ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล
Watsamakeenukul School
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.น.ก. / S.N.K
ประเภทโรงเรียนรัฐ สังกัด สพฐ.
สถาปนา27 สิงหาคม พ.ศ. 2475
สีสีเขียว-เหลือง
คำขวัญสุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (ความสามัคคีของหมู่คณะนำมาซึ่งความสุข)
เพลงใต้ร่มพิกุล มาร์ชสามัคคีนุกูล
ต้นไม้พิกุล
เว็บไซต์http://www.samakeeschool.com

โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล เป็นโรงเรียนที่เปิดการสอนในระดับอนุบาล-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และเป็นโรงเรียนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนเดิมนี้เป็นโรงเรียนวัด ชื่อ “โรงเรียนวัดปากคลองทอน” ตั้งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ใช้โรงฉันของวัดเป็นที่เล่าเรียน จัดตั้งโดยพระอธิการภู่ ปุญญลาโภ เจ้าอาวาสวัดปากคลองทอน มีนักเรียน 30 คน สามเณรยวง สามเณรจับ สามเณรจ่าย ผลัดเปลี่ยนการทำการสอน

วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2477 ได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนประชาบาล ชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลฉวาง 2 (วัดปากคลองทอน) ตามคำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ 1091/3653 และแต่งตั้งให้นายยอง เพชรช่วย ครูใหญ่โรงเรียนประชาบาลตำบลนาแว 1 (วัดศิลา) มาเป็นครูใหญ่เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 และได้จัดชั้นเรียนตามความรู้เดิม เป็น 3 ชั้นเรียน คือ

  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนชาย 19 คน หญิง 18 คน รวม 37 คน
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีนักเรียนชาย 9 คน หญิง 3 คน รวม 12 คน
  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนชาย 4 คน หญิง 3 คน รวม 7 คน

รวมนักเรียนชาย 32 คน หญิง 24 คน รวม 56 คน การเรียนการสอน มีครู 1 คน และมีสามเณรช่วยสอน 3 รูป

ปี พ.ศ. 2478 จัดชั้นเรียนเป็น 4 ชั้นเรียน ย้ายสถานที่เรียนจากโรงฉันของวัดเข้าเรียนในอุโบสถ เรียนอยู่ 2 ปี ย้ายเข้าเรียนในโรงยาวของวัด

วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2485 นายเขียน ศรีรัตน์ มาเป็นครูใหญ่ในปีนี้ นายวิน แจ้งชัด ได้มอบที่ดินเนื้อที่ 1 ไร ให้เป็นสมบัติโรงเรียน มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ กว้าง 1 เส้น จรเที่นายวิน แจ้งชัด
  • ทิศใต้ กว้าง 1 เส้น จรดที่ดินวัดสามัคคีนุกูล (เดิมชื่อวัดปากคลองทอน)
  • ทิศตะวันออก กว้าง 1 เส้น จรดถนนเข้าหมู่บ้าน (เดิมจดที่นายล้อม เดชารัตน์)
  • ทิศตะวันตก กว้าง 1 เส้น จรดที่นายวิน แจ้งชัด

ที่ดินแปลนี้มี น.ส. 3 ก. เลขที่ 2835 เล่มที่ 29 ข. หน้า 3 เลขที่ดิน 64 ออกให้ ณ วันที่ 3 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2522 ยังเหลือเนื้อที่ตาม น.ส. 3 ก. 3 งาน 53ตารางวา เนื่องจากด้านตะวันออกถูกตัดทำถนนเข้าหมู่บ้าน ก่อนทำ น.ส.3

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2489 นายผล ไชยรัตน์ มาเป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2493 พระอธิการภู่ ปุญญลาโภ เจ้าอาวาส พร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้ให้ที่ดินเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา เป็นที่สร้างอาคารเรียน มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ยาว 2 เส้น 15 วา จรดวัดสามัคคีนุกูล
  • ทิศใต้ ยาว 2 เส้น 15 วา จรดเหมืองน้ำทำนา
  • ทิศตะวันออก กว้าง 1 เส้น 8 วา จรดที่นายแดงนุ้ย โมสิกะ (ปัจจุบันจดถนนเข้าวัดสามัคคีนุกูล)
  • ทิศตะวันตก กว้าง 1 เส้น 8 วา จรดที่นายน้อม จะรา (ปัจจุบันเป็นที่นายสนอง พงษ์พิทยายุทธ)

