ข้ามไปเนื้อหา

โรซาลิอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรซาลิอา
Rosalía in 2022
โรซาลิอาในปี 2023
เกิดโรซาลิอา บิลา โตเบยา
(1992-09-25) 25 กันยายน ค.ศ. 1992 (32 ปี)
ซังกูกัดดัลบัลแย็ส แคว้นกาตาลุญญา สเปน
ศิษย์เก่าวิทยาลัยดนตรีกาตาลุญญา
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์เพลง
  • นักธุรกิจ
ปีปฏิบัติงาน2013–ปัจจุบัน
ผลงาน
รางวัลรายการทั้งหมด
อาชีพทางดนตรี
ที่เกิดบาร์เซโลนา แคว้นกาตาลุญญา สเปน
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
  • เปียโน
  • กีตาร์
ค่ายเพลง
เว็บไซต์rosalia.com
ลายมือชื่อ

โรซาลิอา บิลา โตเบยา[2] (สเปน: Rosalia Vila Tobella; เกิด 25 กันยายน ค.ศ. 1992)[3] หรือรู้จักในนาม โรซาลิอา (สเปน: Rosalía, ออกเสียง: [rosaˈli.a]) และ รูซาลิอา (กาตาลา: Rosalia, ออกเสียง: [ruzəˈli.ə])[4][5][6] เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวสเปน[7][8] เกิดและเติบโตในเขตชานเมืองบาร์เซโลนา เธอได้รับการนิยามว่าเป็น "ดาราเพลงป็อปผิดวิสัย" จากการรวมแนวเพลงที่หลากหลาย[9] โรซาลิอาเริ่มสนใจดนตรีพื้นเมืองของสเปนตั้งแต่อายุ 13 ปี เธอจึงเข้าศึกษาต่อด้านดนตรีวิทยาที่วิทยาลัยดนตรีกาตาลุญญา ควบคู่ไปกับการเป็นนักร้องอิสระในสถานบันเทิงและงานแต่งงานอีกหลายแห่ง[10]

เธอจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมสำหรับผลงานอัลบั้มที่ร่วมมือกับราอุล เรฟรี อย่าง โลสอังเฆเลส (2017) และ เอลมัลเกเรร์ (2018) อันเป็นโครงงานระดับปริญญาตรี เธอนำดนตรีฟลาเมงโกออกจากรูปแบบเดิม ๆ โดยผสมผสานกับดนตรีป็อปและฮิปฮอป จนก่อให้เกิดซิงเกิลชื่อ "มาลาเมนเต" และ "ปิเอนโซเอนตูมิรา" ซึ่งได้รับความสนใจจากสาธารณชนชาวสเปนและได้รับคำสรรเสริญอย่างกว้างขวาง[11] อีกทั้งยังได้รับรางวัลลาตินแกรมมี สาขาอัลบั้มแห่งปี และอยู่ในรายชื่อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ของนิตยสาร โรลลิงสโตน โรซาลิอายังได้ทดลองดนตรีแนวอูร์บาโนในซิงเกิลปี 2019 อย่าง "กอนอัลตูรา" และ "โยปอร์ตี, ตูปอร์มี" ซึ่งประสบความสำเร็จทั่วโลก[12][13] จากนั้นออกอัลบั้มชุดที่สาม โมโตมามิ (2022) มีซิงเกิลชื่อ "ลาฟามา" และ "ซาโอโก"

ตลอดอาชีพการงานของเธอ โรซาลิอาได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลแกรมมี 2 รางวัล รางวัลลาตินแกรมมี 12 รางวัล เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 4 รางวัล เอ็มทีวียุโรปมิวสิกอะวอดส์ 1 รางวัล ยูเคมิวสิกวิดีโออะวอดส์ 3 รางวัล และเปรมิโอรุยโดอีก 2 รางวัล เธอได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางให้เป็นหนึ่งในนักร้องชาวสเปนที่ประสบความสำเร็จและทรงอิทธิพลมากที่สุดตลอดกาล[14][15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Exposito, Suzy (20 November 2019). "Latin Music Is Being Quarantined at the 2020 Grammys". Rolling Stone. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020. สืบค้นเมื่อ 25 November 2019.
  2. Serra, Màrius (21 March 2021). "Motomami y Motoyaya". La Vanguardia (ภาษาสเปนแบบยุโรป). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2022. สืบค้นเมื่อ 9 August 2022.
  3. "La verdadera edad de Rosalía, desvelada por ella misma" [The true age of Rosalía, revealed by herself]. HuffPost (ภาษาสเปน). 12 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 31 July 2022.
  4. "Rosalía Shares Her Favorite Karaoke Song And the Story of Her First Kiss". W Magazine on YouTube. 3 October 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-03. สืบค้นเมื่อ 24 November 2020.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "Phonology – Case Studies: Catalan". www.laits.utexas.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 December 2020.
  6. "Rosalia pronunciation: How to pronounce Rosalia in Latin, Catalan, Italian, German, Occitan, Spanish". Forvo.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 December 2020.
  7. Villanueva, Marc (30 October 2018). "Rosalía, la estrella catalana del flamenco, preguntada tres veces por el procés". En Blau (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2019. สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
  8. Cervantes, Xavier (13 February 2017). "Rosalía, una veu per al passat i el futur del flamenc" [Rosalía, a Voice for the Past and the Future of Flamenco]. Ara (ภาษาคาตาลัน). Barcelona. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2017. สืบค้นเมื่อ 13 June 2018.
  9. Sayre, Anamaria (24 April 2022). "Rosalía is unafraid to pull from every corner of the world". NPR (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  10. Hirschberg, Lynn (30 September 2019). "Rosalía Is the Future of Pop Music". W Magazine (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-15.
  11. Petridis, Alexis (1 November 2018). "Rosalía: El Mal Querer review – flamenco-pop star is a formidable new talent". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
  12. "Rosalía, one of the big winners at the Latin Grammys". El Nacional. 15 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
  13. Cantor-Navas, Judy (12 December 2019). "Rosalia's 10 Star-Making Songs". Billboard (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
  14. Battan, Carrie (17 March 2022). "Rosalía Levels Up as a Global Pop Superstar". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 23 February 2022.
  15. Alonso, Guillermo (18 November 2019). "Why does Rosalía cause so much controversy?". El Pais. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 23 February 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]