โมนาไซด์
โมนาไซด์ | |
---|---|
การจำแนก | |
ประเภท | แร่ฟอสเฟต |
สูตรเคมี | (Ce,La) PO4 |
คุณสมบัติ | |
สี | น้ำตาล, เหลือง, ชมพู, เขียว, เทา |
โครงสร้างผลึก | โมโนคลินิก |
แนวแตกเรียบ | Distinct on [100] poor on [010] |
ค่าความแข็ง | 5.0 - 5.5 |
ความวาว | วาวแบบยางสน, แบบแก้วจนถึงแบบเพชร |
ดรรชนีหักเห | nα = 1.770–1.793 nβ = 1.778–1.800 nγ = 1.823–1.860 |
คุณสมบัติทางแสง | Biaxial (+) |
สีผงละเอียด | สีขาว |
ความถ่วงจำเพาะ | 4.6–5.7 (4.98–5.43 for Monazite-Ce) |
อ้างอิง: [1] |
โมนาไซต์ (อังกฤษ: Monazite) [2] เป็นแร่กัมมันตรังสี (Radioactive mineral) ชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่มแร่ธาตุหายาก (Rare-earths) โดยเป็นแร่ในกลุ่มฟอสเฟสธาตุทอเรียมและยูเรเนียม เป็นองค์ประกอบสำคัญ ) [3]
คุณสมบัติทางฟิสิกส์
[แก้]เกิดอยู่ในระบบผลึก Monoclinic โดยผลึกที่พบมักมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นมวลเมล็ดไม่แสดงรูปผลึกหรือแสดงรูปผลึกไม่ชัดเจน มีสีเหลืองน้ำตาลเหลือง น้ำตาลแดง ส่วนใหญ่มักอมเขียวหรือบางครั้งเกือบขาว ความวาวของผิวแร่คล้ายขี้ผึ้งจนถึงคล้ายแก้ว โปร่งแสง ความถ่วงจำเพาะ 4.6-5.4 โดยเพิ่มขึ้น ตามปริมาณธาตุทอเรียม ภายใต้แสงอัลตร้าไวโอเลต คลื่นสั้นจะให้สีเขียวสามารถตรวจวัดกัมมันตรังสีได้ด้วยเครื่อง Geiger Counter หรือเครื่อง Survey Meter มีคุณสมบัติติดแม่เหล็กอย่างอ่อนและไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า[4]
คุณสมบัติทางเคมี
[แก้]บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
สูตร (Ce, La, Y, Th) Po4 ธาตุ Th ประกอบอยู่ ในรูป ThO2 ตั้งแต่ 2-20%, อัตราส่วน ของ Ce ต่อ La ประมาณ 1ต่อ1, Th มักแทนที่ Ce,La ได้เสมอ ตั้งแต่ปริมาณเล็กน้อยไปจนถึง 10-20% ของ ThO2, ส่วนธาตุ Y แทนที่ Ce,La ได้เล็กน้อย, ซิลิก้า (SiO4) มักปนอยู่ด้วย และรวมอยู่ในรูป Thorite (ThSiO4) จากผลวิเคราะห์ของ Rare-earth Oxides + Thoria (REO+ Thoria) มีตั้งแต่ 55% ขึ้นไป[5]
การกำเนิด
[แก้]โดยทั่วไปแร่โมนาไซต์พบเกิดเป็นแร่รองในหินแกรนิต ไนส์ แอไพลต์ และเพกมาไทต์ มักพบในลักษณะเป็นเม็ดขนาดเม็ดทราย แสดงรอยถูกครูดเพราะการผุสลายของหินที่กล่าวข้างต้น แล้วถูกพัดพามาสะสมตัวอยู่ร่วมกับแร่หนักชนิดอื่นๆ เช่น แมกนีไทต์ ดีบุก โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ อิลเมไนต์ รูไทล์ การ์เนต ซีโนโทม์ อิลเมนไนต์และเซอร์คอน
แหล่งที่พบ
[แก้]ส่วนใหญ่พบในแหล่งแร่ดีบุกเกือบทุกแหล่ง ทั้งแหล่งลานแร่บนบก พบตามหาดทรายและตามท้องน้ำลำธารทั่วไปที่ใกล้ภูเขาหินแกรนิต หรือหินไนส์ อย่างไรก็ตาม ความสมบูรณ์ของแร่โมนาไซต์ เมื่อเทียบกับแร่ดีบุกแล้วต่ำมาก จากตัวอย่างหลุมสำรวจอาจเจอแร่โมนาไซต์ ตั้งแต่เพียงร่องรอย (Trace) หรือในปริมาณ ที่ต่ำกว่า 0.001% ในขณะที่แร่ดีบุก มีความสมบูรณ์พอที่จะทำเหมืองได้ตั้งแต่ 0.012% ขึ้นไป
- ในประเทศไทย พบได้บริเวณชายฝั่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร[6]
ผลผลิต
[แก้]โมนาไซต์เป็นแร่พลอยได้จากการทำเหมืองแร่ดีบุก เช่นเดียวกับแร่หนัก หรือแร่หายากชนิดอื่น ๆ ในอดีตเคยมีการผลิตแร่โมนาไซต์โดยการแต่งแร่ดีบุก
ประโยชน์
[แก้]โมนาไซต์เป็นแร่สำคัญที่ให้ทอเรียมออกไซด์ รวมถึงธาตุหายากชนิดเบา ได้แก่ ซีเรียม และแลนทานัม ทอเรียม เป็นธาตุกัมมันตรังสี คือ 232Th โลหะทอเรียมและทอเรียมออกไซด์มีจุดหลอมตัวที่สูงมาก จึงนำมาใช้ทำวัสดุที่ทนความร้อนสูง เช่น ไส้หลอดไฟฟ้า ไส้หลอดตะเกียงเจ้าพายุ ทำขั้วถ่านกำเนิดแสงจากการนำประจุไฟฟ้ามาชนกัน (arc light) ธาตุหายากที่เกิดร่วมยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการแตกตัวของปิโตรเลียมเหลว นอกจากนี้ยังใช้ทำสารประกอบสำหรับขัดแก้ว และสารเติมแต่งในอุตสาหกรรมแก้ว ทำแม่เหล็กถาวร อุปกรณ์กีฬา ทำสารเร่งปฏิกิริยาการเรืองแสงของอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหลอดภาพโทรทัศน์ หลอดไฟฟ้า และรังสีเอกซ์ ทำสารกึ่งตัวนำ
กลุ่มแร่ธาตุหายากและแร่กัมมันตรังสี
[แก้]แร่ Xenotime (YPO4) แร่ Uraninite (UO2) แร่ Thorianite (ThO2) แร่ Monazite (Ce,La,Y,Th) PO4 แร่ Thorite (ThSiO4) แร่ Bastnaesite (CeFCO3)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Monazite. Handbook of Mineralogy. (PDF) . Retrieved on 2011-10-14.
- ↑ แร่โมนาไซต์ (Monazite)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "โมนาไซต์ (Monazite)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
- ↑ แร่โมนาไซต์ (Monazite)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Monazite". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2011-02-22.
- ↑ http://mrdata.usgs.gov/ree/ree.php?mineral=monazite