ข้ามไปเนื้อหา

โทรทัศน์วงจรปิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Surveillance cameras on the corner of a building.
Dome CCTV cameras.
Dome camera in a train station

โทรทัศน์วงจรปิด (อังกฤษ: closed circuit television หรือย่อว่า CCTV) คือระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิด ซึ่งเป็นระบบสำหรับการใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย หรือใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานะการณ์ต่างๆ ที่นอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัย

โทรทัศน์วงจรปิดได้ติดตั้งระบบครั้งแรกโดย เอจี Siemens ที่ ทดสอบ V(2) ใน Peenemünde เยอรมนีใน 1942เพื่อสังเกตการณ์สำหรับการเปิดตัวของ V2-rockets(V2-rockets คือขีปนาวุธของเยอรมนีตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ) วิศวกรเยอรมันชื่อ Walter Bruch คือผู้รับผิดชอบในการออกแบบและการติดตั้งระบบ และ ในเดือนกันยายน 1968, Olean นิวยอร์ก คือเมืองแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ติดตั้งกล้องวิดีโอ ในบริเวณถนนธุรกิจเพื่อป้องกันการก่อการร้าย ต่อมาการใช้ โทรทัศน์วงจรปิดในภายหลังได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นใน ธนาคาร, สถานที่ราชการ,ที่สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบริษัทห้างร้านต่างๆ

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบโทรทัศน์วงจรปิด

[แก้]
  1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิดและเลนส์ ([กล้องวงจรปิด], CCTV Camera and Lens)
    1. กล้องมาตรฐาน เป็นกล้องที่ใช้ในแสงปกติ เช่นในเวลากลางวัน แต่จะให้ภาพไม่ชัดในเวลากลางคืน
    2. กล้องอินฟราเรด เป็นกล้องที่ใช้แสงจากหลอดอินฟราเรดส่องไปกระทบวัตถุ เพื่อให้กล้องจับภาพบริเวณนั้นๆได้ อินฟราเรดจะทำงานเมื่อสภาวะแสงบริเวณนั้นน้อยลงในระดับหนึ่ง โดยจะมี Sensor ที่ด้านหน้าของกล้องตรวจวัดระดับแสง แล้วจะส่งสัญญาณให้หลอดอินฟราเรดทำงาน และเมื่อหลอดอินฟราเรดทำงานภาพจะเปลี่ยนเป็นขาว-ดำ ทันที
    3. กล้อง Day & Night กล้องวงจรปิดที่สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ต้องการแสงเล็กน้อยเพื่อให้[ กล้องวงจรปิด]สามารถจับภาพได้ และเมื่อกล้องวงจรปิดได้รับแสงน้อยมากๆ (สภาวะที่ยังมีแสงอยู่เล็กน้อย) ก็จะเปลี่ยนภาพเป็นโหมด ขาว-ดำ
    4. กล้อง Star Light การทำงานคล้ายๆ กับกล้อง Day & Night แต่พิเศษกว่าตรงที่สามารถให้ภาพสีในเวลากลางคืน แม้จะมีแสงเพียงเล็กน้อยก็ตาม
  2. สายเคเบิลสำหรับการส่งสัญญาณภาพและบีเอ็นซีคอนเนคเตอร์ (Signal Cable and BNC Connector) สามารถใช้ได้ทั้งสายนำสัญญาณแบบทั่วไป หรือสายใยแก้ว
  3. เครื่องบันทึกภาพและจอแสดงผล ([CCTV] Recorder and Monitor) เดิมใช้ระบบบันทึกภาพแบบม้วนวิดีโอ VHS บันทึกแบบอนาลอก ซึ่งมีราคาถูก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไปเป็นการบันทึกภาพแบบดิจิทัล บันทึกลงบนฮาร์ดดิสก์ ขนาดความจุที่แตกต่างกัน มีระบบควบคุมอัตโนมัติ เช่นสามารถบันทึกได้ 30 วัน เมื่อถึงวันที่ 31 ก็จะลบวันที่ 1 โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

ซึ่งการทั้งบันทึกภาพแบบดิจิทัลหรือการบันทึกแบบอนาลอก สามารถบันทึกในคราวเดียวกันได้มากกว่า 1 กล้อง เช่น 2, 4, 6 ฯลฯ แต่กก็มีจุดอ่อนตรงที่หากแบ่งเป็นหลายช่องหลายกล้องบันทึกพร้อมกัน จะทำให้คุณภาพของภาพที่ได้ไม่ชัดเจน เมื่อจะนำภาพไปใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่เพราะภาพจะไม่ชัด

ประโยชน์ของกล้องวงจรปิด

[แก้]
  • รักษา เฝ้าระวัง ความปลอดภัยของ บุคคลและสถานที่ สำหรับเฝ้าดูและเก็บหลักฐานการทำผิดกฎหมาย ซึ่งโจรผู้ร้ายมักจะหลีกเลี่ยงการทำผิดต่อหน้ากล้องวงจรปิด เพราะจะเป็นหลักฐานที่สำคัญในการจับกุม แต่บ่อยครั้งที่โจรสามารถหลบเลี่ยงมุมกล้องได้
  • ตรวจสอบการทำงาน ใช้ประโยชน์ในโรงงาน สำหรับผู้จัดการ ในการดูพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในโรงงาน
  • ทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ ใช้ประโยชน์เหมือนตาระยะไกลในการเฝ้ามองผ่านตัวเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมระบบอัตโนมัติ
  • คำนวณตรวจสอบ เช่น การตรวจสอบคุณภาพ
  • ใช้เป็นหลักฐาน เพราะได้ทั้งภาพและเสียง ภาพวิดีโอที่บันทึกได้จึงมีความน่าเชื่อถือกว่าเทปเสียง แต่ส่วนใหญ่ภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานมักจะมีเฉพาะภาพเคลื่อนไหวอย่างเดียว มักจะไม่มีเสียงประกอบ

อ้างอิง

[แก้]