อากิระ โทริยามะ
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
อากิระ โทริยามะ | |
---|---|
เกิด | 5 เมษายน ค.ศ. 1955 นาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 1 มีนาคม ค.ศ. 2024 | (68 ปี)
อาชีพ | ศิลปินมังงะ, ผู้ออกแบบตัวละคร |
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 1978–2024 |
นายจ้าง | ชูเอชะ, Bird Studio |
ผลงานเด่น | ดราก้อนบอล ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ ดราก้อนเควสต์ (ผู้ออกแบบตัวละคร) โครโนทริกเกอร์ (ผู้ออกแบบตัวละคร) บลูดรากอน (ผู้ออกแบบตัวละคร) |
คู่สมรส | โยชิมิ คาโต (สมรส 1982) |
บุตร | 2 |
รางวัล | โชงะกุกัง มังงะ อวอร์ด (1981) |
ลายมือชื่อ | |
อากิระ โทริยามะ (ญี่ปุ่น: 鳥山明; โรมาจิ: Toriyama Akira; 5 เมษายน พ.ศ. 2498 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2567[1]) เป็นนักวาดการ์ตูนและผู้ออกแบบตัวละครชาวญี่ปุ่น เขาได้รับการยอมรับเป็นครั้งแรกจากซีรีส์มังงะยอดนิยมเรื่องดร. สลัมป์ ตามด้วยเรื่องดราก้อนบอล (ผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขา) และทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบตัวละครให้กับวิดีโอเกมยอดนิยมหลายเกม เช่น ซีรีส์ดราก้อนเควสต์, โครโนทริกเกอร์ และบลูดราก้อน
ผลงานอื่นของโทริยามะ อากิระ ได้แก่ออกแบบตัวละครในเกมอาร์พีจีที่มีชื่อเสียงเช่น ดราก้อนเควสต์ และโครโนทริกเกอร์ รวมถึงบลูดราก้อน และเกมต่อสู้ โทบอล No.1 รวมทั้งได้ช่วยออกแบบตัวละครในเกมส์ออนไลน์ที่มีชื่อว่า ดราก้อนบอลออนไลน์ ร่วมกับทีมงานบริษัท บันได (Bandai) โทริยามะได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์มังงะ งานของเขาได้สร้างอิทธิพลและความนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดราก้อนบอล ที่เป็นหัวเชื้อให้แก่นักวาด
โทริยามะได้รับรางวัล Shogakukan Manga Award เมื่อปี 1981 สำหรับรางวัลโชเน็งมังงะยอดเยี่ยม จากผลงานดรสลัมป์ ที่สร้างยอดขายถึง 35 ลัานเล่ม ในญี่ปุ่น และถูกนำมาพัฒนาในเวอร์ชั่นอนิเมะซีรี่ย์ และครั้งที่ 2 ออกอากาศในปี 1997 หลังมังงะ ปิดเล่มได้ 13 ปี ผลงานต่อมา คือ ‘’ดราก้อนบอล’’นับเป็นมังงะยอดนิยมและประสบความสำเร็จตลอดกาล สร้างยอดขายถึง 260 ลัานเล่มทั่วโลก นับเป็นหนึ่งในมังงะที่ขายดีตลอดกาล[2] และเป็นข้อพิสูจน์ถึงช่วงเวลาพีคของมังงะ คือในช่วงกลางยุค 80s ถึง กลางยุค 90s ดราก้อนบอลถูกพัฒนาเป็นอนิเมะซึ่งประสบความสำเร็จกว่ามังงะ และอนิเมะฉบับรีบูท ซึ่งได้รับความนิยมในแถบตะวันตก ในปี 2019 อากิระ โทริยามะได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นอัศวิน (Chevalier of the French) จากผลงานที่เขารังสรรค์
ช่วงชีวิต
[แก้]อากิระ โทริยามะ เกิดที่คิโยซุ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น[3] เขาชอบวาดรูปแต่เด็ก , โดยมาก เขาวาดสัตว์และรถ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขารัก หลังจากเขาได้ดู One Hundred and One Dalmatians (1961) จึงทำให้เขาตกอยู่ในห้วง และเขากล่าวว่า ยิ่งทำให้เขาต้องวาดอย่างถลำลึกเพื่อเข้าถึงโลกศิลปะ เขาได้พบเรื่องที่ทำให้หัวใจพองโตในชั้นประถม เมื่อได้เห็นมังงะของพี่ชาย และอีกครั้งในทีวีของเพื่อนบ้าน เขาระบุเรื่อง Astro Boy ของ เทซูกะ โอซามุ เป็นหัวเชื้อที่ทำให้เขาสนใจมังงะ
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]โทริยามะแต่งงานกับโยชิมิ คาโต (加藤 由美) เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2525[4][5] เธอเป็นอดีตนักวาดการ์ตูนจากนาโงยะโดยใช้นามปากกาว่า "นาจิ มิคามิ" (みかみ なち)[6] และเคยช่วยโทริยามะและผู้ช่วยของเขาในผลงานเรื่อง ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ เป็นครั้งคราวเมื่อเวลาเร่งรัด[7] ทั้งสองมีลูกสองคน ลูกชายชื่อซาสึเกะ (佐助) เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2530[8] และลูกสาวหนึ่งคนเกิดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533[9] โทริยามะอาศัยอยู่ในสตูดิโอที่บ้านของเขาในเมืองคิโยซุ[10] เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงซึ่งหลีกเลี่ยงการปรากฏตัวในที่สาธารณะหรือในสื่อต่าง ๆ[11][12][13] เนื่องจากความเขินอายของเขาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 โทริยามะได้ใช้อวตารที่เรียกว่า "โรโบโทริยามะ" เพื่อนำเสนอตัวเองในมังงะและการสัมภาษณ์[14]
โทริยามะมีความรักในรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาได้รับสืบทอดมาจากพ่อของเขาที่เคยแข่งมอเตอร์ไซค์และดำเนินธุรกิจซ่อมรถยนต์ในช่วงเวลาสั้น ๆ แม้ว่าเขาจะไม่เข้าใจเครื่องยนต์กลไกเลยก็ตาม[15] โทริยามะเป็นคนรักสัตว์ โดยเลี้ยงนก สุนัข แมว ปลา กิ้งก่า และแมลงหลากหลายสายพันธุ์ไว้เป็นสัตว์เลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก[15] บางตัวถูกใช้เป็นแบบอย่างให้กับตัวละครที่เขาสร้างขึ้น เช่น คาริน (カリン) และบิลส์ (ビルス) จากเรื่องดราก้อนบอล โทริยามะมีความหลงใหลในหุ่นจำลองพลาสติกมาตลอดชีวิต[15] และได้ออกแบบโมเดลต่าง ๆ ให้กับตราสินค้า Fine Molds นอกจากนี้เขายังนิยมสะสมลายเซ็นของนักวาดมังงะชื่อดัง ซึ่งมีมากกว่า 30 คน รวมถึงยูเดทามาโงะ (ゆでたまご) และฮิซาชิ เอกุจิ (江口 寿史) ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่เขาถ่ายทอดให้กับตัวละครโซรามาเมะ พีสึเกะ (空豆 ピースケ) จากเรื่องดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่[16][17]
อากิระ โทริยามะ เสียชีวิตด้วยอาการเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอกเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 ขณะมีอายุ 68 ปี[1][18][19] หนึ่งสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม เบิร์ด สตูดิโอประกาศการเสียชีวิตของเขา โดยครอบครัวของเขาได้จัดพิธีศพเป็นการส่วนตัว[20]
ผลงานการ์ตูน
[แก้]บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
มังงะ
[แก้]ชื่อ | ปี | Collected |
---|---|---|
Awawa World | 1977 | Unpublished |
Wonder Island | 1978-1979 | 2 One-shots |
Today's Highlight Island | 1979 | One-shot |
Tomato | 1979 | One-shot |
Hetappi | 1982, | 1 tankōbon, drawing lesson - ผู้แต่งร่วม: อากิระ ซากูมะ |
ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ (Dr. Slump) | 1979-1985 | 18 tankōbon, kanzenban |
Escape | 1981 | One-shot |
Pola & Roid | 1981 | One-shot |
Pink | 1982 | One-shot |
Mad Matic | 1982 | One-shot |
Chobit | 1983 | 2 One-shots, คนละเรื่องกับ ดิจิทัล เลดี้, ของ แคลมป์ |
Dragon Boy | 1983 | 2 One-shots |
Tongpoo | 1983 | One-shot |
Akira Toriyama's Manga Theater Vol.1 | 1983 | 1 tankōbon |
ดราก้อนบอล | 1984-2021 | 42 tankōbon, later reassembled into 34 kanzenban special editions and has also become an anime |
Mr. Ho | 1986 | One-shot |
Lady Red | 1987 | 3 one-shots, adult gag manga |
Kennosuke-sama | 1987 | One-shot |
Sonchoh | 1987 | One-shot |
Mamejiro | 1988 | One-shot |
Akira Toriyama's Manga Theater Vol.2 | 1988 | 1 tankōbon |
Karamaru | 1989 | One-shot |
Wolf | 1990, | One-shot |
Cashman Saving Soldier | 1991 | 3 one-shots - 1998, 1 tankōbon |
Dub & Peter 1 | 1992 | 4 one-shots |
Go!Go!Ackman | 1993 | 11 one-shots |
Chotto Kaettekita Dr. Slump | 1994-1997 | 4 slim tankōbon |
Tokimecha | 1996, | One-shot |
Alien X-Peke | 1997, | One-shot |
Bubul | 1997 | One-shot |
Akira Toriyama's Manga Theater Vol.3 | 1997 | 1 tankōbon |
Cowa! | 1997-1998 | 1 tankōbon |
Cashman Saving Soldier/New Cashman Saving Soldier | 1998 | 1 tankōbon |
Tahi Mahi | 1998 | 1 tankōbon |
Kajika | 1998 | 1 tankōbon |
เนโกะมาจิน | 1999-2005 | 5 one-shots, 1 tankōbon / kanzenban |
แซนด์แลนด์ | 2000 | 1 tankōbon |
Bitch's Life | 2001 | 1 illustration |
Kochikame | 2006, | One-shot, omake |
Cross Epoch | 2006 | One-shot |
Untitled Masakazu Katsura Collaboration | 2008 | One-shot |
Jaco the Galactic Patrolman | 2013 | 11 chapters serialized in Weekly Shōnen Jump, collected into 1 tankōbon |
ดราก้อนบอล ซูเปอร์ | 2015–ปัจจุบัน | Currently serialized in V Jump, art by Toyotarou, collected into 18 tankōbon |
ดีไซน์ตัวละคร
[แก้]วิดีโอเกม
[แก้]อนิเมะ
[แก้]รายการโทรทัศน์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "[Information ; Dear Friends and Partners]". DRAGON BALL OFFICIAL SITE (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2024.
- ↑ "DRAGON BALL SUPER: SUPER HERO GLOBAL THEATRICAL RELEASE DATES | Press Release | TOEI ANIMATION CO., LTD". corp.toei-anim.co.jp.
- ↑ https://www.nytimes.com/2024/03/08/arts/akira-toriyama-dead.html Akira Toriyama, Creator of ‘Dragon Ball,’ Dies at 68
- ↑ 「5億円」プラス「お嫁さん」—「アラレちゃん」鳥山明の結婚式. FOCUS (ภาษาญี่ปุ่น). No. 19. Shinchosha. 14 พฤษภาคม 1982. p. 18.
- ↑ Toriyama, Akira (2009). Dr. Slump, Volume 18. Viz Media. p. 178. ISBN 978-1-4215-2000-1.
- ↑ "ドラゴンボール 冒険SPECIAL". Weekly Shōnen Jump (ภาษาญี่ปุ่น). Shueisha. 1 ธันวาคม 1987.
- ↑ Toriyama, Akira (2007). Dr. Slump, Volume 13. Viz Media. p. 5. ISBN 978-1-4215-1057-6.
- ↑ "Akira Toriyama". Weekly Shōnen Jump (ภาษาญี่ปุ่น). No. 20. Shueisha. 27 เมษายน 1987.
- ↑ Toriyama, Akira (2003). Dragon Ball Z, Volume 8. Viz Media. p. 1. ISBN 978-1-56931-937-6.
- ↑ Ashcraft, Brian (23 กรกฎาคม 2014). "Dragon Ball Is Made in a Very Orange Building". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2016.
- ↑ Loveridge, Lynzee (31 พฤษภาคม 2019). "Dragonball Creator Akira Toriyama Knighted by France". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2019.
- ↑ Chapman, Paul (30 ธันวาคม 2016). "Akira Toriyama Dishes on Designing Characters for "Dragon Quest"". Crunchyroll. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2019.
- ↑ "Manga wieder ganz groß auf der Buchmesse". Mitteldeutscher Rundfunk (ภาษาเยอรมัน). 28 มีนาคม 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กรกฎาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2019.
- ↑ Padula, Derek (22 มกราคม 2016). "Tori-bot's Real Name Discovered". The Dao of Dragon Ball. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2024.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Toriyama, Akira (2008). Dr. Slump, Volume 14. Viz Media. pp. 18, 62, 145. ISBN 978-1-4215-1058-3.
- ↑ Toriyama, Akira (2009). Dr. Slump, Volume 11. Viz Media. pp. 48, 110. ISBN 978-1-4215-0635-7.
- ↑ Toriyama, Akira (2005). Dr. Slump, Volume 2. Viz Media. p. 133. ISBN 978-1-59116-951-2.
- ↑ "Dragon Ball: Japan manga creator Akira Toriyama dies". BBC News. 8 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2024.
- ↑ Speed, Jessica (8 มีนาคม 2024). "Dragon Ball creator Akira Toriyama dies at 68". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2024.
- ↑ Sun, Michael (8 มีนาคม 2024). "Akira Toriyama, creator of Dragon Ball manga series, dies aged 68". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2024.