โมลนูพิราเวียร์
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่ออื่น | MK-4482, EIDD-2801 |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
UNII | |
KEGG | |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C13H19N3O7 |
มวลต่อโมล | 329.31 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
โมลนูพิราเวียร์, อังกฤษ: Molnupiravir (รหัสการพัฒนา MK-4482 และ EIDD-2801) เป็นยาต้านไวรัสทดลองซึ่งออกฤทธิ์โดยการให้ทางปาก ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเป็นโปร-ดรักของอนุพันธ์ของ เอ็น4-ไฮดรอกซีไซติดีน (N4-hydroxycytidine ของนิวคลีโอไซด์สังเคราะห์ และออกฤทธิ์ต้านไวรัสโดยการนำข้อผิดพลาดในการคัดลอกระหว่างการจำลองแบบของไวรัสอาร์เอ็นเอ[1][2] นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนา เช่น ซาร์ส, เมอร์ส และ SARS-CoV-2[3]
ยาดังกล่าวได้รับการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยเอมอรี (Emory University) โดย บริษัทนวัตกรรมยา ไดร์ฟ (Drug Innovation Ventures at Emory; DRIVE) ของทางมหาวิทยาลัย จากนั้นถูกซื้อสิทธิ์โดยบริษัท ริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ (Ridgeback Biotherapeutics) ซึ่งตั้งอยู่ในไมอามี และได้ร่วมมือกับบริษัทเมอร์ค (Merck & Co.) ในการพัฒนายาต่อไป
ข้อวิจารณ์เรื่องความปลอดภัย
[แก้]ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 การแจ้งเบาะแสโดย ริค ไบรท์ (Rick Bright) อดีตหัวหน้าสำนักงานวิจัยและพัฒนาชีวเวชภัณฑ์ชั้นสูงสหรัฐ (BARDA) เปิดเผยความกังวลเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนสำหรับการพัฒนาโมลนูพีราเวียร์ต่อไป เนื่องจากยาที่คล้ายคลึงกันพบว่ามีคุณสมบัติเป็นสารก่อกลายพันธุ์ (ทำลายดีเอ็นเอ)[4] บริษัท (ที่ปิดตัวลงแล้ว) ฟาร์มาสเซ็ต (Pharmasset) ซึ่งตรวจสอบสารออกฤทธิ์ของยาได้ยกเลิกการตรวจสอบ แต่ข้อเรียกร้องเหล่านี้ถูกปฏิเสธโดยจอร์จ เพนเตอร์ (George Painter) ประธานบริหารของไดร์ฟ (DRIVE) โดยให้ข้อสังเกตว่าได้มีการเผยแพร่ผลศึกษาความเป็นพิษของโมลนูพิราเวียร์ และให้ข้อมูลแก่หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐและสหราชอาณาจักร ซึ่งอนุญาตให้มีการศึกษาด้านความปลอดภัยในมนุษย์เพื่อดำเนินการพัฒนาต่อในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2563 นอกจากนั้นบริษัท ไดร์ฟ และริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ยังระบุว่าในอนาคตมีแผนที่จะศึกษาความปลอดภัยในสัตว์[5]
โควิด-19
[แก้]หลังจากพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการทดสอบโมลนูพิราเวียร์ในการศึกษาเบื้องต้นในมนุษย์เรื่อง "ความปลอดภัย, ความทนทานต่อยา และเภสัชจลนศาสตร์" ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ[6] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 บริษัทริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ประกาศว่าจะเริ่มต้นทดลองในระยะที่ 2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาในการรักษาโควิด-19[7] การทดลองสองครั้งของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและที่ไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในสหรัฐและสหราชอาณาจักรดำเนินการในเดือนกรกฎาคม[8][9] ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยที่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการแพทย์ใด ๆ บริษัทเมอร์ค ซึ่งเป็นพันธมิตรกับริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ในการพัฒนายาได้ประกาศความตั้งใจที่จะเริ่มการทดลองขั้นสุดท้ายของยาโมลนูพิราเวียร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563[10] เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เมอร์คเริ่มการทดลองระยะที่ 2/3 เป็นเวลา 1 ปี โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[11]
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการเผยแพร่บทความซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ เกี่ยวกับผลการศึกษาของการรักษาเฟร์ริตที่ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยยาโมลนูพิราเวียร์[12] จากการศึกษาพบว่ายามีประสิทธิภาพ "เมื่อให้ทางปากกับเฟร์ริตที่ติดเชื้อ และป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสระหว่างเฟร์ริตหลังจาก 24 ชั่วโมงภายหลังการให้ยา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Toots M, Yoon JJ, Cox RM, Hart M, Sticher ZM, Makhsous N, และคณะ (October 2019). "Characterization of orally efficacious influenza drug with high resistance barrier in ferrets and human airway epithelia". Science Translational Medicine. 11 (515): eaax5866. doi:10.1126/scitranslmed.aax5866. PMC 6848974. PMID 31645453.
- ↑ Toots M, Yoon JJ, Hart M, Natchus MG, Painter GR, Plemper RK (April 2020). "Quantitative efficacy paradigms of the influenza clinical drug candidate EIDD-2801 in the ferret model". Translational Research. 218: 16–28. doi:10.1016/j.trsl.2019.12.002. PMID 31945316. PMC 7568909.
- ↑ Sheahan TP, Sims AC, Zhou S, Graham RL, Pruijssers AJ, Agostini ML, และคณะ (April 2020). "An orally bioavailable broad-spectrum antiviral inhibits SARS-CoV-2 in human airway epithelial cell cultures and multiple coronaviruses in mice". Science Translational Medicine. 12 (541): eabb5883. doi:10.1126/scitranslmed.abb5883. PMC 7164393. PMID 32253226.
- ↑ Halford, Bethany. "An emerging antiviral takes aim at COVID-19". สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
- ↑ Cohen, Jon; Piller, Charles (13 May 2020). "Emails offer look into whistleblower charges of cronyism behind potential COVID-19 drug". Science. สืบค้นเมื่อ 1 August 2020.
- ↑ "COVID-19 First In Human Study to Evaluate Safety, Tolerability, and Pharmacokinetics of EIDD-2801 in Healthy Volunteers". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "Ridgeback Biotherapeutics Announces Launch of Phase 2 Trials Testing EIDD-2801 as Potential Treatment for COVID-19". Business Wire. สืบค้นเมื่อ 4 July 2020.
- ↑ "A Safety, Tolerability and Efficacy of EIDD-2801 to Eliminate Infectious Virus Detection in Persons With COVID-19". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 4 July 2020.
- ↑ "The Effect of EIDD-2801 on Viral Shedding of SARS-CoV-2 (COVID-19)". ClinicalTrials.gov. สืบค้นเมื่อ 4 July 2020.
- ↑ Court, Emma (31 July 2020). "Merck pushes ahead on COVID-19 treatment, vaccines". สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
- ↑ "ClinicaL trials register : Efficacy and Safety of Molnupiravir (MK-4482) in Hospitalized Adult Participants With COVID-19 (MK-4482-001)". U.S. National Library of Medicine.
- ↑ Robert M. Cox; Josef D. Wolf; Richard K. Plemper (2020-12-03). "Therapeutically administered ribonucleoside analogue MK-4482/EIDD-2801 blocks SARS-CoV-2 transmission in ferrets". Nature Microbiology. Vol. 6 no. 11–18. doi:10.1038/s41564-020-00835-2.