โทรศัพท์ฉุกเฉิน
โทรศัพท์ฉุกเฉิน (อังกฤษ: Emergency telephone) คือโทรศัพท์ที่มีไว้สำหรับการโทรไปยังบริการฉุกเฉินโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่มักจะพบในสถานที่อันตรายเป็นพิเศษหรือในบริเวณที่จำเป็นจะต้องใช้การโทรฉุกเฉิน
บางครั้งโทรศัพท์ฉุกเฉินในต่างประเทศถูกเรียกว่า บลูไลท์ (Blue light)[1] เนื่องจากใช้สีน้ำเงินเป็นสีของตู้ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดในเวลากลางคืน[2]
โทรศัพท์ฉุกเฉินริมถนน
[แก้]แม้ว่าจะระบุได้ยากว่าโทรศัพท์บนทางหลวงรุ่นแรกนั้นได้รับการพัฒนาเมื่อไหร่และที่ไหน แต่ตัวอย่างแรก ๆ ที่เห็นได้ชัดคือโทรศัพท์บนทางด่วนที่พัฒนาขึ้นในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2509 ระบบนี้พัฒนาขึ้นโดย อลัน ฮาร์แมน พนักงานของบริษัทรักษาความปลอดภัยแห่งหนึ่งในออสเตรเลียตะวันตก คือบริษัทสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signals Pty Ltd) เกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้อ่านข่าวการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ครั้งใหญ่บนทางด่วนควินาน่า ซึ่งบทความในหนังสือพิมพ์กล่าวว่าการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเกี่ยวข้องในอุบัติเหตุรถยนต์ครั้งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยระบบที่ฮาร์แมนคิดเอาไว้นั้นคือการติดตั้งชุดโทรศัพท์ในกล่องบนเสาสั้น ติดตั้งเว้นระยะห่างทุก ๆ 160 เมตร (0.1 ไมล์) บนทางด่วนของเมืองเพิร์ท โดยสายโทรศัพท์จะถูกส่งสัญญาณต่อไปยังสัญญาณเตือนภัยในศูนย์ควบคุมถนนสายหลัก และผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับบริการฉุกเฉินคือตำรวจ หน่วยดับเพลิง หรือรถพยาบาลได้ ฮาร์แมนได้พัฒนาระบบดังกล่าวโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการทางหลวงสายหลักและหัวหน้าวิศวกร โดยพัฒนาจากสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารที่มีใช้งานอยู่ในบริษัทรักษาความปลอดภัยที่เขาทำงานอยู่[3]
โทรศัพท์ฉุกเฉินมักจะถูกพบได้ตามถนนสายหลักทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร ตู้โทรศัพท์ฉุกเฉิน "SOS" สีส้มจะมีการติดตั้งโดยเว้นระยะห่างทุก 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) บนมอเตอร์เวย์ทุกสายและถนนสายหลักซีรีย์ "A" บางสาย โดยมีการติดตั้งเครื่องหมายระบุที่ตั้งของโทรศัพท์ที่ใกล้ที่สุดในทุกช่วงของเส้นทาง ในเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 โทรศัพท์ฉุกเฉินได้รับการติดตั้งในทุก ๆ 0.25 ไมล์ (400 เมตร) บนทางหลวงแบบปิด (ทางด่วน) ในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โทรศัพท์ฉุกเฉินถูกนำมาใช้ในทางด่วนในเขตเมืองในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งแต่เดิมมีใช้งานเพียงบนทางด่วนทัลลามารีน ตะวันออกเฉียงใต้ และทางด่วนโลเวอร์ยาร์รา (เวส์เกท)[4] ในอิตาลี มอเตอร์เวย์ออโตสเทรด (Autostrade) จะมีการติดตั้งโทรศัพท์ฉุกเฉิน "SOS" ในทุกระยะห่าง 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ในประเทศไทยโทรศัพท์ฉุกเฉินจะมีการติดตั้งอยู่บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)[5] และทางด่วนเส้นต่าง ๆ[6] ในระยะห่างทุก ๆ 500 เมตรถึง 1 กิโลเมตร[7]
เนื่องจากการเติบโตของการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ความต้องการใช้งานโทรศัพท์ฉุกเฉินลดลง จึงมีแผนที่จะยุติการให้บริการในหลายเมือง[8] ในแคลิฟอร์เนีย ตู้โทรศัพท์บนทางด่วนมีการใช้งานลดลงจาก 98,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2544 เหลือเพียง 21,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2553 หรือประมาณ 1 ครั้งต่อกล่องต่อเดือน โดยการดูแลรักษาตู้โทรศัพท์บนทางด่วนโดยหน่วยบริการทางด่วนและทางด่วนพิเศษ (Service Authority for Freeways and Expressways: SAFE) ในบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ปี พ.ศ. 2554 มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี[9] ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2553 แคลิฟอร์เนียได้ถอดตู้โทรศัพท์ส่วนใหญ่ในเขตเมืองและชานเมืองออก เหลือติดตั้งเพียงในพื้นที่ที่มีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่น้อยหรือสัญญาณโทรศัพท์น้อยเท่านั้น[10][11]
โทรศัพท์เหล่านี้มักมีการทำเครื่องหมายด้วยสติ๊กเกอร์หรือป้ายที่ระบุหมายเลขประจำตัวเครื่องหรือสัญลักษณ์เฉพาะประจำตู้ที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบได้ว่าผู้โทรโทรมาจากที่ใด แม้ว่าตัวผู้โทรจะไม่ทราบก็ตามที โดยให้ผู้โทรอ่านหมายเลขประจำเครื่องหรือเครื่องหมายเฉพาะบนโทรศัพท์ โทรศัพท์บางรุ่นมีการติดตั้งระบบระบุตัวตนของเครื่องแบบอัตโนมัติ ทำให้เจ้าหน้าที่ที่รับสายสามารถระบุตำแหน่งของผู้โทรได้เลย แม้ว่าผู้โทรจะไม่สามารถระบุที่อยู่ของตัวเองได้ก็ตามเช่นกัน ซึ่งในมลรัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐที่มีตู้โทรศัพท์ริมถนน ป้ายบนตู้โทรศัพท์จะมีการระบุหลักกิโลเมตรของเส้นทางนั้น ในขณะที่รัฐแคลิฟอร์เนียนั้นตู้โทรศัพท์จะระบุตามระยะทางที่ผ่านในแต่ละพื้นที่โดยใช้หมายเลขเฉพาะของรัฐคือเลขโพสต์ไมล์เป็นตัวอ้างอิง โดยในแต่ละตู้จะมีตัวอักษรระบุสำหรับเขต ตามด้วยหมายเลขเส้นทาง จากนั้นหมายเลขหลักที่สามและสี่จะเป็นระยะทางที่อิงตามหลักกิโลเมตร โดยคำนวนเป็นระยะในทุก 10 ไมล์
โทรศัพท์เหล่านี้มักถูกทำเครื่องหมายด้วยป้ายหรือป้ายที่ระบุหมายเลขประจำเครื่องหรือตัวระบุที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าผู้โทรอยู่ที่ไหน - แม้ว่าผู้โทรจะไม่ทราบ - โดยให้ผู้โทรอ่านหมายเลขระบุแบบสั้นจากป้ายด้านบน โทรศัพท์. โทรศัพท์บางรุ่นมีการติดตั้งหมายเลขผู้โทรเทียบเท่า และตัวแทนที่รับสายสามารถระบุตำแหน่งได้ แม้ว่าผู้โทรจะไม่สามารถทำได้ก็ตาม ในรัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่มีตู้โทรศัพท์ริมถนน ป้ายตู้โทรศัพท์จะมีการอ่านหลักไมล์ของเส้นทาง ในแคลิฟอร์เนีย ตู้โทรศัพท์จะระบุตามระยะทางผ่านแต่ละเขตโดยใช้ไปรษณีย์เป็นข้อมูลอ้างอิง แต่ละกล่องจะมีตัวระบุ 2 ตัวอักษรสำหรับเขต ตามด้วยหมายเลขเส้นทาง จากนั้นตัวเลข 3 หรือ 4 หลักที่สอดคล้องกับระยะทางหลังการเดินทางของเส้นทางโดยคำนวณเป็นสิบไมล์
สถานที่ทั่วไปอื่น ๆ สำหรับโทรศัพท์ฉุกเฉิน
[แก้]โทรศัพท์ฉุกเฉินมักจะพบได้ตามปลายสะพายของสะพาน หรือบริเวณใกล้กับหน้าผาซึ่งมีประวัติการใช้ในการฆ่าตัวตาย โดยการโทรจะถูกเชื่อมต่อสายไปยังหน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น สมาคมสะมาริตันส์ในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีการพบเห็นบางครั้งตามแนวชายฝั่งทะเลซึ่งประชาชนอาจจะต้องการรายงานเกี่ยวกับเหตุจมน้ำหรือเหตุฉุกเฉินทางเรือในทะเล โดยในสหราชอาณาจักรโทรศัพท์ดังกล่าวจะเชื่อมต่อสายไปยังหน่วยยามฝั่ง โทรศัพท์ฉุกเฉินยังพบได้ในลิฟต์ซึ่งมักจะเกิดเหตุลิฟต์ค้างโดยไม่คาดคิดได้ตลอด ซึ่งปลายสายจะเชื่อมต่อไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการที่มีหน้าที่ในการแก้ไขและช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ในลิฟต์ที่หยุดอยู่ได้[12]
ในรถบางรุ่นมีปุ่ม SOS ที่เชื่อมต่อไปยังศูนย์ฉุกเฉินของบริษัทรถยนต์หรือหน่วยบริการฉุกเฉิน (112) พร้อมกับให้ตำแหน่งจีพีเอส หากเกิดการชนและถุงลมนิรภัยทำงาน โทรศัพท์ฉุกเฉินภายในรถจะเปิดใช้งาน แม้ว่าผู้โดยสารจะไม่สามารถกดเรียกเองได้ก็ตาม ซึ่งในรถยนต์ในยุโรป ได้มีโครงการระบบการโทรฉุกเฉินอัจฉริยะ (eCall) ซึ่งเป็นระบบที่บังคับใช้กับรถยนต์ทุกคันที่ผลิตและจำหน่ายในยุโรปตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561[13]
บางประเทศยังพบโทรศัพท์ฉุกเฉินในสถานที่ที่ทำให้คนรู้สึกอันตรายหรือไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน ซึ่งพบได้ทั่วไปในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สวนสาธารณะในเขตเมือง และบ้านจัดสรร โดยโทรศัพท์จะเชื่อมโยงไปยังบริษัทรักษาความปลอดภัยในบริเวณที่มีตู้โทรศัพท์เหล่านี้ตั้งอยู่ ส่วนในพื้นที่วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมักจะเชื่อมต่อกับระบบรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่
