โยชิกาซุ ฮิงาชิตานิ
โยชิกาซุ ฮิงาชิตานิ | |
---|---|
東谷 義和 | |
สมาชิกราชมนตรีสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 26 กรกฎาคม 2565 – 14 มีนาคม 2566 | |
เขตเลือกตั้ง | สัดส่วน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2514 อิตามิ, ประเทศญี่ปุ่น |
พรรคการเมือง | พรรคปกป้องประชาชนจากเอ็นเอชเค |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนมัธยมปลายอิตามิ-นิชิ |
อาชีพ |
|
โยชิกาซุ ฮิงาชิตานิ (ญี่ปุ่น: 東谷 義和; โรมาจิ: Higashitani Yoshikazu; เกิด 6 ตุลาคม 2514) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ กาชิ (อังกฤษ: GaaSyy; ญี่ปุ่น: ガーシー; โรมาจิ: Gāshī) เป็นอดีตนักการเมืองญี่ปุ่น อดีตยูทูบเบอร์ และอดีตนักธุรกิจ[1] ซึ่งเคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งในราชมนตรีสภาแห่งประเทศญี่ปุ่นในปี 2565 ในฐานะสมาชิกพรรคปกป้องประชาชนจากเอ็นเอชเค[1][2][3] โยชิกาซุถูกขับให้พ้นจากสมาชิกแห่งราชมนตรีสภาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 เนื่องจากไม่เข้าประชุมสภา และในวันถัดมากรมตำรวจนครบาลโตเกียวได้ออกหมายจับข้อหาหมิ่นประมาทผู้มีชื่อเสียงในวิดีโอยูทูบที่โยชิกาซุทำขึ้น
อาชีพการงาน
[แก้]กาชิมีชื่อเสียงในปี 2565 หลังจากเริ่มทำช่องยูทูบที่พูดถึงเรื่องอื้อฉาวที่อาจมีขึ้นในวงการอุตสาหกรรมบันเทิง ช่องของกาชิมีผู้บอกรับสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคนก่อนต้องปิดตัวลงในเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกัน ความสำเร็จของกาชิทำให้ทากาชิ ทาจิบานะ หัวหน้าพรรคปกป้องประชาชนจากเอ็นเอชเคซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการปฏิรูปสื่อสาธารณะของญี่ปุ่นเชิญชวนให้กาชิลงสมัครชิงตำแหน่งในราชมนตรีสภาประจำปี 2565 กาชิยังระบุต่อไปว่าจะปฏิบัติงานจากนอกประเทศ และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงกว่า 287,000 คะแนน[4]
ณ เดือนกรกฎาคม 2565 กาชิอาศัยอยู่ในนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[5] ในเดือนสิงหาคม 2565 กาชิไม่เข้าร่วมประชุมสภาในวันแรกที่กาชิจะต้องเข้าร่วมประชุมโดยอ้างว่ากลัวการจับกุมหากไปปรากฎตัวในญี่ปุ่น เนื่องจากตนถูกกล่าวหาว่ากระทำการฉ้อฉลและหมิ่นประมาทผู้มีชื่อเสียง[6][7] กาชิยังไม่เข้าประชุมสภาแห่งราชมนตรีครั้งอื่น ๆ อีกเลย แต่ยังคงออกความเห็นผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ต่อไป[8]
ในเดือนมกราคม 2566 สถานที่ตั้งที่เกี่ยวข้องกับกาชิและบริษัทจัดการรายได้โฆษณาของกาชิถูกตำรวจเข้าตรวจค้นเพื่อตรวจสอบข้อกล่าวหาการหมิ่นประมาทและคุกคามผู้มีชื่อเสียง และการขัดขวางการดำเนินกิจการ กรมตำรวจนครบาลโตเกียวยังขอให้กาชิเดินทางเข้ามาให้ปากคำด้วยตนเองด้วย[9]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ราชมนตรีสภาเรียกให้กาชิเดินทางมาที่กรุงโตเกียวและขอโทษด้วยตนเองจากการที่กาชิไม่เข้าประชุมสภาในระหว่างที่สภาเปิดประชุม ซึ่งถือเป็นมาตรการทางวินัยลำดับรองสุดท้ายก่อนขับพ้นจากสมาชิกสภา กาชิเดิมให้คำมั่นว่าจะเดินทางไป แต่ปฏิเสธที่จะเดินทางไปเนื่องจากกลัวการถูกดำเนินคดี แม้ว่าสมาชิกสภาในญี่ปุ่นจะมีเอกสิทธิ์คุ้มกันทางกฎหมายที่ไม่ถูกดำเนินคดีก็ตาม การกลับคำเช่นนี้ทำให้ทาจิบานะซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคต้องลาออกและให้อายากะ โอตสึซึ่งเป็นนักแสดงขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน[8] กาชิยังเผยแพร่วิดีโอที่ระบุว่าตนจะเดินทางไปที่กาซีอันเท็พ ประเทศตุรกีเพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและประเทศซีเรีย พ.ศ. 2566[10][11]
คณะกรรมาธิการวินัยแห่งราชมนตรีสภาได้มีมติออกเสียงขับกาชิพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม และราชมนตรีสภาได้ดำเนินการดังกล่าวในวันถัดมา คะแนนเสียงการขับพ้นจากสมาชิกสภามีมติ 235-1 ให้พ้นจากสภา โดยมีซาโตชิ ฮามาดะ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาร่วมพรรคการเมืองเดียวกับกาชิออกเสียงคัดค้านเท่านั้น การขับพ้นจากสมาชิกสภานี้เกิดขึ้นครั้งแรกในรอบกว่า 70 ปี และเป็นครั้งแรกสุดที่มีการขับพ้นสมาชิกเนื่องจากไม่ประชุมสภา[11] หลังจากการออกเสียงขับพ้นจากสมาชิก อายากะ โอตสึซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคแสดงความไม่พึงพอใจโดยระบุว่ากาชิได้ระบุในการหาเสียงอย่างเปิดเผยว่าจะปฏิบัติหน้าที่จากต่างประเทศ ดังนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมต้องยอมรับได้จากการที่กาชิจะเลือกปฏิบัติหน้าที่นอกสถานที่[11]
การขับพ้นจากราชมนตรีสภาทำให้กาชิไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มกันจากการดำเนินคดีที่สมาชิกสภาพึงมีในระหว่างที่เปิดสมัยประชุมสภาอยู่[4][12] ในวันที่ 16 มีนาคม 2566 กรมตำรวจนครบาลโตเกียวได้ยื่นขอหมายจับกาชิในข้อหาเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทที่ปรากฎในวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงบรรณาธิการของกาชิด้วย และยังขอให้กระทรวงการต่างประเทศเรียกให้กาชิส่งคืนหนังสือเดินทางด้วย[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "【比例】NHK党「ガーシー」東谷義和氏が当選確実 ユーチューブ生配信「あざーす。いえーい」 - 社会 : 日刊スポーツ". 日刊スポーツ. July 11, 2022. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ "NHK党のガーシー氏、比例で当選 参議院選挙". 日本経済新聞. July 11, 2022. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ "ガーシーこと東谷義和氏が当選確実 47の暴露話が解禁へ【参院選】 | 東スポのニュースに関するニュースを掲載". 東スポ. July 11, 2022. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Takahara, Kanako (March 16, 2023). "Police seek arrest warrant for expelled lawmaker GaaSyy". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ March 16, 2023.
- ↑ "NHK党のガーシー氏が当選確実". 産経ニュース. July 11, 2022. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ "Diet rejects request by NHK Party lawmaker to remain abroad". The Asahi Shimbun. August 3, 2022. สืบค้นเมื่อ March 15, 2023.
- ↑ Khalil, Shaimaa (March 14, 2023). "GaaSyy: Japan YouTuber MP expelled for never going to work". BBC. สืบค้นเมื่อ March 15, 2023.
- ↑ 8.0 8.1 May, Tiffany; Ueno, Hisako (March 15, 2023). "How to Get Kicked Out of Parliament: Livestream Instead of Legislating". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 16, 2023.
- ↑ "Tokyo police search locations linked to YouTuber lawmaker GaaSyy". The Japan Times. Jiji Press, Kyodo News. January 13, 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-18. สืบค้นเมื่อ March 16, 2023.
- ↑ Khalil, Shaimaa (March 15, 2023). "GaaSyy: Japan YouTuber MP expelled for never going to work". BBC News. สืบค้นเมื่อ March 15, 2023.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Yamamoto, Arata; Gupta, Kamakshi (March 15, 2023). "Japanese YouTuber loses seat in Parliament after not showing up to work". NBC News. สืบค้นเมื่อ March 16, 2023.
- ↑ Ninivaggi, Gabriele; Takahara, Kanako (March 14, 2023). "Upper House committee votes to expel GaaSyy from Japan's parliament". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ March 16, 2023.