ข้ามไปเนื้อหา

โนม ชอมสกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โนม ชัมสกี)
โนม ชอมสกี
A photograph of Noam Chomsky
โนม ชอมสกี ในปีค.ศ. 2017
เกิดAvram Noam Chomsky
(1928-12-07) ธันวาคม 7, 1928 (95 ปี)
ฟิลาเดลเฟีย, รัฐเพนซิลเวเนีย, สหรัฐ
การศึกษามหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (BA, MA, PhD)
Harvard Society of Fellows (1951–1955)
คู่สมรส
บุตร3, รวมไปถึง Aviva
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์Transformational Analysis (1955)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกเซลลิก ฮาร์ริส[1]
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
มีอิทธิพลต่อ
 
ได้รับอิทธิพลจาก
 
เว็บไซต์https://chomsky.info
ลายมือชื่อ

ดร. แอฟราม โนม ชอมสกี (อังกฤษ: Avram Noam Chomsky, /æˈvrɑːm nm ˈɒmski/ ( ฟังเสียง); เกิด 7 ธันวาคม ค.ศ. 1928) และยังมีชีวิตอยู่มาถึงทุกวันนี้เป็นนักภาษาศาสตร์ นักปรัชญา นักปริชานศาสตร์ และนักกิจกรรมทางการเมือง เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณประจำคณะภาษาศาสตร์และปรัชญา สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) ชอมสกีได้รับการยกย่องจากการให้กำเนิดทฤษฎี Transformative-Generative Grammar หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Generative Grammar (ไทย: ไวยากรณ์เพิ่มพูน) ซึ่งถือกันทั่วไปว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของวงการภาษาศาสตร์ทฤษฎีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชอมสกียังมีส่วนช่วยจุดประกายการปฏิวัติองค์ความรู้ในวิชาจิตวิทยาเกี่ยวกับปริชานผ่านทางงานปริทัศน์หนังสือ Verbal Behavior ของบี. เอฟ. สกินเนอร์ อันเป็นการท้าทายวิธีแบบพฤติกรรมศาสตร์ที่เคยครอบงำการศึกษาเรื่องจิตและภาษาในคริสต์ทศวรรษ 1950 วิธีศึกษาภาษาโดยแนวทางธรรมชาติของชอมสกียังมีผลกระทบต่อวิชาปรัชญาภาษาและปรัชญาจิตอีกด้วย นอกจากนี้ ชอมสกียังได้รับการยกย่องจากการก่อตั้งลำดับชั้นชอมสกี (Chomsky hierarchy) ซึ่งเป็นการจำแนกภาษารูปนัยออกเป็นลำดับชั้น ตามพลังในการก่อกำเนิดของแต่ละระดับ

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 ชอมสกียังเป็นที่รู้จักในวงกว้างในฐานะผู้ไม่เห็นด้วยกับอำนาจรัฐและนักอนาธิปัตย์ จากการเคลื่อนไหวทางการเมือง และการวิพากษ์ที่เขามีต่อนโยบายต่างประเทศของทั้งสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอีกหลายประเทศ ชอมสกีเรียกตนเองว่าเป็นนักสังคมนิยมเสรี ผู้เห็นพ้องกับแนวคิดอนาธิปัตย์-สหภาพนิยม

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]