ข้ามไปเนื้อหา

โปรตอน โฮลดิงส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปรตอน โฮลดิงส์ เบอร์ฮาด
PROTON Holdings Berhad
ประเภทJoint venture
อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์
ก่อตั้ง9 july 1985; 39 ปีก่อน (9 july 1985)
ผู้ก่อตั้งMahathir Mohamad
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการWorldwide, mainly Malaysia
บุคลากรหลักSyed Faisal Albar (Chairman)
Li Chunrong (CEO)
Radzaif Mohamed (Deputy CEO)
ผลิตภัณฑ์รถยนต์, ชิ้นส่วนยานยนต์
รายได้4.91 พันล้าน ริงกิตมาเลเซีย (พ.ศ. 2550)
พนักงาน
12,000 คน
บริษัทแม่DRB-HICOM (50.1%)
Zhejiang Geely Holding Group Co (49.9%)
แผนกPONSB Sdn Bhd
Proton Edar
บริษัทในเครือProton R3
เว็บไซต์proton.com

โปรตอน โฮลดิงส์ (PROTON Holdings) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติมาเลเซีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 ด้วยดำริของนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทจีลี่ ออโตโมบิล จากประเทศจีนเข้ามาถือหุ้น 51% ในโปรตอน [1]

ประวัติ

[แก้]

ในยุคแรกของโปรตอน โปรตอนได้ผลิตรถยนต์โดยอาศัยเทคโนโลยีและชิ้นส่วนของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส โมเดลรถรุ่นแรกก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2528 ภายใต้ชื่อ โปรตอน ซากา (Proton Saga) โดยประกอบในเมืองชาห์อาลาม รัฐเซอลาโงร์ แรกเริ่มก็ใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ของมิตซูบิชิทั้งสิ้น ร่วมกับมิตซูบิชิ แลนเซอร์ (ซึ่งเป็นรุ่นที่คนไทยเรียกว่า Lancer Champ) ต่อมาก็ค่อยๆถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีมาเป็นของโปรตอนเอง โปรตอนซากาผลิตครบคันที่ 1 แสนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532

ช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 โปรตอนก็ได้เปลี่ยนโลโก้จากเดิมที่ออกแบบคล้ายดาวเดือนในธงชาติมาเลเซีย มาใช้เป็นหัวเสือแบบปัจจุบันแทน ในปี พ.ศ. 2536 โปรตอนก็ออกรุ่นใหม่ชื่อ โปรตอน วีรา (Proton Wira) โดยถอดแบบมาจากมิตซูบิชิ แลนเซอร์ และสามารถขายได้ถึง 220,000 คัน ระหว่างปี 2539 ถึง 2541 นอกจากนี้ รถรุ่นโปรตอน ซาเทรีย (Proton Satria) และโปรตอน ปุตรา (Proton Putra) ก็พัฒนามาจากมิตซูบิชิ แลนเซอร์ และมิตซูบิชิ มิราจเช่นกัน รุ่นต่อมาคือโปรตอน เพอร์ดานา (Proton Perdana) พัฒนาจากมิตซูบิชิ อีเทอร์นา เริ่มผลิตครั้งแรกในปี 2538 เพื่อขยายตลาดไปสู่ระดับสูงขึ้น ยกเว้นโปรตอน เทียร่า (Proton Tiara) ที่พัฒนามาจากซีตรอง AX (Citroen AX) ไม่ได้พัฒนามาจากรถรุ่นใดรุ่นหนึ่งของมิตซูบิชิ มอเตอร์สแต่อย่างใด

จนถึงปี พ.ศ. 2545 โปรตอนก็ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 60% ในมาเลเซีย แต่ลดลงเหลือเพียง 30% ในปี 2548 และคาดการณ์กันว่าจะลดลงอีกในปี 2550 เมื่ออาฟต้า (AFTA) ได้ประกาศลดภาษีการนำเข้ารถยนต์เหลือเพียง 5% เท่านั้น ทำให้รถต่างประเทศสามารถขายได้ถูกลงในประเทศมาเลเซีย จึงมีตัวเลือกให้ประชาชนมากขึ้น

