หมดสติ[25][26] ในม้า ยานี้มีค่าครึ่งชีวิตทางชีวภาพที่ 77 นาที การให้ยาไซลาซีน (xylazine 1.1 มก./กก.) ก่อนสามารถลดขนาดยาที่ต้องใช้จาก 163 มก./กก. (ในม้าตัวผู้ตอน) เหลือเพียง 88 มก./กก.[26]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Guaifenesin Definition & Meaning". Merriam-Webster.
  2. Aluri, JB; Stavchansky, S (1993). "Determination of guaifenesin in human plasma by liquid chromatography in the presence of pseudoephedrine". J Pharm Biomed Anal. 11 (9): 803–808. doi:10.1016/0731-7085(93)80072-9. PMID 8218524.
  3. "Codeine and Guaifenesin". ร.พ.ศรีสังวรสุโขทัย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-11-12. สืบค้นเมื่อ 2024-11-11.
  4. "GUAIFENESIN 200 mg tablet (GENESIN)". กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-11-11. สืบค้นเมื่อ 2024-11-11.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Guaifenesin: Monograph for Professionals". Drugs.com, American Society of Health-System Pharmacists. 2023-01-23. สืบค้นเมื่อ 2023-07-30.
  6. Hoffer-Schaefer, A; Rozycki, HJ; Yopp, MA; Rubin, BK (May 2014). "Guaifenesin has no effect on sputum volume or sputum properties in adolescents and adults with acute respiratory tract infections". Respiratory Care. 59 (5): 631–636. doi:10.4187/respcare.02640. PMID 24003241.
  7. O'Connell, OJ (May 2014). "Is extended-release guaifenesin no better than a placebo?". Respir Care. 59 (5): 788–9. doi:10.4187/respcare.03319. PMID 24789023.
  8. 8.0 8.1 Weiner, CP; Rope, K (2013). The Complete Guide to Medications During Pregnancy and Breastfeeding: Everything You Need to Know to Make the Best Choices for You and Your Baby (ภาษาอังกฤษ). St. Martin's Press. p. PT282. ISBN 9781250037206.
  9. Riviere, JE; Papich, MG (2013). Veterinary Pharmacology and Therapeutics. John Wiley & Sons. p. 287. ISBN 9781118685907.
  10. "The Top 300 of 2021". ClinCalc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-15. สืบค้นเมื่อ 2024-01-14.
  11. "Guaifenesin – Drug Usage Statistics". ClinCalc. สืบค้นเมื่อ 2024-01-14.
  12. "Guaifenesin DM". WebMD.com.
  13. "Lemsip Max All in One". LemsipUK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-04.
  14. Smith, SM; Schroeder, K; Fahey, T (November 2014). "Over-the-counter (OTC) medications for acute cough in children and adults in community settings". Cochrane Database Syst Rev. 2014 (11): CD001831. doi:10.1002/14651858.CD001831.pub5. PMC 7061814. PMID 25420096.
  15. "Guaifenesin Side Effects". Drugs.com. 2023-07-03. สืบค้นเมื่อ 2023-07-30.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 "Guaifenesin". MedlinePlus, United States National Library of Medicine. 2022-01-15. สืบค้นเมื่อ 2023-07-30.
  17. Gutierrez, K (2007). Pharmacotherapeutics: clinical reasoning in primary care. St. Louis, Mo: Saunders Elsevier. ISBN 978-1-4160-3287-8.
  18. 18.0 18.1 Wallis, TE (1955). Textbook of Pharmacognosy.
  19. "Drug Approval Package: Mucinex (Guaifenesin) NDA #21-282". accessdata.fda.gov. 2002-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  20. "Announcements RB Press release - 10/12/2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
  21. Goldstein, J (2007-05-25). "FDA Bumps Phlegm-Fighters From Market". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2010-11-16.
  22. "Guaifenesin (Oral Route) Description and Brand Names". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 2021-07-27.
  23. "Table 1, FDA-approved drugs for the treatment of fibromyalgia". January 2015.
  24. Collaku, A; Yue, Y; Reed, K (2017). "Efficacy and safety of guaifenesin for upper back, neck, and shoulder pain: a Phase II proof-of-concept, multicenter, placebo-controlled, repeat-dose, parallel-group study". Journal of Pain Research. 10: 669–678. doi:10.2147/JPR.S126296. PMC 5367561. PMID 28356767.
  25. Tranquilli, WJ; Thurmon, JC; Grimm, KA, บ.ก. (2007). "Centrally Acting Muscle Relaxants". Lumb and Jones' Veterinary Anesthesia and Analgesia (2nd ed.). Blackwell Publishing.
  26. 26.0 26.1 Valverde, A (Apr 2013). "Balanced anesthesia and constant-rate infusions in horses". Vet Clin North Am Equine Pract. 29 (1): 89–122. doi:10.1016/j.cveq.2012.11.004. PMID 23498047.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]