พ.ศ. 2498 พระอธิการบุญช่วย ฐานวโร เจ้าอาวาสองค์ต่อมา ร่วมกับนายผล ไชยรัตน์ ครูใหญ่ จัดหาเงินสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้ แบบ ป.1 ก. ขนาด 9*36 เมตร 4 ห้อเรียน สร้างในที่ดินที่ได้รับมอบจากพระอธิการภู่ ปุญญลาโภ คือสถานที่ปัจจุบันนี้ สิ้นเงินค่าก่อสร้างทั้งหมด 119,110 บาท จำนวนเงินนี้ได้รับสมทบจากทางราชการด้วย 40,000 บาท

24 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ย้ายนักเรียนเข้าเรียนในอาคารเรียนที่สร้างใหม่ดังกล่าวแล้ว และต่อมาพระอธิการบุญช่วย ฐานวโร ยังได้หาเงินสร้างม้านั่งนักเรียน แบบ ป.3 พิเศษ จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 10,400 บาท

พ.ศ. 2501 ทางอำเภอจัดให้เป็นโรงเรียนปรับปรุง และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากชื่อ “โรงเรียนวัดปากคลองทอน” เป็น “โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล” (ฐานะวโรปุระชาสรรค์) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของวัด ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อจากวัดปากคลองทอนเป็นวัดสามัคคีนุกูล

พ.ศ. 2519 อาคารเรียนถูกพายุเสียหายใช้เป็นที่เล่าเรียนไม่ได้ครูและผู้ปกครองของนักเรียนหาเงินสร้างอาคารชั่วคราว กว้าง 5 เมตร ยาว 24 เมตร เป็นเงิน 10,294 บาท ในปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน เป็นอาคารตึกชั้นเดียว สร้างวันที่ 1 เมษายน 2519 ขนาด 8.5*45 เมตร 5 ห้องเรียน เป็นเงิน 300,000 บาท

ในเดือนพฤษภาคม 2508 นายผล วัฒนพันธ์ หัวหน้าสถานีอนามั้ยชั้น 2 อำเภอฉวาง ร่วมกับคณะครู จัดเป็นโรงเรียนปรับปรุงอนามัยโรงเรียน โดยสร้างประปาโรงเรียนประเภทกอง อนามัยโรงเรียนออกค่าวัสดุทางโรงเรียนหาแรงงานสมทบ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,182.70 บาท

พ.ศ. 2519 หมวดการศึกษาอำเภอฉวางได้ตัดโอนอัตราลูกจ้างประจำตำแหน่งนักการภารโรง ซึ่งเป็นอัตรว่าง เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งเกษียณอายุราชการ

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 นายผล ไชยรัตน์ ได้ลาออกจากราชการ ทางราชการได้แต่งตั้ง นางสุวิมล วัชรมุสิก ครูโรงเรียนนี้เป็นครูใหญ่ ในปีนี้กระทรวงศึกษาธิการให้จัดการเรียนการสอนตารมแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2520 โดยให้เรียนภาคบังคับ เดิมชั้น ป.1 – ป.3 เป็นชั้น ป.1 – ป.6 และใช้หลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ในชั้น ป.1 และขยายไปปีละ 1 ชั้น จนถึงชั้น ป.6 ในปีนี้คณะครูและผู้ปกครองนักเรียน ได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 8.5*18 เมตร โดยใช้ไม้จากอาคารที่ถูกพายุเมื่อปี 2519 เพื่อขยายชั้นเรียน ชั้น ป.5 และ ป.6 ตามแผนการศึกษาชาติ และห้องเก็บพัสดุ เป็นเงิน 25,570 บาท และปีนี้ได้ขยายชั้นเรียนถึง ป.5

พ.ศ. 2522 ได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้น ป.6 ปีนี้จึงจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้น ป.1 – ชั้น ป.6 ตามแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2520 และปีนี้ได้งบประมาณ สร้างส้วม 1 หลัง 3ที่นั่ง เงิน 18,000 บาท

พ.ศ. 2524 สร้างถังประปาแบบ ค.4/4.5 และต่อท่อใช้ภายในโรงเรียน จากเงินบริจาก 18,800 บาท และเงินงบประมาณสมทบจากกระทรวงสาธารณสุข 25,000 บาท รวมเป็นเงินก่อสร้าง 43,800 บาท

พ.ศ. 2527 ได้เงินงบประมาณพัฒนาจังหวัดจากโครงการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยวัน ศรีเปารยะ สร้างสนามบาสเก็ตบอล เป็นเงิน 50,000 บาท

