ข้ามไปเนื้อหา

โพรโมเตอร์ (พันธุศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNAP), 2: Repressor, 3: Promoter, 4: Operator, 5แล็กโทส, 6: lacZ, 7: lacY, 8: lacA.

(บน) การถอดรหัสยีนแล็กเทสจะไม่เกิด เพราะไม่มีแล็กโทสเพื่อยับยั้งตัวกด (repressor) ดังนั้นตัวกดก็จะจับกับโอเพอเรเตอร์ซึ่งขัดขวาง RNAP ไม่ให้จับกับโพรโมเตอร์แล้วสร้างเอ็มอาร์อ็นเอที่เข้ารหัสยีนแล็กเทส

(ล่าง): การถอดรหัสยีนแล็กเทสจะเกิดได้ แล็กโทสจะยับยั้งตัวกดทำให้ RNAP เข้าจับกับตัวกดได้แล้วแสดงออกยีนซึ่งใช้สังเคราะห์แล็กเทส ในที่สุดแล็กเทสก็จะย่อยสลายแล็กโทสทั้งหมดจนไม่มีที่จะจับกับตัวกด ซึ่งก็จะเข้าจับกับโอเพอเรเตอร์เป็นการหยุดผลิตแล็กเทส

ในสาขาพันธุศาสตร์ โพรโมเตอร์ (อังกฤษ: promoter) เป็นลำดับดีเอ็นเอซึ่งโปรตีนเข้าจับเพื่อเริ่มถอดรหัสอาร์เอ็นเอหน่วยหนึ่งจากดีเอ็นเอฝั่งปลายสาย อาร์เอ็นเอนี้อาจเข้ารหัสโปรตีนอย่างหนึ่ง หรืออาจมีหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ เช่นเป็นทีอาร์เอ็นเอ เอ็มอาร์เอ็นเอ หรือไรโบโซมอลอาร์เอ็นเอ โพรโมเตอร์จะอยู่ในตำแหน่งต้น ๆ ของยีนที่จะถอดรหัส คืออยู่ทางฝั่งต้นสายบนดีเอ็นเอ (ทางด้าน 5') อาจมีขนาดประมาณ 100-1,000 คู่เบส ลำดับยีนของโพรโมเตอร์จะขึ้นอยู่กับยีนและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการถอดรหัส ขึ้นอยู่กับชนิดของอาร์เอ็นเอพอลิเมอเรสที่ใช้ถอดรหัส และขึ้นอยู่กับสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Sharan, Roded (2007-01-04). "Analysis of Biological Networks: Transcriptional Networks - Promoter Sequence Analysis" (PDF). Tel Aviv University. สืบค้นเมื่อ 2012-12-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]