ข้ามไปเนื้อหา

โอลาฟ (ดิสนีย์)

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โอลาฟ
ตัวละครใน โฟรเซน
ปรากฏครั้งแรกผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (2013)
สร้างโดยคริส บัก
เจนนิเฟอร์ ลี
ให้เสียงโดยจอช แกด
เจค กรีน (Disney Dreamlight Valley และ Disney Speedstorm)
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์ตุ๊กตาหิมะ
เพศชาย
ครอบครัวเอลซา (ผู้สร้าง)
สัญชาติอาณาจักรเอเรนเดลล์

โอลาฟ (อังกฤษ: Olaf) เป็นตุ๊กตาหิมะจากภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 53 ของวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ เรื่อง ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ (Frozen) ซึ่งฉายในปี 2013

การพัฒนา

[แก้]

ต้นนกำเนิดและแนวคิด

[แก้]

ดิสนีย์สตูดิโอมีความพยายามที่จะนำเทพนิยาย ราชินีหิมะ ของ Hans Christian Andersen มาสร้างเป็นภาพยนตร์ตั้งแต่ปี 1943 เมื่อวอลต์ ดิสนีย์คิดจะสร้างภาพยนตร์ชีวประวัติของ Andersen[1] อย่างไรก็ตาม เนื้อเรื่องและตัวละครนั้นเป็นนามธรรมมากเกินไป[2][3] ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ ให้กับดิสนีย์และทีมผู้สร้างภาพเคลื่อนไหว ภายหลังจากนั้น ผู้บริหารของดิสนีย์ก็ยังมีความพยายามที่จะนำเรื่องราวจากบทประพันธ์มาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์อีกครั้ง แต่ความพยายามเหล่านี้ก็ต้องถูกชงักไว้เพราะปัญหาแบบเดียวกัน[1]

ในปี 2008 Chris Buck ได้เสนอเรื่องราวของราชินีหิมะในรูปแบบของเขาเองกับดิสนีย์[4] ชื่อ Anna and the Snow Queen ซึ่งได้มีการวางแผนให้สร้างเป็นภาพเคลื่อนไหวทั่วไป[5] แต่เรื่องราวนี้แตกต่างจาก ผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ อย่างสิ้นเชิง โดยที่บทประพันธ์นี้มีความใกล้เคียงกับเรื่องราชินีหิมะมากกว่า และมีตัวละครโอลาฟที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง[6]

อย่างไรก็ตามในต้นปี 2010 โครงการนี้ก็ได้หยุดชะงักไปอีกครั้ง[5][7] ในวันที่ 22 ธันวาคม 2011 ดิสนีย์ได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าผจญภัยแดนคำสาปราชินีหิมะ ซึ่งในเวลาต่อมาจะได้ออกฉายในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2013 และยังได้เปลี่ยนทีมสร้างภาพยนตร์ใหม่อีกด้วย[8] บทอันใหม่นั้นมีแนวคิดเหมือนเดิม แต่มีการเขียนใหม่ทั้งหมด[5] ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานของบทประพันธ์ของ Andersen โดยได้ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของตัวละคร แอนนาและ เอลซ่า ในฐานะพี่น้อง[9]

การให้เสียง

[แก้]

Josh Gad ซึ่งเป็นนักแสดงที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโทนีและมีชื่อเสียงในการแสดงบรอดเวย์เรื่อง The Book of Mormon[10] ได้เข้ารับเลือกในการพากย์เสียงของโอลาฟ[11][12][13] เขาได้กล่าวในภายหลังว่า การที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ดิสนีย์นั้นเหมือนความฝันที่กลายเป็นจริงสำหรับเขา เนื่องจากเขาเองมีความคลั่งไคล้ในภาพยนตร์และการผลิตภาพเคลื่อนไหวของดิสนีย์อยู่แล้ว[14]

เขากล่าวว่า เขาเติบโตมาในยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองของภาพเคลื่อนไหวของดิสนีย์ครั้งที่สอง ในช่วงที่มีภาพยนตร์ทั้งหมดออกมายอดเยี่ยมหมดเลย ได้แก่ เงือกน้อยผจญภัย (The Little Mermaid) โฉมงามกับเจ้าชายอสูร (Beauty and the Beast) อะลาดินกับตะเกียงวิเศษ (Aladdin) เดอะ ไลอ้อน คิง (The Lion King)[10] ความประทับใจในตัวละครที่มีลักษณะนิสัยตลกอย่างทีโมนและพุมบ้าในเรื่อง เดอะ ไลอ้อน คิง หรือ จีนี่ในเรื่องอะลาดินกับตะเกียงวิเศษทำให้เขาอยากเล่นบทบาทประเภทนี้ตั้งแต่ช่วงหนุ่ม ๆ เขาจำได้ว่า เขาเคยพูดไว้ว่าอยากจะเล่นบทแบบนี้จริง ๆ สักวัน[14][10][15]


การออกแบบตัวละคร

[แก้]