โปรตอน เพรเว่ (Proton Prevé)
โปรตอน สุพรีม่า เอส (Proton Suprema S)

โปรตอน วาจา (Proton Waja) หรืออีกชื่อหนึ่งในอังกฤษคือโปรตอน อิมเปี้ยน (Proton Impian) คือโมเดลรุ่นแรกที่ออกแบบโดยโปรตอนเอง แต่งานวิศวกรรมยังคงใช้ร่วมกับมิตซูบิชิ มอเตอร์สเหมือนเดิม ส่วนด้านเครื่องยนต์จะใช้ร่วมกับเรโนลต์ เป็นเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร และพอจะมียอดขายได้อยู่เรื่อยๆ

ในปี 2539 โปรตอนได้รับเทคโนโลยีของโลตัส (Lotus) มาจากบริษัท ACBN Holdings (บริษัทที่มีเจ้าของเดียวกับบูกัตตี Bugatti) โปรตอนก็เริ่มมีความชำนาญด้านวิศวกรรมยานยนต์มากขึ้น จนทำให้สามารถผลิตโปรตอน เจนทู (Proton Gen-2) ขึ้นมาได้ โดยก่อนจะออกสู่ตลาดใช้ชื่อรุ่นว่า Wira Replacement Model (WRM) หรือรุ่นที่จะมาแทนที่วีรา โปรตอน เจนทู เป็นรถรุ่นแรกที่ผลิตในโรงงานแห่งใหม่ของโปรตอนในเมืองตันหยงมาลิม รัฐเปรัก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาโปรตอนซิตี้ โรงงานแห่งนี้เริ่มเปิดใช้งานในปีพ.ศ. 2547 วันที่ 8 มิถุนายน 2548 โปรตอนก็นำรถรุ่นใหม่ที่ผลิตในตันหยงมาลิมออกสู่ตลาด เป็นรถเล็กๆ ขนาด 1,200 ซีซี 5 ประตู ใช้ชื่อรุ่นว่าโปรตอน เซฟวี่ (Proton Savvy) ทั้งรุ่น Gen-2 และ Savvy คือรุ่นที่ MG Rover บริษัทรถจากประเทศอังกฤษสนใจที่จะนำไปพัฒนาต่อ เมื่อพวกเขาได้เข้ามาเจรจากับโปรตอน แต่แผนการก็ได้ล้มเหลวเสียก่อน

ในปี 2550 โปรตอนก็ออกรถยนต์ซีดานรุ่นใหม่ที่เป็นรุ่นแทนที่รุ่นวีรา คือเพอร์โซนา (Persona) และล่าสุดวันที่ 18 มกราคม 2551 รุ่นใหม่ล่าสุดก็ออกสู่ตลาด คือรุ่นโปรตอน ซากา (Proton Saga) โดยโปรตอนซากาพัฒนาต่อมาจากรุ่นเซฟวี่ แต่ใช้เครื่องยนต์แคมโปร (Campro) 1.3 ลิตร แทนเครื่องยนต์เรโนลต์ (Renault) ที่ใช้ในเซฟวี่

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 โปรตอนเซ็นสัญญากับบริษัทยังแมนออโตโมบิลจำกัด (Youngman Automobile Group Ltd. Co.,) โดยในระยะเริ่มต้นบริษัทยังแมนจะนำเข้ารถโปรตอนเข้าไปขายในประเทศจีนเดือนละ 1,500 คัน เป็นระยะเวลา 20 เดือน โดยใช้ชื่อยี่ห้อใหม่คือ "ยุโรปสตาร์" (EuropeStar) ซึ่งเป็นชื่อที่ทางยังแมนตั้งขึ้น และในอนาคตมีแผนจะร่วมมือกันพัฒนารถรุ่นใหม่เพื่อผลิตในจีน[2][3]

