ข้ามไปเนื้อหา

โอเปิล โอเมก้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอเปิล โอเมก้า
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโอเปิล
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2529 - 2546
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
สเตชันวากอน 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า คราวน์
นิสสัน เซดริค/ซิมา/ฟูกา
ฮอนด้า เลเจนด์
มาสด้า 929/เซ็นเทีย
มิตซูบิชิ เดบอเนีย/พราวเดีย/ดิกนิตี
ฟอร์ด ฟอลคอน
เชฟโรเลต อิมพาลา
ฮุนได อีควส/เจเนสิส
เกีย คาเด็นซา/K9
โฟล์กสวาเกน แฟตอน
เปอโยต์ 607
ซีตรอง C6
โฮลเดน คอมมอเดอร์
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.8 - 5.7 ลิตร I4 - V8
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าโอเปิล คอมมอเดอร์
โอเปิล เรคคอร์ด
รุ่นต่อไป โอเปิล อินซิกเนีย

โอเปิล โอเมก้า (อังกฤษ: Opel Omega) เป็นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ (Full-Size Car) รุ่นล่าสุดที่ผลิตโดยโอเปิล เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2529 เพื่อทดแทนรุ่นเดิม คือ โอเปิล คอมมอเดอร์ (อังกฤษ: Opel Commodore) และโอเปิล เรคคอร์ด (อังกฤษ: Opel Rekord) จนเลิกผลิตลงในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากความนิยมในรถยนต์ขนาดใหญ่ลดลง และรถยุโรปและเอเชียหลายๆ ยี่ห้อก็เริ่มยุบรถขนาดใหญ่กับรถขนาดกลางเพื่อให้เหลือรถขนาดกลางรุ่นเดียวเท่านั้น รวมถึงการเลิกผลิตรถขนาดใหญ่โดยไม่มีรถรุ่นใหม่มาแทนอีกด้วย ซึ่งหลังจากนั้นเปอโยต์และซีตรอง ผู้ผลิตจากฝรั่งเศสก็ยุบรถขนาดใหญ่ให้เหลือเพียงรถขนาดกลาง ผู้ผลิตจากญี่ปุ่นหลายรายก็เลิกผลิตรถขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน เช่น มิตซูบิชิ มาสด้า ฮอนด้า เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2551 โอเปิล กลับมาทำตลาดอีกครั้งในชื่อ โอเปิล อินซิกเนีย.

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2529-2536)

[แก้]
โอเปิล โอเมก้า รุ่นที่ 1

โอเปิล โอเมก้า รุ่นที่ 1 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2529 ใช้ชื่อ Omega A ออกมาเพื่อเป็นรถรุ่นเปลี่ยนโฉมของ Opel Rekord โอเมก้ารุ่นนี้ มีเครื่องยนต์เบนซิน 1.8 ,2.0 ,2.4 ,2.6 ,3.0 ,3.6 และ 4.0 ลิตร และเครื่องยนต์ดีเซล 2.3 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 และ 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด โดยเกียร์ธรรมดา 6 สปีดจะมีเฉพาะในรุ่นที่ขายโดยใช้ชื่อแบรนด์ Lotus เท่านั้น มีฐานการประกอบที่ประเทศเยอรมนี ,สหราชอาณาจักรและบราซิล นอกจากนี้ โอเปิลยังส่งรถไปให้วอกซ์ฮอลล์และเชฟโรเลตจำหน่ายอีกด้วย

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2537-2542)

[แก้]
โอเปิล โอเมก้า รุ่นที่ 2

โอเปิล โอเมก้า รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2537 ใช้ชื่อ Omega B มีการออกแบบใหม่หมด จากรุ่นเดิมที่เป็นทรงเหลี่ยมๆ โอเมก้ารุ่นนี้ มีเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ,2.5 และ 3.0 ลิตร เป็น V6 ในรุ่น 2.5 และ 3.0 ลิตร และเครื่องยนต์ 2.0 และ 2.5 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด มีฐานการประกอบที่ประเทศเยอรมนี

ในประเทศไทย บริษัท พระนครยนตรการ จำกัด เคยนำเข้า Omega B มาจำหน่ายในประเทศไทยพร้อมๆ กับรุ่น Calibra และ Corsa ในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายลดภาษีนำเข้ารถยนต์ เมื่อปี พ.ศ. 2537

รุ่นที่ 2 รุ่นปรับโฉม (พ.ศ. 2542-2546)

[แก้]
โอเปิล โอเมก้า รุ่นที่ 2 รุ่นปรับโฉม

โอเปิล โอเมก้า รุ่นที่ 2 รุ่นปรับโฉมเริ่มผลิตเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2542 ใช้ชื่อ Omega B FL เพราะดูเหมือนเป็นการไมเนอร์เชนจ์มาจากรุ่นเดิม โดยเปลี่ยนเฉพาะด้านหน้าของรถและรายละเอียดย่อยๆ เท่านั้น มีการส่งออกภายใต้ชื่อวอกซ์ฮอลล์และคาดิลแลค เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ,2.2 ,2.5 ,2.6 ,3.0 และ 3.2 ลิตร และเครื่องยนต์ดีเซล 2.0 ,2.2 และ 2.5 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 และ 5 สปีด มีฐานการประกอบที่ประเทศเยอรมนี โอเมก้ารุ่นนี้ถือเป็นรุ่นสุดท้าย เนื่องจากโอเปิล เวคตร้า (อังกฤษ: Opel Vectra) รถขนาดกลางประเภท D-Segment ในอดีตของโอเปิลก็ถูกพัฒนาให้ใหญ่ขึ้นให้ใกล้เคียงกับรถ D-Segment ทั่วโลกแล้ว อีกทั้งรถขนาดใหญ่ประเภท E-Segment ชาวยุโรปก็มองว่ามันไม่มีความจำเป็นในการซื้อหามาใช้เลยแม้แต่น้อย ทำให้โอเปิลต้องยุติการพัฒนาโอเมก้าในปี พ.ศ. 2546 ไปเนื่องจากต้องการยุบรวมโอเมก้าและเวคตร้าด้วยกัน เพื่อพัฒนารถรุ่นอินซิกเนีย แต่ในเร็วๆ นี้ได้มีข่าวว่าโอเปิลจะนำชื่อ Omega มาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง โดยใช้พื้นฐานของคาดิลแลค รถระดับหรูในเครือ General Motors และคาดว่าจะเปิดตัวได้ในปลายปีนี้

อ้างอิง

[แก้]