จากการที่เป็นมนุษย์หิมะที่แอนนาและเอลซ่าได้ปั้นขึ้นมาด้วยกันในวัยเด็ก โอลาฟแสดงถึงความรักที่บริสุทธิ์และความสุขที่ทั้งสองพี่น้องเคยมีในวัยเยาว์ก่อนที่พวกเข้าจะแยกจากกัน โอลาฟไม่ได้เป็นตัวละครที่ตลกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทนความรักบริสุทธิ์ในความกลัวที่แฝงด้วยความรัก [16] ตัวละครตัวนี้ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก จนกระทั่งมันมีความหมายกับสองพี่น้องคู่นี้[16] โอลาฟถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะผสานความสัมพันธ์ของสองพี่น้องที่หายไป[17] ในวัยเด็กของแอนนาและเอลซ่า ก่อนที่พลังของเอลซ่าจะทำร้ายแอนนา สองพี่น้องคู่นี้เล่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน และมีการปั้นมนุษย์หิมะขึ้นมาโดยตั้งชื่อว่า โอลาฟ และ โอลาฟก็ชอบอ้อมกอดที่อบอุ่น จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเป็นลักษณะของโอลาฟขึ้นมา และในช่วงของภาพพยนต์ที่เอลซ่าได้ร้องเพลง “Let it Go” ก็เป็นช่วงที่ทำให้เอลซ่าได้นึกถึงช่วงเวลาครั้งสุดท้ายที่ตัวเองมีความสุข และมันก็คือช่วงเวลาที่เอลซ่าได้ปั้นมนุษย์หิมะกับน้องสาวนั้นเอง และโอลาฟก็เป็นตัวแทนของความรักที่แสดงออกระหว่างความสัมพันธ์ของพี่น้องคู่ นี้นั่นเอง โอลาฟจะมีลักษณะนิสัยของแอนนาในวัยเด็กเนื่องจากที่โอลาฟมีชีวิตขึ้นมาได้ นั้นเป็นเพราะในขณะที่เอลซ่าใช้พลังสร้างโอลาฟขึ้นมา เธอได้นึกถึงคนที่เธอรักที่สุด นั่นก็คือแอนนานั่นเอง

ในช่วงเริ่มต้นของการผลิตภาพยนตร์ โอลาฟถูกเขียนบทขึ้นมาเพื่อให้เป็นหนึ่งในคนคุ้มกันปราสาทของเอลซ่า เพราะในเวลานั้นยังมีแนวคิดที่จะให้เอลซ่ามีกองกำลังทหารมนุษย์หิมะที่กราดเกรี้ยวอยู่ในเรื่องอยู่[17][18] Buck ได้กล่าวถึงเอลซ่าไว้ว่า เธอพยายามที่จะเรียนรู้พลังของตัวเองซึ่งเขาได้เปรียบเทียบกับแพนเค้ก เมื่อแพนเค้กมีการไหม้เกิดขึ้นข้างล่างจนไม่สามารถทานได้ เราจึงต้องทิ้งมัน โอลาฟก็เปรียบเสมือนแพนเค้กชิ้นแรกของเอลซ่า[18] และเพื่อไม่เป็นการสร้างความซับซ้อนให้กับตัวละครนี้ ผู้กำกับจึงอยากให้ตัวละครตัวนี้คงความเป็นเด็กบริสุทธิ์ไว้[17] Jennifer Lee ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวไว้ว่า เมื่อคุณเป็นเด็กรูปร่างแปลกๆต่างๆที่นำมาปั้นเป็นมนษย์หิมะจะไม่มีทางเพ อร์เฟค และนั่นจึงเป็นที่มาของความคิดที่ว่าเด็กๆจะนึกถึงมนุษย์หิมะในหน้าตาแบบไหน[17][18]

Gad เองก็ได้มีการปรับลักษณะของตัวละครโอลาฟเองในระหว่างทำการอัดเสียง และผู้กำกับเองก็พยายามที่จะระมัดระวังไม่ให้ตัวละครนี้ทำหน้าเป็นตัวละคร หลักในการดำเนินเรื่องมากเกินไป [18] โอลาฟถูกสร้างขึ้นมาในระดับนึงจนกระทั่งได้ Josh Gad มาพากษย์เสียงให้ และเสียงของ Gad แสดงให้เห็นถึงลักษณะพิเศษบางอย่างรวมถึงการมองโลกของเขา การแสดงในห้องอัดเสียงของ Gad ถูกบันทึกเป็นวีดิโอและผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวได้นำเอาสีหน้า ท่าทางของเขาไปสร้างเป็นตัวละครเคลื่อนไหวขึ้นมา"[19] "It was a lot funnier than I expected, thanks largely to Josh Gad's surprisingly well-written deluded snowman character" (Del Vecho).[20] Gad's studio performance was videotaped, and animators used his facial expressions and physical moves as a reference for animating the character.[16]