พ.ศ. 2528 ได้งบประมาณจาก สปช. สร้างอาคารเรียน แบบ 102 - 2526 จำนวน 1 หลัง 3 ห้องเรียน เป็นเงิน 500,000 บาท อาคารอเนกประสงค์แบบ 201 – 2526 ขนาด 10 * 12 เมตร 1หลัง เป็นเงิน 200,000 บาท เรือนเพาะชำ 1 หลังเป็นเงิน 15,000 บาท (เสียหายเมื่ออุทกภัย 2531) ได้รับบริจากวัสดุและแรงงานสร้างกำแพงได้ 2 ด้าน

พ.ศ. 2531 ได้รับงบประมาณติดตั้งไฟฟ้าอาคารเรียนและอาคารประกอบทุกหลัง (ติดตั้ง 23 เมษายน 2531) วันที่ 22-25 พฤศจิกายน เกิดอุทกภัย น้ำท่วมวัดจากพื้นอาคารขึ้นไป 2 เมตรเศษ ทำให้วัสดุครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างเสียหายมาก

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2533 นางสุวิมล วัชรมุสิก เกษียณอายุราชการ ทางราชการได้ย้ายและแต่งตั้งให้นายห่วง กฐินหอม ครูใหญ่บ้านปลายคลองเพรง มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนนี้ และในปีนี้ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก 1 ห้องเรียน จึงได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2534 ได้รับบรรจุแต่งตั้งลูกจ้างประจำตำแหน่งนักการภารโรง 1 อัตรา (แต่งตั้งวันที่ 1 สิงหาคม 2534)

อุปสรรคและปัญหาในปัจจุบันคือ ขาดแคลนอัตรกำลังครู อาคารเรียน อาคารเรียนชำรุด เนื่องจากอุทกภัยเมื่อ พ.ศ. 2531 เช่น บานประตูเหล็ก บานพับประตู หน้าต่าง มีดินโคลนจากอุทกภัยเข้าไปติดอยู่ทำให้เกิดสนิม บานพับขาด ตาปูติดยึดโครงบานประตูขาด บานพับขาด ได้ของบประมาณซ่อมแล้วแต่ยังไม่ได้รับการจัดสรร จำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอที่จัดห้องพิเศษให้ครบตามเกณฑ์มาตรฐานได้

ต่อมาโรงเรียนวัดสามัคคีนุกูลได้พัฒนาไปจากเดิมมาก ได้รับเลือกเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลไสหร้า และแต่ละปีจะมีนักเรียนสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ ณ โรงเรียนที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง เช่น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช

ข้อมูลโรงเรียน โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล (Watsamakeenukul School) มีอักษรย่อคือ ส.น.ก. / S.N.K. มีคำขวัญคือ สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (ความสามัคคีของหมู่คณะนำมาซึ่งความสุข) ปรัชญาโรงเรียนคือ ตระหนักในหน้าที่ มีน้ำใจ นิยมไทย มั่นในความดี ก่อตั้ง เมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ประเภท โรงเรียนรัฐ สังกัด สพฐ. มีเพลงประจำโรงเรียนคือเพลง มาร์ชสามัคคีนุกูล และ ใต้ร่มพิกุล ต้นไม้ประจำโรงเรียนคือ ต้นพิกุล สีประจำโรงเรียนคือ สีเขียว-เหลือง ที่ตั้ง เลขที่ 141 หมู่ที่ 2 ตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80150 เว็บ http://www.samakeeschool.com เก็บถาวร 2013-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / เป้าหมาย

[แก้]

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน

[แก้]

"ภายในปี 2556 โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูลมุ่งพัฒนาผู้เรียน เป็นเลิศด้านคุณธรรม วิชาการ พื้นฐานเทคโนโลยี มีมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ มีจิตสำนึก และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีความตะหนักรักท้องถิ่น และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

พันธกิจ

[แก้]

"จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีคุณธรรม รู้จักตนเอง ใช้เทคโนโลยีในการสร้างปัญญา สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

เป้าประสงค์

[แก้]

"โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูลมีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์กร โดยบุคลกรมืออาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน และนำปรัชญาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชุมชนมีความพึงพอใจ"

อัตลักษณ์ เอกลักษณ์

[แก้]

อัตลักษณ์โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล "ดนตรีเด่น เน้นวิชาการ สืบสานความเป็นไทย"

เอกลักษณ์โรงเรียนวัดสามัคคีนุกูล "เด่นวิชาการ"