ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสนามบิน

พิกัด: 16°26′19″N 102°50′15″E / 16.4385262°N 102.8375775°E / 16.4385262; 102.8375775
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสนามบิน
Sanambin School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.น.บ. / SNB
ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์ความรู้ดี มีวินัย น้ำใจนักกีฬา
สถาปนา9 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (104 ปี)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
หมายเลข043-236506
ผู้อำนวยการนายธนวรรธน์ ธะนะคำมา
สี    เขียว-เหลือง-แดง
เพลงมาร์ชสนามบิน
เว็บไซต์https://snb.thai.ac/home

โรงเรียนสนามบิน (อังกฤษ: Sanambin School) เดิมชื่อโรงเรียนสตรีเมืองพระลับ เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ให้บริการทางการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น 2,656 คน (ข้อมูลปีการศึกษา 2567) [1]

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนสนามบิน เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษให้บริการทางการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2463 ชื่อ โรงเรียนสตรีเมืองพระลับ โดยราษฎร์จัดตั้งขึ้น มีนายเกย พุทธารัตน์  เป็นครูใหญ่คนแรก

วันที่ 19 พฤษภาคม  พ.ศ.2480 โอนไปสังกัดเทศบาลเมืองขอนแก่น เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทศบาล 1 (สนามบิน) เปิดสอนชั้น ป.1 – ป.4 มีนายผาง กิมเตี๋ยว (สุวรรณรุ่งเรือง) และนายจินดา ศรีนวกุล  เป็นครูใหญ่ตามลำดับ

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2496 โอนกลับเป็นโรงเรียนประชาบาล สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับงบประมาณ 100,000 บาท สร้างอาคารแบบ ป.อ่างศิลา มีนายบุญ  ชูลิขิต เป็นครูใหญ่

โรงเรียนสนามบิน ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนประชาสังเคราะห์ของจังหวัด และเป็นโรงเรียนโครงการ ป.ส.ภ. ด้วย จากนั้นโอนไปสังกัดจังหวัด ตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา ให้ศึกษาธิการจังหวัด  จัดการแทนนายอำเภอ

พ.ศ.2519 ด้านวิชาการ มีการเลื่อนชั้นกลางปี ป.6 ขึ้นเรียน ป.7 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และสอบเรียนต่อ ม.1 ได้ทุกคน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ทำให้เพียงปีเดียวเท่านั้น

พ.ศ.2520 – 2521 กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติให้เปิดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2  ห้องเรียน เมื่อประเมินผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ด้วยเหตุปัจจัยหลายด้าน จึงโอนนักเรียนไปให้โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย และโรงเรียนกัลยาณวัตร ตามความสนใจของนักเรียนและผู้ปกครอง

 พ.ศ.2522 ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นของเขตการศึกษา 9 ได้รับโล่เกียรติยศจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ณ หอประชุมคุรุสภา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2522 และเลื่อนตำแหน่งผู้บริหาร จากอาจารย์ใหญ่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ 2523 และได้โอนจากกรมสามัญศึกษา ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในปีเดียวกัน          

พ.ศ.2529 ก่อตั้งมูลนิธิ 66 ปี เพื่อการศึกษาโรงเรียนสนามบิน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2529 ด้วยเงินทุน จำนวน 160,000 บาท โดยมีนายวรโชติ พัฒน์ดำรงจิตร เป็นประธานมูลนิธิ

ปีการศึกษา 2538 เปิดสอนในระดับประถมศึกษา คือ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 6 ห้องเรียน ตามแผนงานของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น  นโยบายของรัฐบาลซึ่งนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี

 ปีการศึกษา 2539 เปิดสอนระดับประถมศึกษาเพิ่มอีก 6 ห้องรวมเป็น 12 ห้องเรียน คือ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 6 ห้อง และชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 6 ห้อง

 ปีการศึกษา 2544 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 168 คน ตามโครงการโรงเรียนนำร่องการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โดยใช้ห้องเรียนชั่วคราวที่อาคารอเนกประสงค์

 ปีการศึกษา 2547 ได้ปรับปรุงอาคารสถานที่  ห้องน้ำ ห้องส้วม โรงอาหาร ตลอดจน ภูมิทัศน์ ให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย ให้บริการแก่ครู นักเรียนอย่างทั่วถึง

 ปีการศึกษา 2548 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และงบประมาณลานกีฬาอเนกประสงค์

 ปีการศึกษา 2549 ได้รับงบประมาณอินเตอร์เน็ตชุมชน จำนวน 40 เครื่อง งบประมาณ  712,000 บาท จากเทศบาลนครขอนแก่น

 ปีการศึกษา 2550 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน สปช. 2/28 อาคารปรับปรุง 4 ชั้น ใต้ถุนโล่ง 15 ห้องเรียน

 ปีการศึกษา 2554 สร้างอาคาร 90 ปี โรงเรียนสนามบิน โดยใช้งบประมาณจากการบริจาคของชุมชน