ผู้สร้างภาพยนตร์ ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ขึ้นมาชื่อว่า Spaces เพื่อที่จะสร้างโอลาฟขึ้นมาใหม่ในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว[21][22] Buck กล่าวว่า ความสนุกของตัวละครนี้คือการค้นพบว่าโอลาฟสามารถถูกแยกชิ้นส่วนของตัวเองออก มาได้และนั่นคือจุดเด่นของตัวละครนี้ โอลาฟเป็นตัวละครที่ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวมีความสนุกในขณะที่กำลังสร้าง[19] Del Vecho ให้ความเห็นว่า โอลาฟเป็นตัวละครที่สามารถโยนลงเขาในขณะที่ตัวแยกเป็นชิ้นๆในระหว่างที่ร่วงลงมาแต่ยังสามารถมีชีวิตรอดและมีความสุขได้ [20]

สิ่งที่ขัดแย้งกันในตัวโอลาฟคือการเป็นมนุษย์หิมะที่มีความคิดในการรักฤดูร้อน[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Jim Hill (October 18, 2013). "Countdown to Disney "Frozen" : How one simple suggestion broke the ice on the "Snow Queen"'s decades-long story problems". The ลอสแอนเจลิสไทมส์. สืบค้นเมื่อ February 21, 2014.
  2. White, Cindy (October 11, 2013). "Inside Disney's Frozen: Q&A with the Directors". Geek Mom. สืบค้นเมื่อ 21 February 2014.
  3. Wright, Gary (November 24, 2013). "Frozen in Time: Disney's Adaptation of a Literary Classic". Rotoscoper. สืบค้นเมื่อ 21 February 2014.
  4. Giardina, Carolyn (November 27, 2013). "Oscars: With 'Frozen,' Disney Invents a New Princess (and Secret Software)". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ February 21, 2014.
  5. 5.0 5.1 5.2 Weintraub, Steve (November 25, 2013). "Josh Gad Talks FROZEN, His History with the Project, the Songs, the Status of TRIPLETS, Playing Sam Kinison, and More". Collider.comn. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0:33. สืบค้นเมื่อ February 21, 2014.
  6. Hill, Jim (December 2, 2013). "How Josh Gad Almost Missed Out on the Chance to Voice Olaf the Snowman for Disney's Frozen". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 21 February 2014.
  7. Chmielewski, Dawn C.; Eller, Claudia (March 9, 2010). "Disney restyles 'Rapunzel' to appeal to boys". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ April 6, 2010.
  8. Sciretta, Peter (December 22, 2011). "Walt Disney Animation Gives 'The Snow Queen' New Life, Retitled 'Frozen' – But Will It Be Hand Drawn?". SlashFilm. สืบค้นเมื่อ December 22, 2011.
  9. Lowman, Rob (November 19, 2013). "Unfreezing 'Frozen:' The making of the newest fairy tale in 3D by Disney". Los Angeles Daily News. สืบค้นเมื่อ February 21, 2014.
  10. 10.0 10.1 10.2 Schneller, Johanna (December 6, 2013). "For Josh Gad, playing an animated snowman is a serious job". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  11. Nachman, Brett (August 16, 2012). "Disney In Depth: The Future Of Disney Animation (Frozen, Paperman, & Wreck-It Ralph) - A Recap Of D23's Destination D Event". Geeks of Doom. สืบค้นเมื่อ August 17, 2012.[ลิงก์เสีย]
  12. Sarto, Dan (February 21, 2013). "Oscar® Tour SoCal Day 2 Continues at Disney Feature Animation". Animation World Network. สืบค้นเมื่อ February 28, 2013.
  13. Snetiker, Marc (June 18, 2013). "Santino Fontana and Josh Gad Join Disney's Frozen, Starring Jonathan Groff & Idina Menzel". Broadway.com. สืบค้นเมื่อ June 18, 2013.
  14. 14.0 14.1 Pock Ross, Adam (September 25, 2013). "Josh Gad Talks Disney's 'Frozen' and Being the Hottest Snowman Around". Yahoo! Movies. สืบค้นเมื่อ 19 March 2014.
  15. Crouse, Richard (November 28, 2013). "Disney's Frozen: The story of actor Josh Gad, who never gave up on his Disney dreams". Metronews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-09. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  16. 16.0 16.1 P. Means, Sean (November 26, 2013). "Preview: Finding the warm heart of Disney's 'Frozen'". The Salt Lake Tribune. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Lee, Michael (October 7, 2013). "50 Things You May Not Know About Disney's "Frozen" [Updated]". Movie Viral. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
  18. 18.0 18.1 18.2 Richard Chavez and Rebecca Murray (September 27, 2013). "'Frozen' Directors Chris Buck and Jennifer Lee Discuss the Animated Film - Behind the Scenes of Disney's 'Frozen'". About.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-07. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
  19. 19.0 19.1 Pock Ross, Adam (July 11, 2013). "'Frozen' Directors Put Next Animated Disney Classic On Ice". Yahoo! Movies. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
  20. 20.0 20.1 20.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bleedingcool
  21. Coyle, Emily (December 3, 2013). "6 Facts You Didn't Know About Disney's 'Frozen'". Wall St. Cheat Sheet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.
  22. Failes, Ian (December 2, 2013). "The tech of Disney's Frozen and Get a Horse!". FX Guide. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]