โรคลมเหตุร้อน
โรคลมเหตุร้อน (Heat stroke) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Sun stroke, siriasis[1] |
ทหารอังกฤษขณะรับการรักษาด้วยสเปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิกาย ซึ่งเป็นการรักษาโรคลมเหตุร้อนวิธีหนึ่ง ถ่ายที่ประเทศอิรักในปี ค.ศ. 1943 | |
สาขาวิชา | เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | อุณหภูมิกายสูง, ตัวแดง, ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, สับสน, อาเจียน[2] |
ภาวะแทรกซ้อน | ชัก, กล้ามเนื้อสลาย, ไตวาย[3] |
ประเภท | คลาสสิก, จากการออกแรง[3] |
สาเหตุ | อุณหภูมิภายนอกสูง, การออกแรงทางกาย[3][4] |
ปัจจัยเสี่ยง | อายุที่สูงมาก, ยาบางชนิด, คลื่นความร้อน, ความชื้นสัมพัทธ์สูง, โรคเกี่ยวกับผิวหนัง, โรคหัวใจ[3] |
วิธีวินิจฉัย | วินิจฉัยจากอาการ[3] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | กลุ่มอาการป่วยที่รุนแรงจากการใช้ยาจิตเวช, มาลาเรีย, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ[3] |
การรักษา | ทำให้เย็นอย่างรวดเร็ว, การดูแลประคับประคอง[4] |
พยากรณ์โรค | ความเสี่ยงการเสียชีวิต <5% (เหตุจากการออกแรง), จนถึง 65% (ไม่ใช่เหตุจากการออกแรง)[3] |
การเสียชีวิต | > 600 รายต่อปี (สหรัฐ)[4] |
โรคลมเหตุร้อน[5][6][7][8][9] หรือ โรคลมแดด[10] (อังกฤษ: heat stroke, heliosis, siriasis, หรือ sunstroke) เป็นอาการเจ็บป่วยจากความร้อนแบบรุนแรงอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิกายสูงเกิน 40.0 องศาเซลเซียสและมีอาการสับสน[4] อาการอื่น เช่น ผิวหนังแดง ปวดศีรษะและวิงเวียน[2] โดยโรคลมแดดโดยทั่วไปไม่มีเหงื่อ แต่สำหรับโรคลมแดดจากการออกแรงโดยทั่วไปมีเหงื่อ โรคลมแดดอาการอาจเป็นแบบฉับพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ โรคนี้มีอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินอย่างรุนแรงและการทำหน้าที่ของหลายอวัยวะผิดปกติเนื่องจากได้รับความร้อน[11] ภาวะแทรกซ้อนอาจมีอาการชัก การสลายของกล้ามเนื้อลายและไตวายได้[3]
โรคลมแดดเกิดจากอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายนอกสูงหรือการออกกำลังกายอย่างหนักเกินไป[3][4] สำหรับผู้ที่มีโรคหรือภาวะประจำตัวบางอย่างจะมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ มักเกิดในผู้ที่ได้รับความร้อนสูงหรือออกแรงเป็นเวลานานซึ่งสามารถป้องกันได้ในบุคคลส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีกรรมพันธุ์แฝงบางอย่างมีความอ่อนไหวต่อโรคลมแดดมากผิดปกติทำให้เกิดอาการได้แม้ได้รับความร้อนที่ค่อนข้างเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก[12]
วิธีป้องกันโรคลมแดด เช่น การดื่มน้ำให้เพียงพอและการเลี่ยงการสัมผัสความร้อนสูง[13] การรักษาโรคลมแดด ได้แก่ การให้ความเย็นแก่ร่างกายและการรักษาประคับประคอง วิธีที่แนะนำ เช่น การพ่นน้ำใส่และใช้พัดลม การแช่ในน้ำแข็ง หรือให้สารน้ำเย็นทางหลอดเลือดดำ วิธีวางแพ็กน้ำแข็งบนตัวนั้นสมเหตุสมผล
โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 600 คนต่อปีในสหรัฐ[4] ซึ่งอัตรานี้เพิ่มขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง 2015[3] โรคนี้มีอัตราเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 5 ในผู้ป่วยโรคลมแดดจากการออกกำลังกาย และสูงถึงร้อยละ 65 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย[3]
ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า Heat Stroke ซึ่งคำว่า Stroke ในที่นี้เป็นการใช้คำผิดความหมาย โรคนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Herrick, RT (1986). "Heat illness in the athlete: siriasis is serious". Alabama Medicine. 55 (10): 28, 33–37. PMID 3706086.
- ↑ 2.0 2.1 "Warning Signs and Symptoms of Heat-Related Illness". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 13, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2017.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 Leon, LR; Bouchama, A (April 2015). "Heat stroke". Comprehensive Physiology. 5 (2): 611–47. doi:10.1002/cphy.c140017. PMID 25880507.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Gaudio, FG; Grissom, CK (April 2016). "Cooling Methods in Heat Stroke". The Journal of Emergency Medicine. 50 (4): 607–16. doi:10.1016/j.jemermed.2015.09.014. PMID 26525947.
- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภา
- ↑ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์แพทยศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน (April, 2556 BE). "พจนานุกรมศัพท์แพทย์ อักษร H (ต่อ)". ธรรมศาสตร์เวชสาร. 13 (2). สืบค้นเมื่อ April 9, 2023.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ กรมแพทย์ทหารเรือ. "คู่มือการป้องกันอันตรายจากความร้อนและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับอันตรายจากความร้อน" (PDF). nmd.go.th. สืบค้นเมื่อ April 9, 2023.[ลิงก์เสีย]
- ↑ จะเกร็ง, จีรนันท์ (january, 2553 BE). "ผลกระทบต่อสุขภาพกายจากการสัมผัสพลังงานความร้อนขณะทำงานในกลุ่มคนทำนาเกลือจังหวัดสมุทรสงคราม". วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2 (special issue 1). สืบค้นเมื่อ april 9, 2023.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help); ระบุ|website=
และ|journal=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ somsak (may 1, 2545 BE). "โรคภัยร้อน". doctor.or.th. สืบค้นเมื่อ april 9, 2023.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ "โรคลมแดด (Heat Stroke) โรคใหม่ที่คุณควรรู้ไว้". โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่. 2019-04-25.
- ↑ Bouchama, Abderrezak; Knochel, James P. (2002-06-20). "Heat Stroke". New England Journal of Medicine. 346 (25): 1978–1988. doi:10.1056/nejmra011089. ISSN 0028-4793. PMID 12075060.
- ↑ Wang, Hui J.; Lee, Chang Seok; Yee, Rachel Sue Zhen; Groom, Linda; Friedman, Inbar; Babcock, Lyle; Georgiou, Dimitra K.; Hong, Jin; Hanna, Amy D.; Recio, Joseph; Choi, Jong Min (2020-10-09). "Adaptive thermogenesis enhances the life-threatening response to heat in mice with an Ryr1 mutation". Nature Communications. 11 (1): 5099. doi:10.1038/s41467-020-18865-z. ISSN 2041-1723. PMID 33037202. PMC 7547078.
- ↑ "Tips for Preventing Heat-Related Illness|Extreme Heat". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). มิถุนายน 19, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 29, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2017.
- ↑ Ryan Davis Philip (November 15, 2016). "Beware of heat stroke". canberrafirstaid.com. สืบค้นเมื่อ April 9, 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Heat stroke ที่ MedicineNet.com
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |