โปรเจกต์ซีฮอร์ส
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ตราสัญลักษณ์โปรเจกต์ซีฮอร์ส | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1996 |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | อแมนดา วินเซนต์ เฮเทอร์ โคลดวีย์ |
ที่ตั้ง | |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
เว็บไซต์ | seahorse |
โปรเจกต์ซีฮอร์ส (อังกฤษ: Project Seahorse) เป็นองค์กรอนุรักษ์ทางทะเลที่มุ่งมั่นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งโดยทั่วไป และม้าน้ำโดยเฉพาะ
การดำเนินงาน
[แก้]โดยการทำงานเพื่อปกป้องม้าน้ำ โปรเจกต์ซีฮอร์สสนับสนุนการอนุรักษ์ทางทะเลในวงกว้าง ปลา (ม้าน้ำ) เหล่านี้ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน และการลดลงของปลารวมถึงสิ่งมีชีวิตทางทะเลทั้งหมดที่เกิดจากการประมงมากเกินควร ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากมาตรการอนุรักษ์ที่คล้ายกัน งานขององค์กรไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การวิจัยทางชีววิทยา หากแต่เป็นประชากรปลาทางทะเล, ระบบนิเวศ, ชุมชนประมง, ปัญหาการค้าระดับชาติและระดับโลก ตลอดจนนโยบายและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
องค์กรนี้ได้รับการก่อตั้งในปี ค.ศ. 1996 โดยอแมนดา วินเซนต์ และเฮเทอร์ โคลดวีย์ ที่เป็นนักวิจัยม้าน้ำ ปัจจุบัน วินเซนต์เป็นผู้อำนวยการ ส่วนโคลดวีย์เป็นรองผู้อำนวยการ และมีสมาชิกประมาณ 35 คน งานภาคสนามเริ่มขึ้นในชุมชนชาวฟิลิปปินส์ของฮันดูมอนบนเกาะจันดายัน ทางตอนเหนือของจังหวัดโบโฮล และได้ขยายไปยังทวีปยุโรป, อเมริกากลาง, เอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้, แอฟริกา และอเมริกาเหนือ โปรเจกต์ซีฮอร์สเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับสัตว์ทะเลและสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องบัญชีแดงไอยูซีเอ็น
โครงการนี้ทำงานร่วมกับศูนย์ประมงยูบีซี ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ซึ่งวินเซนต์เป็นประธานการวิจัยแคนาดาในการอนุรักษ์ทางทะเล, สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน ซึ่งโคลดวีย์เป็นหัวหน้าโครงการระดับโลก, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอห์น จี. เชด และเครือข่ายทราฟฟิก[1]
ในปี ค.ศ. 2006 ได้มีโครงการเผยแพร่ประวัติของทศวรรษแรกในชื่อ โปรเจกต์ซีฮอร์สแอท 10[2]
การวิจัย
[แก้]นักวิจัยศึกษาชีววิทยา, การกระจาย, นิเวศวิทยา, ที่อยู่อาศัย และจำนวนประชากรของสายพันธุ์ม้าน้ำทั่วโลก สายพันธุ์ที่ทำการศึกษา ได้แก่:
ความสำเร็จ
[แก้]ในประเทศฟิลิปปินส์ โครงการได้จัดตั้งเขตคุ้มครองทางทะเล 34 แห่งที่ได้รับการจัดการในท้องถิ่นในประเทศฟิลิปปินส์ และสนับสนุนการเป็นพันธมิตรของ 1,000 ครอบครัวชาวประมงขนาดเล็ก โครงการคามาดา มีส่วนร่วมในการจัดตั้งทะเลสำรองและการบังคับใช้กับการประมงที่ผิดกฎหมาย[3] โครงการได้รับข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) เพื่อจำกัดการส่งออกม้าน้ำสู่ระดับที่ยั่งยืน นับเป็นการควบคุมการส่งออกของโลกครั้งแรกภายใต้อนุสัญญา สำหรับปลาทะเลที่มีความสำคัญทางการค้า[4]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลความสำเร็จที่สำคัญจากสมาคมสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เพื่อการอนุรักษ์ระดับนานาชาติของโปรเจกต์ซีฮอร์ส (ค.ศ. 2001)
- รางวัลระดับนานาชาติด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากสมาพันธ์กิจกรรมใต้น้ำโลก (ค.ศ. 1997)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "History". Project Seahorse: Advancing Marine Conservation. 12 พฤษภาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กันยายน 2011.
- ↑ "Project Seahorse at 10" (PDF). Project Seahorse. 2007.
- ↑ Chadwin Thomas (26–27 พฤษภาคม 1999). "Philippine Seahorses fall victim to overfishing". Philippine Center For Investigative Journalism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2013.
- ↑ "About Project Seahorse". Guylian.com. Guylian Belgian Chocolate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Asia > Project Seahorse". The Zoological Society of London.
- โปรเจกต์ซีฮอร์ส เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- โปรเจกต์ซีฮอร์ส ที่เฟซบุ๊ก
- โปรเจกต์ซีฮอร์ส ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- โปรเจกต์ซีฮอร์ส ที่อินสตาแกรม