โยลันเดอแห่งอารากอน
โยลันเดอแห่งอารากอน | |
---|---|
โยลันเดอแห่งอารากอน | |
ขุนนางฝรั่งเศส | |
เกิด | 11 สิงหาคม ค.ศ. 1384 |
เสียชีวิต | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1442 |
บิดา | พระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งอารากอน |
มารดา | โยลันเดอแห่งบาร์ |
สามี | หลุยส์ที่ 2 แห่งเนเปิลส์ |
บุตร/ธิดา | มารีแห่งอองชู สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส หลุยส์ที่ 3 แห่งอองชู และอื่นๆ |
บทบาท/งาน | มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิอองชู, ฝรั่งเศส และ อารากอน |
ขุนนางฝรั่งเศส - กษัตริย์ฝรั่งเศส - ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส |
โยลันเดอแห่งอารากอน (อังกฤษ: Yolande of Aragon หรือ Jolantha de Aragon หรือ Violant d'Aragó) (11 สิงหาคม ค.ศ. 1384 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1442[1]) โยลันเดอแห่งอารากอนเป็นเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งอารากอนและโยลันเดอแห่งบาร์
โยลันเดอแห่งอารากอนมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิอองชู, ฝรั่งเศส และ อารากอน ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 15 โยลันเดออ้างสิทธิในราชบัลลังก์อารากอนหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเชษฐภคินีโจน เคานเทสแห่งฟัวซ์พระมเหสีในพระปิตุลาพระเจ้ามาร์ตินที่ 1 แห่งอารากอน แต่บัลลังก์ตกไปเป็นของพระปิตุลาซึ่งอาจจะเป็นเพราะกฎการสืบราชบัลลังก์อาจจะลำเอียงไปทางการมอบสิทธิแก่ทายาทที่เป็นชายก็เป็นได้ แต่พระเจ้ามาร์ตินก็มาสิ้นพระชนม์โดยไม่มีทายาทในปี ค.ศ. 1410 จากนั้นอารากอนก็ไม่มีกษัตริย์อยู่สองปีจนกระทั่งเฟอร์ดินานด์เดออันเตเครา (Ferdinand de Antequera) มาได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์แห่งอารากอน เฟอร์ดินานด์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในพระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งคาสตีลและพระมเหสีองค์แรกเอเลเนอร์แห่งอารากอน
ผู้มีสิทธิสายอองชูก็ได้แก่พระราชโอรสองค์โตของโยลันเดอหลุยส์ที่ 3 แห่งอองชู ดยุกแห่งคาลาเบรีย ผู้มีความเห็นว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิแน่นหนากว่าผู้อ้างสิทธิคนอื่นๆ จนถึงกับเริ่มใช้บรรดาศักดิ์ "กษัตริย์แห่งอารากอน" เมื่อเพิ่มอารากอนเข้าไปในบรรดาดินแดนในการครอบครองโยลันเดอจึงได้รับสมญาว่า "ราชินีสี่อาณาจักร" ที่รวมทั้งซิซิลี, เยรุซาเล็ม, ไซปรัส และอารากอน แต่ตามความเป็นจริงแล้วโยลันเดอและราชตระกูลอองชูก็ครอบครองดินแดนดังกล่าวอยู่เพียงชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Miramarek.genealogy.Eu
- Jehanne d'Orliac, Yolande d'Anjou, la reine des quatre royaumes (Paris, Plon, 1933)
- Philippe Erlanger, Charles VII et son mystère (Paris, Gallimard 1945, Perrin 1973, 1981)
- Philippe Erlanger, 9 femmes qui ont fait la France, Historia (Septembre 1971, pp.40-53)