ในบางประเทศยังพบในสถานที่ที่ผู้คนอาจรู้สึกอ่อนแอหรือไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน พบได้ทั่วไปในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย[2] สวนสาธารณะในเมือง และบ้านจัดสรร โดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับบริษัทรักษาความปลอดภัยที่ลาดตระเวนตามถนนที่มีโทรศัพท์อยู่ และในวิทยาเขต มักจะเชื่อมต่อกับระบบรักษาความปลอดภัยของวิทยาเขตหรือตำรวจ[14]
การเสื่อมความนิยม
[แก้]จากความครอบคลุมของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับค่าบำรุงรักษาและดูแลที่สูง ส่งผลให้มีการติดตั้งและใช้งานโทรศัพท์ฉุกเฉินบนทางหลวงลดลง โดยในเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ โทรศัพท์ฉุกเฉินยุติการให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 หากเกิดเขตฉุกเฉินผู้ขับขี่จะต้องใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนเองเพื่อแจ้งเหตุไปยังหน่วยบริการฉุกเฉิน ซึ่งบางพื้นที่ที่มีประชากรเบาบางในแคว้นวอลลูน ประมาณการว่าโทรศัพท์ฉุกเฉินริมทางหลวงจะมีใช้งานจนถึงปี พ.ศ. 2563
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Blue Light Emergency Phones". oes.ucsc.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-11. สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
- ↑ 2.0 2.1 "Code Blue Phones". www.cpp.edu.
- ↑ Humble beginnings for freeway phones (July 1998). Western Roads: official journal of Main Roads Western Australia, 21 (2), p.18. Perth: Main Roads Western Australia, 1998.
- ↑ Country Roads Board Victoria, Sixty-Third Annual Report: for the year ended 30th June, 1976, Burwood, Victoria: Brown, Prior, Anderson, 1976
- ↑ "โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) – Intercity Motorway Projects" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "สาวรีวิว รถน้ำมันหมดบนทางด่วน คุยผ่านโทรศัพท์ฉุกเฉิน จนท.เอารถสไลด์มารับ ที่สำคัญฟรี". www.khaosod.co.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ขวัญ _วันเฉลิม (2018-09-04). "ข้อควรปฏิบัติเมื่อรถเสียบนทางด่วน". kapook.com.
- ↑ "Orange County Register, "500 freeway call boxes set to make an exit" May 17, 2005". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
- ↑ Cabanatuan, Michael (May 1, 2011). "Highway call boxes becoming obsolete". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ March 19, 2013.
- ↑ Nguyen, Alexander (Mar 17, 2018). "Freeway Call Boxes Going the Way of Pay Phones — Extinct". 7 San Diego (NBC). สืบค้นเมื่อ 2019-10-24.
- ↑ Downey, David (Mar 13, 2019). "Riverside County to remove 225 highway call boxes, some are never used". The Press-Enterprise. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-24.
In Los Angeles County, for example, more than 1 million calls for aid were placed from call boxes in 1988, when the L.A.-area had 4,500 highway phones, Jager said. Fast forward to today and the number of call boxes stands at 576.
- ↑ admin (2019-05-13). "การใช้งาน Emergency Telephone โทรศัพท์ฉุกเฉิน KNZD-36-BS4 | NEC SL1000 and SL2100".
- ↑ "eCall in all new cars from April 2018 | Shaping Europe's digital future". wayback.archive-it.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Meyerhofer, Kelley. "Are blue light phones obsolete?". Madison.com. Wisconsin State Journal. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.