โปรตอนในประเทศไทย

[แก้]

สำหรับในประเทศไทย ภายหลังอัตราภาษีใหม่ของอาฟต้า ทำให้บริษัทพระนครยนตรการได้นำโปรตอนเข้ามาขาย โดยเปิดตัวครั้งแรกในงานมอเตอร์เอกซ์โปที่เมืองทองธานี ช่วงปลายปี 2550 ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม มียอดจองเกิน 1,000 คัน และได้ทยอยส่งมอบรถให้กับผู้ที่สั่งจองแล้ว ปัจจุบัน โปรตอนมีรถยนต์เข้ามาขาย 7 รุ่น คือ เซฟวี่ ซากา ซาเทรีย-นีโอ เจนทู เพอร์โซนา เอ็กซ์โซร่า และล่าสุด เพรเว่

รายชื่อรถยนต์โปรตอน

[แก้]

รุ่นที่ผลิตในปัจจุบัน

[แก้]

Current model line up, with calendar year of introduction or most recent facelift:[4]

รุ่นที่ผลิตในอดีต

[แก้]

ประวัติรถ

[แก้]

ยุค 1980's

[แก้]
โปรตอน ซากา (รุ่นแรก) ผลิตเกิน 1,200,000 คัน
โปรตอน ซากา (รุ่นแรก) ผลิตเกิน 1,200,000 คัน 

ยุค 1990's

[แก้]
โปรตอน ซากา (รุ่นที่ 2)
โปรตอน ซากา (รุ่นที่ 2) 
โปรตอน วีรา
โปรตอน วีรา 
โปรตอน ซาเทรีย
โปรตอน ซาเทรีย 
โปรตอน เพอร์ดานา (รุ่นแรก)
โปรตอน เพอร์ดานา (รุ่นแรก) 

ยุค 2000's

[แก้]
โปรตอน วาจา
โปรตอน วาจา 
โปรตอน เจนทู (GEN•2) รถรุ่นแรกที่ใช้เคื่องยนต์ CamPro
โปรตอน เจนทู (GEN•2) รถรุ่นแรกที่ใช้เคื่องยนต์ CamPro 
โปรตอน เพอร์โซนา
โปรตอน เพอร์โซนา 
โปรตอน นีโอ
โปรตอน นีโอ 

ยุค 2010's

[แก้]
โปรตอน เอ็กซ์โซร่า MPV คันแรกของ Proton
โปรตอน เอ็กซ์โซร่า MPV คันแรกของ Proton 
โปรตอน ไอริซ
โปรตอน ไอริซ 
โปรตอน เพอร์โซนา (รุ่นปัจจุบัน)
โปรตอน เพอร์โซนา (รุ่นปัจจุบัน) 
โปรตอน เพรเว่
โปรตอน เพรเว่ 
โปรตอน ซุพรีม่า เอส
โปรตอน ซุพรีม่า เอส 
โปรตอน เพอร์ดานา (รุ่นที่ 2)
โปรตอน เพอร์ดานา (รุ่นที่ 2) 

ยุค 2020's

[แก้]
โปรตอน X70 SUV ขนาดกลางคันแรกของ Proton
โปรตอน X70 SUV ขนาดกลางคันแรกของ Proton 
โปรตอน X50 SUV ขนาดเล็กที่ร่วมมือกับ Geely
โปรตอน X50 SUV ขนาดเล็กที่ร่วมมือกับ Geely 

อ้างอิง

[แก้]
  1. Geely shares soar to record on report it’s buying Proton’s Malaysia car assemb
  2. Bernama.com - Proton Secures Deal With China's Automaker
  3. biz.thestar.com.my - More Proton models for China
  4. "PROTON - Latest Cars". www.proton.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2020. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.