ข้ามไปเนื้อหา

ในกรณีฉุกเฉิน (ICE)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในกรณีฉุกเฉิน (อังกฤษ: In Case of Emergency: ICE) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่เผชิญเหตุเบื้องต้น เช่น เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ นักผจญเพลิง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสามารถติดต่อกับญาติที่ใกล้ชิดกับเจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อรับการแจ้งข้อมูลหรือสนับสนุนและยินยอมในการดำเนินการทางการแพทย์ (ซึ่งโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องปลดล็อกและใช้งานได้อยู่) โดยรายชื่อนั้นจะต้องระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและบ่งบอกตัวตนได้ (เช่น กระเป๋าเงิน สร้อยข้อมือ หรือสร้อยคอที่ระบุข้อมูลทางการแพทย์) โปรแกรมนี้เริ่มต้นขึ้นช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 2000 โดย บ็อบ บรอทชี่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ชาวอังกฤษในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งส่งเสริมให้ผู้คนระบุข้อมูลติดต่อฉุกเฉินลงในสมุดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนด้วยชื่อว่า "ICE" หรืออาจจะระบุมากกว่าหนึ่งรายชื่อติดต่อฉุกเฉินโดยบันทึกเป็น "ICE1", "ICE2" เป็นต้น

โปรแกรมนี้ถูกตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์โดยหน่วยเผชิญเหตุในเยอรมนี และบนเว็บไซต์ HoaxBuster

ภาพรวม

[แก้]

จากการศึกษาวิจัยโดยโวดาโฟนพบว่า ผู้คนน้อยกว่า 25% ที่แจ้งรายละเอียดว่าควรจะต้องโทรติดต่อใครหลังจากประสบอุบัติเหตุร้ายแรง โดยมีแคมเปญเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดย บ็อบ บรอทชี่ เจ้าหน้าที่หน่วยบริการรถพยาบาลฉุกเฉินฝั่งตะวันออก (East of England Ambulance Service) ของสหราชอาณาจักร โดยแนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นมาหลังจากเหตุระเบิดในลอนดอน 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2548[1]

โดยบรอทชี่ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุบีบีซี รายการทูเดย์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ว่า:[1]

"ผมกำลังนึกถึงการโทรที่ยากลำบากที่ฉันเคยประสบ ในสถานการณ์เหล่านั้นพวกเขาไม่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับผมได้เนื่องจากการบาดเจ็บหรืออาการป่วย และเราไม่สามารถทราบได้ว่าเขาเป็นใคร ผมค้นพบว่าผู้คนจำนวนมากในปัจจุบันพกพาโทรศัพท์มือถือ พวกเราใช้มันเพื่อค้นหาว่าผู้บาดเจ็บเป็นใคร ผมคิดได้ว่า หากเรามีแนวทางปฏิบัติเดียวกันในการค้นหาข้อมูลผู้ติดต่อฉุกเฉินในโทรศัพท์มือถือ นั่นจะทำให้ทุกคนทำงานง่ายขึ้น"

บรอทชี่ ยังเรียกรร้องให้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่สนับสนุนแคมเปญด้วยการเพิ่มหัวข้อ ICE ลงในรายชื่อผู้ติดต่อภายในโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ทั้งหมด

และด้วยข้อมูลที่จำเป็นและข้อมูลทางการแพทย์เหล่านี้ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานฉุกเฉินสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเหยื่อได้ในกรณีที่ประสบเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะในกรณีที่บาดเจ็บสาหัส จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบข้อมูลเหล่านี้ในชั่วโมงทองแห่งชีวิต (Golden hour) ซึ่งส่งผลสำคัญช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของเหยื่อได้

ด้วยข้อมูลเพิ่มเติมและข้อมูลทางการแพทย์นี้ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้จากโทรศัพท์ของเหยื่อได้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บสาหัส จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลนี้ภายในชั่วโมงทอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้

การวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

ในเยอรมนี แนวคิดเรื่อง ในกรณีฉุกเฉิน ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผลหลายประการ:[2]

  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่มักไม่มีเวลาติดต่อกับญาติ ข้อมูลดังกล่าวที่เก็บไว้ในโทรศัพท์จึงไม่มีความจำเป็นในการปฐมพยาบาลก่อนนำส่งโรงพยาบาล
  • การติดต่อกับญาติของผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นงานที่มีความละเอียดก่อน ซึ่งไม่ได้ติดต่อทางโทรศัพท์ในขั้นตอนแรก ๆ

โดยแนะนำให้พกข้อมูลในการติดต่อและข้อมูลที่จำเป็นทางการแพทย์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเก็บไว้ในกระเป๋าเงินของตนเอง และไม่ควรใช้วิธีการในระบบ ICE เป็นวิธีการหลักในการระบุตัวตนจะดีกว่า

สำหรับปัญหาอื่น ๆ ได้แก่ ข้อความย่อที่ขึ้นอยู่กับภาษา (เช่น ICE เป็นตัวย่อในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้ตัวย่อว่า ECU) ความยากในการปลดล็อกโทรศัพท์ โทรศัพท์เสียหาย ความแตกต่างในการใช้งานของโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุฉุกเฉินเข้าใจก่อน

สมาร์ทโฟนในปัจจุบันหลายรุ่นมีฟังก์ชันข้อมูลติดต่อ ICE โดยเฉพาะไม่ว่าจะในตัวระบบปฏิบัติการเองหรือในแอปพลิเคชันเสริมก็ตาม การบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ที่ซ้ำกันในโทรศัพท์โดยไม่มีฟังก์ชัน ICE โดยเฉพาะ อาจจะทำให้รายชื่อ ICE และรายชื่อปกติปะปนกัน ทำให้เกิดปัญหา ID ผู้โทรล้มเหลวในการรับสายเรียกเข้าจากเพื่อนสนิทหรือญาติ (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ บางคนใช้รูปแบบ 'tel:' URI เพื่อใส่หมายเลขโทรศัพท์ลงในช่อง 'หน้าแรก' ของผู้ติดต่อ ICE)

สมาร์ทโฟนหลายรุ่นมีฟังก์ชันข้อมูลติดต่อ ICE โดยเฉพาะไม่ว่าจะมีอยู่ในระบบปฏิบัติการหรือเป็นแอปก็ตาม การบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ที่ซ้ำกันในโทรศัพท์โดยไม่มีฟังก์ชัน ICE เฉพาะอาจทำให้ ICE และรายชื่อติดต่อปกติรวมกัน หรือทำให้ ID ผู้โทรล้มเหลวสำหรับสายเรียกเข้าจากเพื่อนสนิทหรือญาติ (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ บางคนใช้รูปแบบ 'tel:' URI เพื่อใส่หมายเลขโทรศัพท์ลงในช่อง 'หน้าแรก' ของผู้ติดต่อ ICE)

นอกจากนี้ ยังมีระบบที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในรูปแบบเดียวกัน เรียกว่า E.123 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสำนักโทรคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU-T)

ส่วนเว็บไซต์ HoaxBuster ได้จัดประเภทข้อมูลของโปรแกรม ICE นี่ว่า "จริงบ้าง เท็จบ้าง"[3]

โทรศัพท์ที่ถูกล็อก

[แก้]

ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เจ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมากเปิดใช้งานฟังก์ชันการปิดล็อกโทรศัพท์ของตน โดยกำหนดให้ต้องป้อนรหัสผ่านหรือ PIN เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์ ซึ่งการล็อกดังกล่าวทำให้ผู้เผชิญเหตุคนแรกไม่สามารถเข้าถึงรายการ ICE ในโทรศัพท์ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ผู้ผลิตโทรศัพท์หลายรายได้จัดทำกลไกเพื่อที่จะระบุข้อความที่จะแสดงในหน้าจอขณะที่โทรศัพท์ยังคงถูกล็อกอยู่ โดยเจ้าของโทรศัพท์สามารถระบุผู้ติดต่อ "ในกรณีฉุกเฉิน" และผู้ติดต่อ "ของหายและค้นพบ" (Lost and Found) สำหรับผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ใช้แอนดรอยด์เวอร์ชัน 7.0 ขึ้นไปยังสามารถจัดเก็บข้อมูลฉุกเฉินและข้อมูลการติดต่อที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้ด้วยการแตะหรือปัดหน้าจอไปที่หน้าจอฉุกเฉินในระหว่างที่โทรศัพท์ล็อกอยู่[4][5] ส่วนของผู้ใช้ไอโฟนสามารถเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อฉุกเฉินได้บนหน้าจอล็อกของโทรศัพท์เช่นกันผ่านแอปพลิเคชัน iOS Health ซึ่งเข้าถึงได้ผ่านการแตะหรือปัดไปที่หน้าจอฉุกเฉิน สำหรับโทรไปยังหมายเลขฉุกเฉิน 911 หรือหมายเลขอื่นที่บันทึกไว้ได้ล่วงหน้า รวมถึง Medical ID ก็จะแสดงให้เห็นด้วยเช่นกัน โดยจะระบุถึงชื่อผู้ใช้ ข้อมูลด้านสุขภาพ อาการแพ้ ยาที่ทาน พร้อมกับรายชื่อผู้ติดต่อฉุกเฉินที่บันทึกเอาไว้[6][4]

ในโทรศัพท์บางรุ่น สามารถเข้าถึงรายชื่อผู้ติดต่อ ICE ได้โดยตรงจากหน้าจอล็อก และสามารถโทรหารายชื่อ ICE ได้ด้วยการกดปุ่มฉุกเฉินที่ตั้งค่าเอาไว้[7] นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันของสมาร์ทโฟนที่อนุญาตให้รายชื่อ ICE ที่กำหนดเองและข้อมูลฉุกเฉินแสดงให้เห็นบนหน้าจอ "ล็อก" ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน Medical ID สำหรับแอนดรอยด์ที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์และรายชื่อผู้ติดต่อในกรณีฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว

ความนิยม

[แก้]

ความนิยมในการใช้งานโปรแกรมดังกล่าวประเมินได้ยาก โดยบทความของซีเอ็นเอ็นระบุว่าโปรแกรมนี้อาจจะถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในทวีปอเมริกาเหนือ แต่บทความดังกล่าวได้ให้คำแนะนำที่แตกต่างกันต่อผู้อ่าน[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • E.123 — ICE ในเวอร์ชันที่ไม่ขึ้นกับภาษาที่ใช้

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Mobiles 999 contact idea spreads – BBC news report on ICE scheme". news.BBC.co.uk. BBC News. 12 July 2005. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  2. "Private Notfallnummern (ICE) im Mobiltelefon: Richtigstellung des Arbeiter-Samariter-Bundes". 26 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2009. สืบค้นเมื่อ 28 February 2010., in German
  3. "For your ICE only". Hoaxbuster.com (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  4. 4.0 4.1 "วิธีตั้งค่าโทรฉุกเฉินขณะล็อกหน้าจอ ทั้ง Android และ iPhone". kapook.com. 2015-11-09.
  5. "How to Add Emergency Information in Android Nougat". TomsGuide.com. Bath, United Kingdom: Future Publishing Limited. 10 December 2016. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
  6. Jill Duffy. "How to add an emergency contact to your phone's lock screen". PCMag.com. ZiffDavis, LLC. สืบค้นเมื่อ 2017-09-19.
  7. "คู่มือผู้ใช้ Nokia 2720". www.nokia.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Elizabeth Cohen (7 February 2008). "If you get hit by a bus tomorrow". CNN.com. Cable News Network. Turner Broadcasting System, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-21. สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.