โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ III: ดรากอนออฟเดสตินี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ III: ดรากอนออฟเดสตินี | |
---|---|
![]() | |
ผู้พัฒนา | โคเอ |
ผู้จัดจำหน่าย | โคเอ |
แต่งเพลง | มิโนรุ มูไกยะ |
ชุด | โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ |
เครื่องเล่น | เอ็มเอส-ดอส, พีซี-9801, ชาร์ป เอกซ์68000, เอฟเอ็ม ทาวส์, พีซี เอนจิน, ซูเปอร์แฟมิคอม, เมกาไดรฟ์, เซกา ซีดี, เพลย์สเตชัน, วินโดวส์ 95 |
วางจำหน่าย | พีซี-98
|
แนว | วางแผนผลัดกันเล่น |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ III: ดรากอนออฟเดสตินี (อังกฤษ: Romance of the Three Kingdoms III: Dragon of Destiny) เป็นเกมที่สามในซีรีส์โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ของวิดีโอเกมวางแผนผลัดกันเล่นที่ผลิตโดยบริษัทโคเอ และอิงจากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เวอร์ชันนี้เผยแพร่ในเทวีปอเชียและอเมริกาเหนือสำหรับพีซี, ซูเปอร์แฟมิคอม และเมกาไดรฟ์ นอกจากนี้ ยังเป็นเกมซูเปอร์แฟมิคอมเกมเดียวที่ได้รับการแปลเป็นภาษาจีนอย่างสมบูรณ์[1]
รูปแบบการเล่น
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/3/35/Rotkiiiib.jpg/220px-Rotkiiiib.jpg)
เมื่อเริ่มเกม ผู้เล่นเลือกจากหนึ่งในหกสถานการณ์ที่กำหนดรูปแบบเริ่มต้นของกำลังในจีนสมัยโบราณ สถานการณ์แสดงให้เห็นภาพความจงรักภักดีและดินแดนที่ควบคุมโดยขุนศึกอย่างคร่าว ๆ ตามนวนิยาย แม้ว่ารูปแบบการเล่นจะไม่เป็นไปตามเหตุการณ์ในนวนิยายหลังจากที่เกมเริ่มต้น
หกสถานการณ์ และขุนศึกที่ปรากฏในแต่ละรายการ มีดังนี้:
- อาณาจักรแห่งความหวาดกลัวของตั๋งโต๊ะ (ค.ศ. 189)
- เหล่าขุนศึกต่อสู้เพื่ออำนาจ (ค.ศ. 194)
- เล่าปี่หาที่พักพิงในอำเภอซินเหย่ (ค.ศ. 201)
- การปรากฏตัวของมังกรหลับ (ค.ศ. 208)
- กำเนิดสามก๊ก (ค.ศ. 221)
- เกียงอุยสืบทอดมรดกของขงเบ้ง (ค.ศ. 235)
ส่วนเวอร์ชันพีซี-เอนจิน ซีดี-รอม ได้รวมถึงสถานการณ์เพิ่มเติม คือ:
- กบฏโพกผ้าเหลือง (ค.ศ. 184)
หลังจากเลือกสถานการณ์แล้ว ผู้เล่นทั้งหลายจะตัดสินว่าขุนศึกคนใดที่พวกเขาจะควบคุม เหล่าตัวละครที่กำหนดเองอาจแทรกซอนเข้าไปในดินแดนที่ไม่มีกองกำลังอื่นครอบครอง ซึ่งเกมนี้มีเมืองต่าง ๆ ทั้งหมด 46 เมือง และมีตัวละครที่ไม่ซ้ำกันหลายร้อยตัว ตัวละครแต่ละตัวมีค่าสถิติหลายค่า ได้แก่ ความสามารถในการทำสงคราม, ข่าวกรอง, การเมือง, ความสามารถพิเศษ, การบัญชาการทางบก, การบัญชาการทางเรือ
ผู้เล่นชนะเกมด้วยการพิชิตดินแดนทั้งหมดในประเทศจีน ซึ่งทำได้โดยการควบคุมทุกเมืองบนแผนที่
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
นิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ได้ระบุในเดือนเมษายน ค.ศ. 1994 ว่าโรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ III นำเสนอยุคของประวัติศาสตร์จีนที่ "ยอดเยี่ยม" โดยยกย่องรายละเอียดของเกม และตัวเลือกการเล่นที่ยืดหยุ่น[4] ส่วนนิตยสารเมกะกล่าวถึงเกมนี้ว่า "แปลก, ห่างเหิน แต่สุดท้ายก็ทำให้ติดได้"[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ byuu. "Help needed - most wanted cartridges". สืบค้นเมื่อ October 25, 2016. [ลิงก์เสีย]
- ↑ Brenesal, Barry (March 1994). "Romance of the Three Kingdoms III". Electronic Entertainment. 1 (3): 84.
- ↑ 3.0 3.1 Bilson, Joss (May 1994). "Romance of the Three Kingdoms III: Dragon of Destiny". Mega. 1 (20): 41.
- ↑ Coleman, Terry Lee (April 1994). "Dragon Of Destiny". Computer Gaming World. pp. 164, 166.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่September 2020
- วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2535
- โรแมนซ์ออฟเดอะทรีคิงดัมส์ (ชุดวิดีโอเกม)
- เกมสำหรับเอฟเอ็ม ทาวส์
- เกมสำหรับซูเปอร์แฟมิคอม
- วิดีโอเกมภาคต่อ
- วิดีโอเกมมหายุทธศาสตร์
- เกมสำหรับวินโดวส์
- เกมสำหรับเพลย์สเตชัน
- เกมสำหรับเทอร์โบกราฟซ์-ซีดี
- วิดีโอเกมที่พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
- บทความเกี่ยวกับ เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกม ที่ยังไม่สมบูรณ์