ข้ามไปเนื้อหา

โอซามุ โนงูจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โอซามุ โนงูจิ (ญี่ปุ่น: 野口修โรมาจิOsamu Noguchi) หรือที่ชาวไทยรู้จักกันในชื่อ โอซามู โนกูจิ[1] เกิดวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1934 เป็นชาวญี่ปุ่นผู้ริเริ่มกีฬาคิกบ็อกซิ่งในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะโปรโมเตอร์มวยคิกบ็อกซิ่งในยุคแรกเริ่ม นิยามของคำว่าคิกบ็อกซิ่งที่โอซามู โนกูจิ คิดดัดแปลงขึ้น โดยมาจากการที่เขาชื่นชอบศิลปะการต่อสู้และออกเดินทางไปทั่วโลกเพื่อดูการต่อสู้ของประเทศต่างๆ แล้วเขาก็มาพบกับมวยไทย ที่ประเทศไทย ซึ่งเขามีความประทับใจต่อศิลปะการต่อสู้ดังกล่าว[2] เขาจึงดัดแปลงมวยไทยผสมกับคาราเต้ขึ้นในยุค 1950 ซึ่งคำดังกล่าวยังได้ถูกนำมาใช้ในคิกบ็อกซิ่งของชาวอเมริกัน เมื่อมีการนำศิลปะการต่อสู้มาใช้ทั้งสองชนิด ก็มักจะกล่าวถึงในลักษณะเฉพาะของกีฬาคิกบ็อกซิ่ง[3]

อย่างไรก็ตามโอซามู โนกูจิ เริ่มมีแผนการโปรโมตที่ไม่เป็นที่พอใจต่อยอดธง เสนานันท์ ซึ่งเป็นครูมวยชาวไทย ตลอดจนผู้ที่เลื่อมใสในกีฬามวยไทยเท่าใดนัก เนื่องจากเขามีแผนการโฆษณาคิกบ็อกซิ่งโดยพยายามทำให้โลกหลงเข้าใจว่ามวยไทยมีต้นกำเนิดมาจากกีฬาคิกบ็อกซิ่งจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งที่จริงแล้วคิกบ็อกซิ่งนั้นเป็นการต่อสู้ที่ดัดแปลงรูปแบบการต่อสู้มาจากมวยไทย กับคาราเต้สายเคียวคุชินไคกัน[4]

การแข่งขันคิกบ็อกซิ่งกับมวยไทยครั้งแรกในประเทศไทย

[แก้]

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 โอซามู โนกูจิ ได้พานักมวยคิกบ็อกซิ่ง 3 ราย ในรุ่นแบนตั้มเวท, เฟเธอร์เวท และมิดเดิลเวท ซึ่งได้แก่ ฟูจิฮิระ, นากามูระ และเค็นจิ คูโรซากิ มาต่อสู้กับนักมวยไทย ที่สนามมวยเวทีลุมพินี ซึ่งในครั้งนั้น ทางผู้จัดได้ประเมินนักมวยคิกบ็อกซิ่งต่ำมาก จึงจัดให้นักมวยไทยระดับพอใช้รับมือ ซึ่งได้แก่ "เห่าไฟ ลูกคลองตัน" ชกกับ ฟูจิฮิระ และ "ตั้ง แช เล้ง" ซึ่งเว้นช่วงการแข่งขันไปนาน 3 ปี ชกกับ นากามูระ จากการแข่งขันครั้งดังกล่าว ทั้ง "เห่าไฟ ลูกคลองตัน" และ "ตั้ง แช เล้ง" เป็นฝ่ายแพ้[5] ในขณะที่คู่เอก เป็นการต่อสู้ระหว่าง เค็นจิ คูโรซากิ ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนนักมวยคิกบ็อกซิ่ง และเป็นอดีตนักคาราเต้แถวหน้าที่มีฝีมือสูงมาก พบกับ "ราวี เดชาชัย" ซึ่งเป็นนักมวยไทยที่ห่างหายไปจากวงการนานนับปี โดยในการแข่งขันคู่เอกครั้งนี้ ราวีเป็นฝ่ายชนะน็อค[5]

การแข่งขันรายการบีเอส ซามูไร

[แก้]

ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2515 โอซามู โนกูจิ พาเหล่านักมวยคิกบ็อกซิ่งมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้เอง ที่ครูยอดธง ได้นำเหล่านักมวยไทยมาแข่ง ในรายการบีเอส ซามูไร[6] ซึ่งการแข่งขันครั้งดังกล่าวนักมวยไทยเป็นฝ่ายชนะ จอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีคำสั่งเนรเทศโอซามู โนกูจิ ออกประเทศภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากเป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาของประเทศ และเมื่อโอซามูมาถึงประเทศญี่ปุ่น เขาก็ถูกทางการญี่ปุ่นสั่งห้ามเกี่ยวข้องกับวงการมวยอีกต่อไป เนื่องจากสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้แก่ประเทศในขณะนั้น[7]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. หนังสือกำปั้นนอกสังเวียน (สำนักพิมพ์แพรว)
  2. Kickboxing Legends เก็บถาวร 2010-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  3. "The dragon's legacy lives on". Gulf Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  4. HISTÓRIA DO KICKBOXING เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (โปรตุเกส)
  5. 5.0 5.1 นิตยสารมวยตู้ ฉบับที่ 1279 ปีที่ 25 ประจำวันศุกร์ 25 มี.ค. 2554 หน้า 28, 29 และ 48; อ้างถึง นิตยสารเดอะริง ฉบับ 1222 มิ.ย. 2514
  6. ปลายนวม น.เขลางค์. (2553). กำปั้นนอกสังเวียน. อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์. ISBN 9789744753199. หน้า 128
  7. ครูมวยครูดีเด่น[ลิงก์เสีย]