โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ
โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 9 กันยายน พ.ศ. 2537 | |||
บันทึกเสียง | พ.ศ. 2536 - กรกฎาคม พ.ศ. 2537 | |||
แนวเพลง | ออลเทอร์นาทิฟร็อก กรันจ์ | |||
ค่ายเพลง | เบเกอรี่มิวสิก | |||
โปรดิวเซอร์ | กมล สุโกศล แคลปป์ | |||
ลำดับอัลบั้มของโมเดิร์นด็อก | ||||
| ||||
ภาพปกอัลบั้มเพิ่มเติม | ||||
โมเดิร์นด็อก (Back Catalog) โมเดิร์นด็อก (Back Catalog) | ||||
โมเดิร์นด็อก-เสริมสุขภาพ เป็นอัลบั้มชุดแรกของวงโมเดิร์นด็อก ศิลปินกลุ่มแรกของบริษัทเบเกอรี่ มิวสิก ที่จุดกระแสดนตรีแนวโมเดิร์นร็อกให้แก่วงการดนตรีเมืองไทย มีเพลง "บุษบา" เป็นเพลงเปิดตัว และเพลง ...ก่อน ที่สร้างมิติใหม่ในวงการวิทยุ ติดชาร์ตคลื่นวิทยุยาวนานถึง 1 ปีเต็ม[1] ยกเว้นเพลงบางสิ่ง เพลงที่เหลือเป็นการบันทึกเสียงสดทั้งสิ้น ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540 มีการเปลี่ยนปกและเพิ่มเพลงในชุด โมเดิร์นด็อก (Back Catalog)[2]
นิตยสาร Generation Terrorist (GTM) จัดให้อัลบั้มเสริมสุขภาพติดอันดับ 1 ใน 15 อัลบั้มอัลเทอร์เนทีฟไทยอดเยี่ยมตลอดของ GT[3]
รายชื่อเพลง
[แก้]- บุษบา (Busaba)
- กะลา (Gala)
- ...ก่อน (Before)
- มานี (Manee)
- พรุ่งนี้ (Tomorrow)
- เธอ (You)
- ชีวิต (Life)
- ทุเรียน (Durian)
- บางสิ่ง (Something)
- หมดเวลา (Out of Time) (Demo)
- กะลา (Gala) (ARP17409 Trance)*
- กะลา (Gala) (Barkin' Mix)*
- ไม่มีการจัดทำเป็นเทป เนื่องจากเนื้อเทปไม่พอ
- ในอัลบั้ม โมเดิร์นด็อก (Back Catalog) เพิ่มเพลง ...ก่อน (Acoustic) , กะลา (Barkin' Mix), มานี และ บางสิ่ง (บันทึกการแสดง จาก Dog On Stage World Tour ที่ เอ็มบีเค ฮอลล์ มาบุญครองเซ็นเตอร์) ต่อจากเพลง หมดเวลา
รายละเอียดเพลง
[แก้]"บุษบา"
[แก้]"บุษบา" มีจุดเริ่มต้นจากเพลงที่ บอย โกสิยพงษ์ ได้แต่งไว้ ต่อมาจึงให้ป๊อดนำไปแต่งใหม่โดยเป็นแบบใดก็ได้ แนวคิดเริ่มแรกมาจากการที่ได้ยินคนชอบบ่น ว่ารถคันอื่นบนถนนทำให้การจราจรติดขัด แต่ลืมไปว่าตัวเองก็เป็นหนึ่งในรถบนถนนเดียวกัน[1]ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2549 แฟตเรดิโอ เปิดเพลงนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 1 วันเต็มๆ นอกจากนี้ยังเคยถูกนำมาร้องใหม่ โดย ส้ม อมรา ศิริพงศ์ ในอัลบั้ม Re-Baked อีกด้วย
"กะลา"
[แก้]"กะลา" เคยถูกนำมาร้องใหม่โดย กรู๊ฟไรเดอร์ส ในอัลบั้ม Bakery's Sound Revisited
"ชีวิต"
[แก้]"ชีวิต" เป็นเพลงที่เริ่มแต่งสำหรับอัลบั้มชุดนี้ เริ่มแต่งตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2536[1]
"ทุเรียน"
[แก้]"ทุเรียน" มีที่มาจากการพูดคุยระหว่างป๊อด และ วรุฒม์ ปันยารชุน เพื่อสรรเสริญคนที่ไม่ได้มองอะไรแต่เพียงผิวเผินภายนอก[1]
"บางสิ่ง"
[แก้]"บางสิ่ง" เป็นเพลงแรกที่ทางวงร่วมทำงานกับสุกี้ โดนสุกี้ทำดนตรีเสร็จไว้ก่อนแล้วจึงนำให้ป๊อดเขียนเนื้อร้องและทำนอง ซึ่งป๊อดแต่งมาจากฝันหลังจากตื่นมาในช่วงกลางดึก[1] พ.ศ. 2547 เป็นเพลงเดียวในอัลบั้มที่ไม่ได้บันทึกเสียงสดทั้งหมด และภายหลังถูกนำมาร้องใหม่ โดย บีไฟว์
ปก
[แก้]ออกแบบโดย วรุฒม์ ปันยารชุน โดยใช้ชื่อว่า Peeping Tom มีแนวคิดจากการต้องการเปรียบเปรยเกี่ยวกับการหวนหาอดีต จึงนำเอาโปสเตอร์หนังมาแปะซ้อนกันเพื่อให้เกิดเนื้อหาใหม่ๆ อย่างเช่นรูปผู้หญิงบนหน้าปกก็ต้องการให้เกิดความสงสัยและสนใจว่าใครคือผู้หญิงคนนั้น[1]
ในชุด โมเดิร์นด็อก (Back Catalog) เลือกเอาภาพ มิตร ชัยบัญชา เพราเป็นนักแสดงเก่าที่เท่ แต่ตกเฮลิคอปเตอร์ตาย ในเรื่อง อินทรีทอง จึงนำภาพมากลับหัว ทำออกมาสนุกๆ ส่วนเลข ๑ ก็หมายถึงชุดแรก[2]