การขาดโฟเลต
การขาดโฟเลต (Folate deficiency ) | |
---|---|
กรดโฟลิก ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินบี9 แบบที่มีฤทธิ์ | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | D52 E53.8 |
ICD-9 | 266.2 |
DiseasesDB | 4894 |
MedlinePlus | 000354 |
eMedicine | med/802 |
MeSH | D005494 |
การขาดโฟเลต (อังกฤษ: Folate deficiency) คืออาการเมื่อร่างกายมีระดับกรดโฟลิกที่ต่ำ โฟเลตซึ่งรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า วิตามินบี9 มีบทบาทในการสังเคราะห์ adenosine, guanine, และ thymidine ซึ่งเป็นส่วนของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ อาการขาดโฟเลตบ่อยครั้งสังเกตได้ยาก โดยภาวะเลือดจางเหตุขาดโฟเลต (folate deficiency anemia) เป็นอาการที่พบในภายหลัง[1] ซึ่งมีอาการเม็ดเลือดแดงที่โตผิดปกติ (megaloblast) เพราะไม่มีกรดโฟลิกเพียงพอในร่างกาย[2]
อาการ
[แก้]อาการอาจรวมความไม่อยากอาหารและน้ำหนักลด อาการอื่น ๆ รวมทั้งความอ่อนเพลีย ลิ้นเจ็บ ปวดหัว ใจสั่น หงุดหงิด และความผิดปกติทางพฤติกรรม[3] ในผู้ใหญ่ ภาวะโลหิตจาง (แบบเม็ดเลือดแดงใหญ่ เป็น megaloblastic anemia) อาจเป็นตัวชี้ว่ามีโรคมานานแล้ว ในทารกและเด็ก การขาดโฟเลตอาจทำให้โตช้า หญิงที่ขาดโฟเลตแล้วตั้งครรภ์มีโอกาสคลอดเด็กตัวเล็กก่อนกำหนดและมีทารกที่มีปัญหาหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) สูงกว่า งานศึกษาเมื่อไม่นานนี้แสดงว่าอาจมีส่วนร่วมกับการเกิดเนื้องอก โดยเฉพาะในลำไส้ใหญ่ผ่านกระบวนการ demethylation/hypomethylation ของเนื้อเยื่อที่กำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ว่าอาการบางอย่างสามารถเกิดจากโรคอื่นได้ ดังนั้น การให้แพทย์ตรวจอาการเพื่อรักษาให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ความซึมเศร้า
[แก้]งานศึกษาหลายงานแสดงว่า สถานะของโฟเลตและวิตามินบี12 อาจมีบทบาทให้เกิดความซึมเศร้า[4] เพราะว่าทั้งสองมีส่วนในปฏิกิริยา transmethylation ซึ่งขาดไม่ได้ในการสร้างสารสื่อประสาทและสารอื่น ๆ (เช่น เซโรโทนิน, อีพิเนฟริน, nicotinamide, purines, และฟอสโฟลิพิด)[4][5]
ระดับโฟเลตหรือวิตามินบี12 ที่ต่ำสามารถระงับปฏิกิริยา transmethylation ทำให้สะสม homocysteine และขัดขวางกระบวนการเมแทบอลิซึมของสารสื่อประสาท (โดยเฉพาะกระบวนการ hydroxylation ของโดพามีนและเซโรโทนิน จาก tyrosine และ tryptophan) ฟอสโฟลิพิด ปลอกไมอีลิน และตัวรับในเซลล์ประสาท ระดับ homocysteine ที่สูงเกินในเลือด (hyperhomocysteinemia) อาจทำให้เส้นเลือดเสียหายจากออกซิเดชันซึ่งมีผลต่อการทำงานผิดปกติในสมอง และอาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคซึมเศร้า[4][5]
มีงานศึกษาหลายงานที่พบระดับโฟเลตและวิตามินบี12 ที่ต่ำในคนไข้โรคซึมเศร้า นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาบางงานยังแสดงว่า การมีระดับโฟเลตต่ำทำให้รักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าได้ไม่ดี และมีงานอื่นที่แสดงว่า การมีวิตามินบี12 สูงสัมพันธ์กับผลการรักษาที่ดีกว่า ดังนั้น การได้วิตามินทั้งสองอย่างนี้เพียงพอไม่ใช่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังช่วยบำบัดโรคเมื่อรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าด้วย[4][5]
เหตุ
[แก้]การขาดโฟเลตอาจเกิดขึ้นเมื่อต้องการโฟเลตมากขึ้น หรือเมื่อทานอาหารที่มีโฟเลตไม่เพียงพอ หรือว่าเมื่อร่างกายขับหรือเสียโฟเลตมากกว่าปกติ ยาที่ขัดขวางการใช้โฟเลตในร่างกายอาจจะทำให้จำเป็นต้องได้วิตามินนี้เพิ่มขึ้น[6][7][8][9][10][11] งานวิจัยบางงานแสดงว่าการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต รวมทั้งการใช้เตียงอาบแดด สามารถทำให้ขาดโฟเลต[12][13] การขาดมักสามัญกว่าในหญิงมีครรภ์ ทารก เด็ก และวัยรุ่น และอาจมาจากอาหารที่ไม่ถูกสุขภาพหรือเป็นผลของการติดเหล้า[14]
นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติในเอนไซม์ homocysteine methyltransferase หรือการขาดวิตามินบี12 อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่เรียกว่ากับดักเมทิล ("methyl-trap") ของ tetrahydrofolate (THF) ซึ่ง THF เปลี่ยนไปเป็นบ่อเก็บ methyl-THF ซึ่งไม่สามารถมีเมแทบอลิซึมต่อไปได้ และดังนั้นจึงกลายเป็นบ่อดูด THF ซึ่งในที่สุดมีผลขาดโฟเลต[15] ดังนั้น การขาดวิตามินบี12 จึงสามารถสร้างบ่อดูด methyl-THF ขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถทำปฏิกิริยาอะไรได้ และมีอาการปรากฏเหมือนกับขาดโฟเลต
ลำไส้เล็กทั้งตอนจะเป็นตัวดูดซึมโฟเลต แม้จะเกิดโดยหลักในลำไส้เล็กส่วนกลาง โดยโฟเลตจะเข้ายึดกับ receptor protein โดยเฉพาะเจาะจง การอักเสบของลำไส้เล็กแบบแพร่กระจาย หรือโรคที่ทำให้ลำไส้เสื่อม เช่น Crohn's disease, coeliac disease, ลำไส้อักเสบเรื้อรัง (chronic enteritis), หรือ entero-enteric fistulae อาจลดฤทธิ์ของ pteroyl polyglutamase (PPGH) ซึ่งเป็น เอนไซม์แบบ hydrolase ที่จำเป็นในการดูดซึมโฟเลต และดังนั้น จึงนำไปสู่การขาดโฟเลต
เหตุการณ์
[แก้]เหตุการณ์บางอย่างอาจทำให้จำเป็นต้องได้รับโฟเลตมากขึ้น รวมทั้ง
- การตกเลือด
- การฟอกไต
- โรคตับ
- การดูดซึมไม่ดี รวมทั้งจาก celiac disease
- การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร
- การสูบบุหรี่
- การดื่มเหล้า (หรือแอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ)
เภสัชวิทยา
[แก้]ยาบางอย่างอาจขัดขวางเมแทบอลิซึมของโฟเลต รวมทั้ง
- ยากันชัก เช่น เฟนิโทอิน, คาร์บามาเซพีน, primidone หรือ valproate
- เมตฟอร์มิน ซึ่งบางครั้งใช้คุมน้ำตาลในเลือดของคนไข้โรคเบาหวานแบบที่ 2
- methotrexate เป็นยารักษามะเร็งซึ่งบางครั้งใช้ควบคุมความอักเสบที่เกิดจาก Crohn's disease, ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis), และโรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis)
- sulfasalazine ซึ่งใช้ควบคุมอาการอักเสบจาก Crohn's disease, ลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล (ulcerative colitis), และโรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis)
- triamterene เป็นยาขับปัสสาวะ
- ยาเม็ดคุมกำเนิด
เมื่อแพทยสั่งยา methotrexate บางครั้งก็จะให้กรดโฟลิกเสริมด้วย ผลการรักษาของ methotrexate มาจากฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ dihydrofolate reductase และดังนั้น จึงลดอัตราการสังเคราะห์แบบ de novo (คือจากโมเลกุลง่าย ๆ แทนการเวียนใช้ใหม่) ของ purine กับ pyrimidine และลดอัตราการแบ่งเซลล์ เพราะระงับการแบ่งเซลล์ ยาจึงมีพิษมากต่อเซลล์ที่ต้องแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เซลล์มะเร็ง และเซลล์ progenitor ของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น การเสริมโฟเลตจึงมีประโยชน์กับคนไข้ที่ได้ยาขนาดต่ำระยะยาวเพื่อแก้อักเสบ เช่น โรคไขข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis) หรือโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดโตจากการขาดโฟเลต บางครั้งแพทย์ก็จะให้โฟเลตเสริมก่อนเริ่มเคมีบำบัดขนาดสูงเพื่อป้องกันเซลล์ที่ยังดี แต่ว่า ไม่ควรใช้ methotrexate ร่วมกับกรดโฟลิกในการรักษามะเร็งเพราะอาจขัดกัน[16]
การป้องกันและรักษา
[แก้]กรดโฟลิกอยู่ในผักใบเขียวหลายอย่าง วิตามินรวมก็มักจะรวมโฟเลตกับวิตามินบีอื่น ๆ ด้วย วิตามินบี มีโฟเลตเป็นต้น ละลายน้ำได้ และที่เกินจะขับออกทางปัสสาวะ เมื่อทำอาหาร การนึ่งอาจช่วยเก็บโฟเลตไว้ในอาหารได้ดีกว่า (เทียบกับการต้ม) และดังนั้น จะช่วยป้องกันการขาดโฟเลต การขาดโฟเลตช่วงตั้งครรภ์สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) สำหรับทารกในครรภ์สูงขึ้น[17] และภาวะเช่นนี้ในช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์แรกสามารถก่อให้เกิดปัญหาทางโครงสร้างและพัฒนาการ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) แนะนำหญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ให้เสริมวิตามินบีก่อนตั้งครรภ์และในเดือนแรกของการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันปัญหานั้น[18]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Huether, Sue; McCance, Kathryn (2004). "20". Understanding Pathophysiology (3rd ed.). Mosby. p. 543. ISBN 0-323-02368-1.
- ↑ Tamparo, Carol (2011). Diseases of the Human Body (Fifth ed.). Philadelphia, PA. pp. 337. ISBN 978-0-8036-2505-1.
- ↑ Haslam N, Probert CS (1998). "An audit of the investigation and treatment of folate deficiency". Journal of the Royal Society of Medicine. 91 (2): 72–3. PMC 1296488. PMID 9602741.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Coppen A, Bolander-Gouaille C (2005). "Treatment of depression: time to consider folic acid and vitamin B12". J Psychopharmacol. 19 (1): 59–65. doi:10.1177/0269881105048899. PMID 15671130.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Karakuła H, Opolska A, Kowal A, Domański M, Płotka A, Perzyński J (2009). "Does diet affect our mood? The significance of folic acid and homocysteine". Pol Merkur Lekarski. 26 (152): 136–41. PMID 19388520.
- ↑ Oakley GP Jr, Adams MJ, Dickinson CM (1996). "More folic acid for everyone, now". Journal of Nutrition. 126 (3): 751S–755S. PMID 8598560.
- ↑ McNulty, H (1995). "Folate requirements for health in different population groups". British Journal of Biomedical Science. 52 (2): 110–9. PMID 8520248.
- ↑ Stolzenberg, R (1994). "Possible folate deficiency with postsurgical infection". Nutrition in Clinical Practice. 9 (6): 247–50. doi:10.1177/0115426594009006247. PMID 7476802.
- ↑ Pietrzik KF, Thorand B (1997). "Folate economy in pregnancy". Nutrition. 13 (11–12): 975–7. doi:10.1016/S0899-9007(97)00340-7. PMID 9433714.
- ↑ Kelly, GS (1998). "Folates: Supplemental forms and therapeutic applications". Altern Med Rev. 3 (3): 208–20. PMID 9630738.
- ↑ Cravo ML, Gloria LM, Selhub J, Nadeau MR, Camilo ME, Resende MP, Cardoso JN, Leitao CN, Mira FC (1996). "Hyperhomocysteinemia in chronic alcoholism: correlation with folate, vitamin B-12, and vitamin B-6 status". The American Journal of Clinical Nutrition. 63 (2): 220–4. PMID 8561063.
- ↑ "Pregnancy and Tanning". American Pregnancy Association. มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2015.
- ↑ Borradale D, Isenring E, Hacker E, Kimlin MG (กุมภาพันธ์ 2014). "Exposure to solar ultraviolet radiation is associated with a decreased folate status in women of childbearing age". Journal of Photochemistry and Photobiology B: Biology. 131: 90–95. doi:10.1016/j.jphotobiol.2014.01.002.
- ↑ Tamparo, Carol (2011). Diseases of the Human Body (5th ed.). Philadelphia, PA: F. A. Davis Company. pp. 337. ISBN 978-0-8036-2505-1.
- ↑ Hoffbrand, AV; Weir, DG (2001). "The history of folic acid". Br J Haematol. 113 (3): 579–589. doi:10.1046/j.1365-2141.2001.02822.x. PMID 11380441.
- ↑ "Folate: Evidence". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2015.
- ↑ Czeizel AE, Dudás I, Vereczkey A, Bánhidy F (2013). "Folate deficiency and folic acid supplementation: the prevention of neural-tube defects and congenital heart defects". Nutrients. 5 (11): 4760–75. doi:10.3390/nu5114760. PMC 3847759. PMID 24284617.
- ↑ "Dietary Supplement Fact Sheet: Folate". National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Folic Acid Deficiency – MedScape