โรงเรียนวัชรวิทยา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
โรงเรียนวัชรวิทยา | |
---|---|
Watcharawittaya School | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ว.ร. |
ประเภท | รัฐบาล |
คติพจน์ | สจจํ เว อมตา วาจา (วาจาจริงเป็นสิ่งที่ไม่ตาย) |
สถาปนา | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 62012004 |
ผู้อำนวยการ | นายธนายุทธ คลังวงษ์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 |
คำขวัญ | ดนตรีดัง กีฬาเด่น เน้นความรู้ |
เพลง | มาร์ชวัชรวิทยา |
เว็บไซต์ | [1] |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนวัชรวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดการเรียนการสอน แบบสหศึกษา โดยประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเรื่องตั้งโรงเรียนรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2521
ในระยะแรกได้ใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนวัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่เรียน โดยมีนายสมรวม พูลเขียว อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดคูยาง มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนวัชรวิทยา อีกตำแหน่งหนึ่งได้รับโอนนักเรียนมัธยมศึกษามัธยมศึกษาออกจากโรงเรียนวัดคูยาง จำนวนนักเรียน 580 คน ครู- อาจารย์ 17 คน ภารโรง 2 คน โรงเรียนวัชรวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 93 ถนนเทศบาล 2 ต. ในเมือง อ. เมือง จ. กำแพงเพชร มีเนื้อที่ทั้งหมด 44 ไร่ 1 งาน 83 7/10 ตารางวา
ประวัติ
[แก้]พ.ศ. 2522 กรมสามัญศึกษา ได้จัดหาที่ดิน จำนวน 44 ไร่ 1 งาน 83 ตารางวา เป็นที่ตั้งโรงเรียนวัชรวิทยา โดยมีผู้บริจาคที่ดินจำนวน 20 ไร่ คือ นางชะอุ้ม มาลีน้อย 15 ไร นายปิยะ เพชรพรรณ 5 ไร่ สมทบกับบริษัทกำแพงเพชรค้าไม้จำกัด โดย นายสุเทพ จันทราวิโรจน์ จัดซื้อที่ดินเพิ่มอีก 25 ไร่ และกรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราว แบบ 204 จำนวน 8 ห้องเรียน ในปีนี้โรงเรียนจัดแผนชั้นเรียนเป็น 8 - 6 /5 - 3 รวม 22 ห้องเรียน นักเรียน 839 คน
พ.ศ. 2523 ได้ย้ายนักเรียนจำนวน 26 ห้องเรียน นักเรียน 891 คน จากโรงเรียนวัดคูยาง มาเรียนในสถานที่ตั้งโรงเรียนวัชรวิทยาในปัจจุบัน ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 21 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราวแบบโครงเหล็กถอดได้จำนวน 18 ห้องเรียน บ้านพักครูแบบ 202 ก จำนวน 1 หลัง และห้องน้ำ - ห้องส้วม จำนวน 3 หลัง เนื่องจากอาคารเรียนไม่เพียงพอทางโรงเรียนจึงก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ 6 ห้องเรียน ก่อสร้างอาคารกิจกรรมสหกรณ์ 1 หลัง โดยใช้เงินบำรุงการศึกษาก่อสร้างอาคารดังกล่าว และ เงินบริจาคเจาะบ่อบาดาลพร้อมถังเก็บน้ำฝน 2 บ่อ
พ.ศ. 2524 ปีการศึกษานี้ทางโรงเรียนได้อนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ ฉะนั้นจึงจัดชั้นเรียนเป็น 8 - 8 - 6 / 2 - 2 รวม 26 ห้องเรียน มีนักเรียน 959 คน ครูอาจารย์ 57 คน ภารโรง 8 คน
พ.ศ. 2530 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 7 - 7 - 7 / 4 - 4 - 4 รวม 33 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 1,136 คน
พ.ศ. 2531 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 7 - 7 - 6 / 3 - 4 - 3 รวม 30 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 1,035 คน ในปีการศึกษานี้กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรเงินในหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล (ปรับปรุงปี 2529) จำนวน 1 หลัง
พ.ศ. 2532 โรงเรียนได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 7 - 7 - 7 / 2 - 3 - 3 รวม 29 ห้องเรียนจำนวนนักเรียน 977 คน ในปีการศึกษานี้กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรเงินงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างบ้านพักภารโรง/ 32 จำนวน 1 หลัง
ในปีการศึกษานี้ ผอ. สมรวม พลูเขียว ครบเกษียนอายุราชการในเดือน ตุลาคม และมี ผอ. บุญเพ็ญ ทองช่วย มารับตำแหน่งแทน
พ.ศ. 2534 โรงเรียนได้จัดชั้นเรียนเป็น 7 - 7 - 6 / 2 - 2 - 2 รวม 26 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 957 คน
พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้จัดจัดเรียนเป็น 8 - 7 - 7 / 2 - 2 - 2 รวม 28 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 1,023 คน ในปีการศึกษานี้ ท่าน ผอ. บุญเพ็ญ ทองช่วย ย้ายไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนาน้อย อ.นาน้อย จ. น่าน และท่าน ผอ. สมพล ตันติสันติสม มาดำรงตำแหน่งแทน พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 10 - 9 - 7 / 4 - 1 - 1 รวม 32 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 1,253 คน
พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 10 - 9 - 7 / 4 - 1 - 1 รวม 32 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 1,253 คน
พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 9 - 10 - 9 / 4 - 4 - 2 รวม 38 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,406 คน ในปีการศึกษานี้ ท่าน ผอ. สมพล ตันติสันติสม ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดตาก และท่าน ผอ.สมปอง สมนักพงษ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัชรวิทยาแทน
พ.ศ. 2538 โรงเรียนได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 10 - 8 -9 - / 4 - 4 - 4 รวม 39 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,477 คน
พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 10 - 9 - 8 / 4 - 4 - 3 รวม 38 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 1,521 คน มีครู - อาจารย์ปฏิบัติหน้าที่ 71 คน นักการภารโรง - ยาม รวม 9 คน
พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 9 - 10 - 9 / 4 - 4 - 4 รวม 40 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,518 คน มีครู - อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่ 75 คน นักการภารโรง - ยาม รวม 9 คน
พ.ศ. 2541 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 8-8-10/4-4-4 รวม 38 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 1432 คน มีครู - อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่ 74คน นักการภารโรง - ยาม 9 คน
พ.ศ. 2542 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 8-8-8/4/4/4 รวม 36 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 1287 คน มีครู - อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่ 75 คน นักการภารโรง - ยาม 9 คน
พ.ศ. 2543 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 8-8-8/4-4-4 รวม 36 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 1227 คน มีครู - อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่ 74 คน นักการภารโรง - ยาม 9 คน
พ.ศ. 2544 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 10-10-9 / 4-4-3 รวม 40 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 1,321 คน มีครู - อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่ 69 คน นักการภารโรง - ยาม 9 คน ในปีการศึกษานี้ สมปอง สมนักพงษ์ ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม และท่าน ผอ.อำนวย อภิชาติตรากูล ย้ายจากโรงเรียนขาณุวิทยา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนวัชรวิทยาแทน
. พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 10-8-8 / 4-4-4 รวม 38 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 1394 คน มีครู - อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่ 66 คน นักการภารโรง - ยาม 9 คน ในปีการศึกษานี้ มีผู้ช่วยผู้อำนวยการอำนวย วิเชียร ยอดนิล ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนวชิรปราการ วิทยาคม และอาจารย์ลักษณา จงมีความสุข ย้ายจากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม มาดำรงตำแหน่งแทน
. พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 10-8-8/4-4-4 รวม 38 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 1,484 คน มีครู-อาจารย์ปฏิบัติหน้าที่ 64 คน นักการภารโรง-ยาม 6 คน โดยในปีการศึกษานี้โรงเรียนวัชรวิทยาได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดีเด่นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีอาจารย์ย้ายไปปฏิบัติราชการที่อื่น 1 ท่าน คือ นางต้องตา ไชยเสือ และ มีอาจารย์ย้ายมา 1 ท่าน คือ นางสาวนาฏสุดา สุขมาก มีนักการภารโรงจำนวน 2 คน ที่เกษียรอายุ คือ นายดำรง คงรัตน์ และนายเฉลียว จงชานะสิทโธ
พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 10-9-8/3-3-3 รวม 36 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,452 คน มีครู-อาจารย์ปฏิบัติหน้าที่จำนวน 54 คน นักการภารโรง-ยาม จำนวน 6 คน โดยในปีการศึกษานี้โรงเรียนวัชรวิทยาได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทาน และในปีนี้โรงเรียนวัชรวิทยา มีอาจารย์ที่เกษียณอายุราชการทั้งหมด 14 คน และมีผู้ช่วยฝ่ายปกครองย้ายกลับมา 1 ท่านคือ รองวิเชียร ยอดนิล และได้มีอาจารย์ใหม่ย้ายมาช่วยราชการ 1 ท่าน สอนวิทยาศาสตร์ มีครูจ้างสอนพิเศษ เพิ่ม 5 คน และในเดือน ธันวาคม นี้มีครูที่สอบบรรจุได้มาอีก 2 คน ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ คือ นายสุรศักดิ์ โพธิ์บัลลังค์ และนางสาวโชติชญาน์ ไร่นุ่น มีอาจารย์ชาวต่างประเทศ จำนวน 3 คน คือ Mr.Adian D. Fairlie, Mr.Gregory J.Ferebee และ Mrs.Juliet P.Siaka
พ.ศ. 2548 โรงเรียนได้จัดแผนการเรียนเป็น 10-10-10/5-4-4 รวม 43 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,662 คน มีครู- อาจารย์ ปฏิบัติหน้าที่จำนวน 56 คน นักการภารโรง-ยาม-คนขับรถ จำนวน 6 คน โดยในปีการศึกษานี้โรงเรียนวัชรวิทยามีอาจารย์ย้ายมา จำนวน 2 คน คือ นางศุภชลา เพชรแกมทอง และนายสุระศักดิ์ ยอดหงษ์ มีอาจารย์ต่างประเทศ จำนวน 5 คน คือ Mr.Oleg Gaponov ,Mr.Ross Desmeond Waters และMr.Pablo Guadalix
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนวัชรวิทยา เก็บถาวร 2017-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โรงเรียนวัชรวิทยา ที่เฟซบุ๊ก
- ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนวัชรวิทยาในระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน