ไกรทอง (พืช)
หน้าตา
ไกรทอง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Erythroxylaceae |
สกุล: | Erythroxylum |
สปีชีส์: | E. cuneatum |
ชื่อทวินาม | |
Erythroxylum cuneatum |
ไกรทอง หรือหุนไห้ ชื่ออื่นๆคือ แก่นแดง เข็ดมูล เจตมูล (ปราจีนบุรี) ต๋านฮ้วนเป็ด (เชียงใหม่) พิกุลทอง (ประจวบคีรีขันธ์) กระดูกอึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythroxylum cuneatum (Miq.) Kurz อยู่ในวงศ์ Erythroxylaceae เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ ลำต้นกลม มีรอยแผลของหูใบ เกือบรอบกิ่ง เปลือกเรียบสีน้ำตาล เป็นร่องตามยาว เปลือกในสีเหลืองแกมน้ำตาล ไม่มีขน ใบเดี่ยว ด้านบนเนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างเกลี้ยง ขอบใบเรียบ ใบรูปสามเหลี่ยมถึงรูปใบหอก ดอกขนาดเล็ก ออกเป็นช่อกระจุก สีขาวอมเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองหรือแดง เป็นมัน เมล็ดแบนโค้ง
การใช้ประโยชน์
[แก้]ยอดอ่อน ใบ กินกับลาบหรือน้ำพริก ทางจังหวัดอุบลราชธานี รากใช้รักษาโรคไตพิการ บำรุงน้ำนม แก้ผิดสำแดง เปลือก ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องยาบำรุงกำลังร่างกาย และใช้เบื่อปลา ในฟิลิปปินส์ใช้ใบเบื่อปลาเช่นกัน