ข้ามไปเนื้อหา

โป๊ยเซียน (พืช)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โป๊ยเซียน
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
สกุล: Euphorbia
สปีชีส์: E.  milii
ชื่อทวินาม
Euphorbia milii
Des Moul.

โป๊ยเซียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Euphorbia milli) เป็นหนึ่งในไม้มงคล จัดอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับพืชหลายชนิด เช่น ต้นคริสต์มาส และส้มเช้า

โป๊ยเซียน (八仙) มาจากภาษาจีน แปลว่าเทพยดาทั้ง 8 องค์ ได้แก่ เซียนทิก๋วยลี้ เซียนฮั่นจงหลี เซียนลือท่งปิน เซียนเจียงกั๋วเล้า เซียนหลันไฉ่เหอ เซียนฮ่อเซียนโกว เซียนหันเซียงจือ เซียนเชาก๊กกู๋ เชื่อกันว่า ถ้าบ้านใดมีดอกโป๊ยเซียนครบ 8 ดอก จะนำความโชคดีมาให้แก่บ้านของผู้นั้น

ลักษณะโดยทั่วไป

[แก้]

ใบยาวรี ปลายใบจะแหลม ออกดอกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละดอกจะมีกลีบอยู่ตรงข้ามกัน ดอกโป๊ยเซียนมีหลายสี เช่น แดง เหลือง ชมพู ส้ม ขาว เป็นต้น ดอกโป๊ยเซียนจะออกดอกทั้งปี แต่ออกมากในหน้าหนาว และดอกจะทนมาก ลำต้นมีหนามแหลม และแข็งคล้ายกระบองเพชร

การขยายพันธุ์โป๊ยเซียน

[แก้]

สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ที่นิยมทำมากและได้ผลดีคือ การปักชำ และการเสียบกิ่ง

การดูแลรักษา

[แก้]

เนื่องจากโป๊ยเซียนเป็นพืชมงคล ผู้ปลูกจึงควรดูแลรักษามากเป็นพิเศษเพราะมันมีคุณค่าทางจิตใจ ผู้ปลูกจึงควรปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดี และควรจะมีการดูแลรักษาที่ดีด้วย

ดินที่นำมาปลูก ควรเป็นดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่เช่นนั้นรากโป๊ยเซียนอาจเน่าได้ ที่สำคัญควรเปลี่ยนดินทุก ๆ ปี

แสงแดด โป๊ยเซียนเป็นพืชที่ชอบแดด จึงควรให้โป๊ยเซียนได้รับแสงแดดที่เพียงพอ ถ้ามากไปดอกจะเล็ก แต่ถ้าน้อยไปดอกจะโต ต้นจะไม่แข็งแรง

น้ำ โป๊ยเซียนทนต่อสภาพแล้งได้ดีพอสมควร จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน ถ้าโป๊ยเซียนอยู่ในช่วงออกดอก ไม่ควรรดน้ำที่ดอกเพราะจะทำให้ดอกเน่าและร่วงเร็ว และหากรดน้ำมากเกินไป จะทำให้โป๊ยเซียนเป็นโรครากเน่า และเกิดเชื้อราขึ้นในดินที่ใช้ปลูก

ปุ๋ย สามารถใส่ได้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมักจะทำให้ดินร่วนซุย ควรให้ปุ๋ยแก่โป๊ยเซียนเดือนละ 1-2 ครั้ง

การตัดแต่งกิ่ง โป๊ยเซียนบางพันธุ์อาจแตกกิ่งออกมามาก ทำให้ใบอาจจะไปปิดบังแสง แล้วทำให้อากาศไม่ถ่ายเท จึงควรมีการตัดแต่งกิ่งทั้งเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และเพื่อความสวยงาม นอกจากนี้กิ่งที่ตัดออกมายังสามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้อีกด้วย

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Euphorbia milii ที่วิกิสปีชีส์