 ปีการศึกษา 2558 สร้างอาคารแบบ 318ล55ก โรงเรียนสนามบิน โดยใช้งบประมาณจากทางราชการ

 ปีการศึกษา 2561 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารพลศึกษาโรงอาหาร แบบ 101 ล แล้วเสร็จในปี 2562 เนื่องในปี 2563 โรงเรียนสนามบินได้ก่อตั้งครบ 100 ปี จึงตั้งชื่ออาคาร 100 ปี โรงเรียนสนามบิน โดยมี พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกตติกฺขปญฺโญ) เป็นประธานในการเปิดป้ายอาคาร

  ปีการศึกษา 2562 สร้างหอพระพุทธสนามบินชินราชหลังใหม่ ใกล้กับประตูทางเข้าด้านถนนประชาสโมสร โดยใช้งบประมาณจากการระดมทรัพยากรจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคี 99 ปี โรงเรียนสนามบิน ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562

ที่มาของชื่อโรงเรียน

[แก้]

เนื่องด้วยผู้บริหารต้องการให้ชื่อโรงเรียนสอดคล้องกับร่องรอยทางประวัติศาสตร์ จึงเปลี่ยนชื่อจาก โรงเรียนสตรีเมืองพระลับ เป็น โรงเรียนสนามบิน พื้นที่กว่า 14 ไร่ของโรงเรียนนี้เคยเป็นพื้นที่ของสนามบินชั่วคราว ราว 100 ปีก่อน

ที่ตั้ง

[แก้]

โรงเรียนสนามบินตั้งอยู่ที่ถนนประชาสโมสร  ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น  โทร. 043 - 236506    

  • ทิศเหนือ  จด  ถนนศูนย์ราชการ
  • ทิศตะวันออก จด ถนนหลังเมือง
  • ทิศใต้     จด  ถนนประชาสโมสร
  • ทิศตะวันตก จด    โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น

พื้นที่ทั้งหมด  :  14 ไร่  2 งาน 50 ตารางวา

นโยบายการศึกษา

[แก้]

วิสัยทัศน์ (VISION) โรงเรียนมาตรฐานสากล สื่อสารสามภาษา ล้ำหน้านวัตกรรม นำเทคโนโลยี เป็นคนดีมีคุณธรรม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา ความรู้ดี มีคุณธรรม

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา สื่อสารสามภาษา

แผนการเรียนการสอนของทางโรงเรียน/หลักสูตร

[แก้]

ระดับปฐมวัย

  • ห้องเรียนทั่วไป (4 ห้อง/ชั้น)
  • ห้องส่งเสริมนวัตกรรมมอนเตสซอรี ภาษาอังกฤษ (1 ห้อง/ชั้น)

ระดับประถมศึกษา

  • ห้องเรียนมาตรฐานสากล (5 ห้อง/ชั้น)
  • ห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ป.1-6) (2 ห้อง/ชั้น)
  • ห้องเรียนภาษาจีน (1 ห้อง/ชั้น)
  • ห้องเรียนภาษาอังกฤษ (2 ห้อง/ชั้น)

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ไทกร พลสุวรรณ นักการเมือง

อาคาร/สถานที่สำคัญภายในโรงเรียน

[แก้]
  • อาคาร 1
  • อาคาร 2
  • อาคาร 3
  • อาคาร 4
  • อาคาร 5
  • อาคาร 6
  • โรงอาหาร
  • ห้องสมุด

รายนามผู้บริหารโรงเรียนสนามบิน

[แก้]
ลำดับ รายนาม วาระดำรงตำแหน่ง
1 นายเกย พุทธารัตน์ 2463 – 2475
2 นายทำ โคตรแสน          2475 – 2477
3 นายผาง สุวรรณรุ่งเรือง 2478 – 2484
4 นายจินดา ศรีนวกุล 2484 – 2491
5 นายบุญ ชูลิขิต   2492 – 2496
6 นายจินดา สุวรรณรุ่งเรือง 2497 – 2497
7 นายดำรง ภักดี 2498 – 2499
8 นายจินดา ศรีนวกุล 2500 – 2500
9 นายสัญญา ศรีอิสาน 2501 – 2505
10 นายสุทิศน์ วันเพ็ญ   2505 – 2505
11 นายอนิรุทธิ์ แสนไชยสุริยา    2505 – 2533
12 นายบัวเรียน นาชัย        2534 – 2547
13 นายบัวเรียน อโรคยนันท์ 2547 – 2559
14 ดร.เวหา  เลพล 2559 - 2562
15 นายนิเทศก์ แสงศรีเรือง 2562 – 2563
16 ดร.เวหา เลพล 2563 – 2564
17 นายสมพงษ์ บุญนาม 2564 - 2565
18 นายธนวรรธน์ ธะนะทำมา 2565 – ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

16°26′19″N 102°50′15″E / 16.4385262°N 102.8375775°E / 16.4385262; 102.8375775