ข้ามไปเนื้อหา

ไกลโฟเสต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไกลโฟเซต
ชื่อ
IUPAC name
N-(phosphonomethyl)glycine
ชื่ออื่น
2-[(phosphonomethyl)amino]acetic acid
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.012.726 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
RTECS number
  • MC1075000
  • InChI=1/C3H8NO5P/c5-3(6)1-4-2-10(7,8)9/h4H,1-2H2,(H,5,6)(H2,7,8,9​)
  • C(C(=O)O)NCP(=O)(O)O
คุณสมบัติ
C3H8NO5P
มวลโมเลกุล 169.073 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ ผงผลึกสีขาว
ความหนาแน่น 1.704 (20 °C)
จุดหลอมเหลว 184.5 °C
จุดเดือด decomp. at 187 °C
1.01 g/100 mL (20 °C)
log P −2.8
pKa <2, 2.6, 5.6, 10.6
ความอันตราย
GHS labelling:
อันตราย
H318, H411
P273, P280, P305+P351+P338, P310, P501
จุดวาบไฟ ไม่ติดไฟ
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ไกลโฟเซต (อังกฤษ: Glyphosate) หรือ N-(ฟอสโฟโนเมทิล) ไกลซีน เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม (systemic herbicide) และทำให้แห้งตาย (crop desiccation) จัดเป็นสารประกอบจำพวกออแกโนฟอสฟอรัส (organophosphorus compound) โดยฟอสโฟเนตในสารประกอบดังกล่าวจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ EPSP synthase ในพืช ในอดีตเคยมีการใช้สารดังกล่าวเพื่อกำจัดวัชพืช โดนเฉพาะวัชพืชใบกว้าง (broadleaf weeds) รวมไปถึงวัชพืชอื่นที่เจริญเติบโตกับพืชเกษตรกรรม สารปะกอบไกลโฟเสตถูกพบว่ามีฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืชเมื่อ ค.ศ. 1970 โดย John E. Franz นักเคมีของบริษัทมอนซานโต้ ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัทดังกล่าวได้มีการผลิตสารประกอบนี้ออกสู่ตลาดเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรในปี คศ. 1974 ภายใต้ชื่อการค้า ราวด์อัพ (Roundup) โดยสิทธิบัตรในการผลิตไกลโฟเซตเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าของมอนซานโต้ในสหรัฐอเมริกาได้หมดความคุ้มครองลงในปี คศ. 2000 ปัจจุบันผู้ผลิตรายอื่นจึงสามารถผลิตและจำหน่ายไกลโฟเซตในท้องตลาดได้ในชื่อทางการค้าต่าง ๆ กัน

หลังจากมีการผลิตไกลโฟเซตออกสู่ตลาดเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชโดยมอนซานโต้ ทำให้มีการใช้สารดังกล่าวกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการพัฒนาสายพันธุ์พืชเกษตรกรรมโดยการตัดแต่งพันธุกรรมให้ทนต่อไกลโฟเซต (Roundup Ready Crop) ยิ่งทำให้มีการใช้สารดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ ซึ่งในปี คศ. 2007 ไกลโฟเซตเป็นยากำจัดวัชพืชที่มีปริมาณการใช้งานในภาคเกษตรกรรมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกในการจัดการเกษตร การตกแต่งสวนหย่อม ภาคอุตสาหกรรม และการใช้ในเชิงพาณิชย์อื่น โดยนับตั้งมีการผลิตไกลโฟเซตเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชในปลายทศวรรษ 1970 จนถึง คศ. 2016 พบว่าทั่วโลกมีการใช้สารดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากถึง 100 เท่าตัวทั้งในด้านความถี่และปริมาณการใช้ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต การใช้ไกลโฟเซตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ได้ว่ามีการกระจายตัวของพืชที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมให้ทนต่อไกลโฟเซตไปทั่วโลก โดยกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมดังกล่าว รวมถึงการใช้ไกลโฟเซตในภาคเกษตรกรรมนี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าทางการเกษตรมีราคาสูงมากขึ้น

ไกลโฟเซตถูกดูดซึมได้ทางใบ และถูกดูดซึมได้เล็กน้อยทางรากของพืช จากนั้นสารเคมีชนิดนี้เข้าไปออกฤทธิ์ในส่วนที่มีการเจริญเติบโตของพืชนั้นๆ โดยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนจำพวกอะโรมาติกที่สำคัญของพืช 3 ชนิด คือ ไทโรซีน ทริปโตเฟน และฟีนิลอะลานีน ดังนั้นการใช้ไกลโฟเซตจึงมีประสิทธิภาพเฉพาะในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นสารควบคุมก่อนงอกได้ (preemergent herbicide) การเพิ่มขึ้นของพืชเกษตรที่มีการพัฒนาสารพันธุ์พืชเพื่อให้ทนต่อไกลโฟเซต (เช่น ถั่วเหลือง Roundup Ready ซึ่งเป็นพืชทนไกลโฟเซตสายพันธุ์แรกที่มอนซานโต้ปรับแต่งพันธุกรรม) ทำให้มีการใช้ไกลโฟเซตเพื่อเป็นสารควบคุมวัชพืชหลังงอกมากขึ้น (post-emergence herbicide)

ในขณะที่ไกลโฟเซตและสารกำจัดวัชพืชสูตรที่มีส่วนผสมของไกลโฟเซตหลากหลายสูตรได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่กำกับดูแลให้ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชในหลายประเทศทั่วโลก ความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจากการที่มีการใช้ไกลโฟเซตมากเกินไปก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

อ้างอิง

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Baccara, Mariagiovanna, et al. Monsanto's Roundup, NYU Stern School of Business: August 2001, Revised July 14, 2003.
  • Pease W S et al. (1993) Preventing pesticide-related illness in California agriculture: Strategies and priorities. Environmental Health Policy Program Report. Berkeley, CA: University of California. School of Public Health. California Policy Seminar.
  • Wang Y, Jaw C and Chen Y (1994) Accumulation of 2,4-D and glyphosate in fish and water hyacinth. Water Air Soil Pollute. 74:397-403

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]