ข้ามไปเนื้อหา

โมเมนต์แผ่นดินไหว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โมเมนต์แผ่นดินไหว เป็นปริมาณที่นักวิทยาแผ่นดินไหวใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหว โมเมนต์แผ่นดินไหวสเกลาร์ นิยามตามสมการ

โดยที่

  • เป็นโมดูลัสของแรงเฉือนของหินที่เกี่ยวข้องในแผ่นดินไหว (หน่วยเป็นดายน์ / ซม.2)
  • เป็นพื้นที่การแตกตามแนวรอยเลื่อนที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น (หน่วยเป็น ซม.2) และ
  • เป็นค่าการกระจัดเฉลี่ยของ (หน่วยเป็น ซม.)

โมเมนต์แผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวตามปกติแล้วจะประเมินโดยใช้ข้อมูลอะไรก็ตามที่จำกัดปัจจัยของมันได้ สำหรับแผ่นดินไหวสมัยใหม่ โมเมนต์มักถูกประเมินจากบันทึกการสั่นไหวพื้นดินของแผ่นดินไหว ซึ่งรู้จักกันว่า บันทึกคลื่นไหวสะเทือน (seismogram) สำหรับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนจะมีเครื่องมือวัดสมัยใหม่ โมเมนต์อาจถูกประเมินจากการประเมินขนาดการแตกของรอยเลื่อนทางภูมิศาสตร์และการกระจัด

โมเมนต์แผ่นดินไหวเป็นรากฐานของมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งเสนอโดย ฮิโรโอะ คานาโมริ ซึ่งมักถูกใช้เปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวมากกว่าหนึ่งครั้ง และมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการเปรียบเทียบขนาดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

อ้างอิง

[แก้]
  • Aki, Keiiti (1966). "4. Generation and propagation of G waves from the Niigata earthquake of June 14, 1964. Part 2. Estimation of earthquake moment, released energy and stress-strain drop from G wave spectrum" (PDF). Bulletin of the Earthquake Research Institute. 44: 73–88.
  • Aki, Keiti (2002). Quantitative seismology (2 ed.). University Science Books. ISBN 0-935702-96-2. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Fowler, C. M. R. (1990). The solid earth. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-38590-3.

ดูเพิ่ม

[แก้]