ข้ามไปเนื้อหา

โพรโทพลาสซึม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โพรโทพลาสซึม (อังกฤษ: protoplasm) เป็นสารกึ่งของเหลวอยู่ภายในของเซลล์ทั้งหมด ซึ่งประกอปด้วย นิวเคลียส (Nucleus) และ ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm) มีความหนืด โปร่งแสง ไม่มีสี ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ หากเป็นของพืชจะมีคลอโรพลาสต์(Chloroplast) รวมอยู่ด้วย เมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมจะแสดงคุณสมบัติการมีชีวิตได้[1][2]

คุณสมบัติของทางเคมี

[แก้]
  1. ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำประมาณ 75-90 เปอร์เซ็นต์
  2. เป็นสารประกอบเชิงซ้อนซึ่งจะอยู่ในรูปของ colloid
  3. ประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆประมาณ 36 ธาตุในปริมาณต่างๆกัน

คุณสมบัติทางกายภาพ

[แก้]
  1. มีลักษณะเป็นของเหลวโปร่งใสดูภายนอกคล้ายวุ้น
  2. สามารถเปลี่ยนจากลักษณะเหลวเป็นแข็งสลับไปมาได้
  3. นำไฟฟ้าได้ต่ำ
  4. มีแรงตึงผิวสูง

คุณสมบัติทางชีวภาพ

[แก้]
  1. สืบพันธุ์ได้โดยการแบ่งตัว
  2. มีเมตตาบอลิซึมและต้องการพลังงาน
  3. เจริญเติบโตได้
  4. กรณีปกติโพรโทพลาสซึมมีชีวิตในรูปของเซลล์
  5. เคลื่อนไหวได้เช่น การเคลื่อนไหวของ chloroplast ในสาหร่ายหางกระรอก หรือการเคลื่อนไหวของอาหารใน Paramecium.
  6. สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้
  7. สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "องค์ประกอบของเซลล์พืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-10. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  2. โพรโทพลาสซึม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]