ข้ามไปเนื้อหา

โอแอลพีซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างเครื่องแลปทอปในโครงการ

โครงการโอแอลพีซี (OLPC One Laptop Per Child) หรือ XO-1 หรือชื่อเดิมคือโครงการ $100 laptop เป็นโครงการในการจัดการคอมพิวเตอร์แลปทอปราคาประหยัด โดยทางองค์กรในสหรัฐอเมริกาและความร่วมมือกับ เอ็มไอทีแล็บ โดยคอมพิวเตอร์นี้จะใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์

โอแอลพีซีประเทศไทย

[แก้]

โครงการเริ่มต้นจากความต้องการคอมพิวเตอร์ราคาถูก มีขึ้นมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว เริ่มจากการพัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ 32 บิตในประเทศไทย โดย ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2526 เป็นผลทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ราคาต่ำลง โดยการสนับสนุนของ เนคเทค ซึ่งหน่วยงานวิจัยและพัฒนาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่สู่สังคมและประเทศชาติ การนำเสนอข้อมูลการให้ความรู้ความถูกต้องทางด้านคอมพิวเตอร์แก่ประชาชนมาโดยลำดับ จากการศึกษา และเก็บข้อมูลการใช้งาน ICT ในประเทศทำให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของคอมพิวเตอร์ และการรับรู้ข่าวสารในรูปแบบดิจิตัล ซึ่งนำไปสู่จุดเริ่มในการพัฒนาโครงการคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในช่วงตั้งแต่ปี 2542 จนมาถึงโครงการคอมพิวเตอร์ ICT

ในช่วงปลายปี 2547 หลังจากที่ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.เนคเทคในขณะนั้น ได้พบกับ นิโคลัส เนโกรพอนตี เพื่อรับทราบเกี่ยวกับโครงการ เราก็ได้ศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆของ OLPC อย่างไกล้ชิด จนกระทั่งได้รับบอร์ดต้นแบบมาทดสอบและพัฒนาซอฟต์แวร์

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ก็ได้ศึกษาโครงการคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดจากโครงการอื่นๆด้วย เช่น เอเอ็มดี รุ่น 50x15 และ อินเทล รุ่น Affordable PC (APC) คู่ขนานกันมาโดยตลอด ซึ่งในปัจจุบันนี้ (2006/11) เนคเทคพบว่า โครงการ OLPC เป็นโครงการซึ่งได้มีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก มีผลงานใหม่ๆออกมาแทบทุกสัปดาห์ รวมถึงความเอาจริงเอาจังในการผลักดันเครื่องตัวอย่างระดับการผลิตสู่ตลาดใหญ่ (B1) ออกมา ความก้าวหน้านี้มีความสำคัญในระดับที่เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่ทรงประสิทธิภาพ ด้วยแนวความคิดที่แตกต่าง รวมถึงการจัดระบบเครือข่ายแบบ Mesh Wireless Network กับระบบฏิบัติการที่มีโปรแกรมเปลือกตามรูปแบบของ Instant Messaging โดยติดกล้องเว็บแคมเข้ากับ OLPC ทุกเครื่อง และเมื่อปิดเครื่อง ระบบเครือข่ายของ OLPC แต่ละตัวยังคงทำงานอยู่ได้ด้วยตนเอง เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวจัดส่งข้อมูลไร้สาย ที่ทำงานอย่างอิสระ

โครงการในประเทศไทย เนคเทคและสถาบันหุ่นยนต์ภาคสนาม ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลทางด้านเทคนิคฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการแบบ โอเพนซอร์ส รวมถึง Activity ต่างๆ ที่ใช้ในระบบ โดยมูลนิธิศึกษาพัฒน์ และโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ซึ่งประสานความร่วมมือระหว่าง OLPC HEAD, Media Lab, MIT โดยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานดังกล่าว ได้มีการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางด้านต่างๆ เป็นประจำเสมอมา ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้ต่อไปนี้

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]