ข้ามไปเนื้อหา

โตร์มา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตร์มาที่ถวายเบื้องหน้ามหาโพธิสถูปในพุทธคยา
ชาวทิเบตกำลังผลิตโตร์มาทรงกรวย
โตร์มาทรงสถูปที่อารามราลุง ภาพถ่ายปี 1993

โตร์มา (ทิเบต: གཏོར་མ, ไวลี: gtor ma; Tor-ma) หมายถึงประติมากรรมที่ทำจากเนยและแป้งที่ใช้งานในพิธีกรรมเชิงตันตระหรือเป็นเครื่องถวายบูชาในศาสนาพุทธแบบทิเบต โตร์มาอาจนำมาย้อมเป็ยหลากหลายสี และนำมาขึ้นรูปเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยทั่วไปขึ้นรูปเป็นทรงกรวย นอกจากนี้ยังอาจมีการสร้างโตร์มาขนาดใหญ่ตั้งในศาลเจ้าตามเทศกาล[1][2]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ธรรมเนียมการถวายขนมเค้กหรือก้อนแป้งนั้นมีมาก่อนศาสนาพุทธเข้าสู่ทิเบต โดยขนมแป้งที่ใช้ถวายตามธรรมเนียมอินเดียเดิมเรียกว่า พลี (bali)[3][4] หรือ พลิงห (balingha)[5] มีลักษณะแยนมากกว่าจะเป็นทรวกรวยแบบโตร์มา[6]

ชื่อโตร์มาในภาษาทิเบตมาจากราก gtor-ba แปลว่า "เพื่อทำลาย, สลาย, ขับไล่" ซึ่งตีความได้ทั้งในแง่ของสิ่งถวายและในแง่ของการปล่อยไปหรือการไม่ยึดติด[7]

รูปแบบ

[แก้]

โตร์มามีรูปแบบต่างกันไปตามวัตถุประสวค์การใช้งาน บ้างนำมาตั้งถวายในศาลเจ้าระหว่างพิธีกรรมหรือใช้แทนเทพเจ้า บ้างใช้ในการปฏิบัติพรตและนำมารับประทานระหว่างการปฏิบัตื บ้างทำขึ้นเพื่อเอาใจดวงวิญญาณ สะสมบุญ หรือปัดเป่าอุปสรรค[8] โตร๋มาทำมาจากแป้งบาร์เลน์และเนยเป็นหลัก แต่ตามธรรมเนียมแล้วอาจผสมไข่ นม น้ำตาล น้ำผึ้ง หรือเนื้อ ขึ้นกับการใข้งาน[9]

โตร์มาเทพเจ้า

[แก้]

โตร์มาเทพเจ้า หรือ เต็นโตร์ (ไวลีย์: rten gtor) เป็นโตร์มาที่เก็ยรักษาในศาลเจ้าและมีไว้แทนเทพเจ้าทางตันตระองค์ใดองค์กนึ่ง[10] โตร์มาเหล่านี้มีรูปแบบที่สลับซับซ้อนเป็นรูปเทพเจ้ากึ่งดุร้าย เช่น พระวัชรโยคินีหรือพระจักรสังวร ไปจนถึงรูปทรงกรวยสีขาวแทนเทพเจ้าสันติ เช่น พระตารา, พระอวโลกิเตศวร[11]

โตร์มาอาหาร

[แก้]

โตร์มาอาหาร หรือ กังโตร์ (ไวลีย์: skang gtor) ใช้ในศาสนกิจ และจะนำมารับประทานบางส่วนขณะประกอบพิธี โดยที่เหลือ (ไวลีย์: dme gtor) จะนำมาถวายแก่สิ่งมีชีวิตระดับล่างกว่าหลังประกอบพิธีเสกแล้ว[12] ในบางธรรมเนียมอาจทำโตร์มาอาหารจากวัตถุดิบร่วมสมัยมากขึ้นเช่นกัน

โตร์มาของถวาย

[แก้]

โตร์มาของถวายบูชาทำขึ้นเพื่อถวายแด่เทพเจ้า หรือ กุบโตร์ / ชดโตร์ (ไวลีย์: sgrub gtor / mchod gtor) หรือพระธรรมบาล, ดวงวิญญาณที่เป็นอุปสรรคอยู่ หรือสิ่งมีชีวิตระดับล่างกว่า โดยโตร์มาที่ถวายแด่ดวงวิญญาณที่เป็นอุปสรรคจะเรียกว่า เก็กโตร์ (ไวลีย์: gegs gtor)[10]

โตร์มายา

[แก้]

โตร์มาอาจนำมาใช้ในการแพทย์พื้นถิ่นของทิเบตเพื่อดึงเอาความเจ็บป่วยออกจากตัวและเพื่อรักษา จากนั้นจะนำไปทิ้ง[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Tibet Album Glossary เก็บถาวร 2008-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Beer (2003) pp. 212-220
  3. Kongtrul (2002) p. 172
  4. Kongtrul (1998) p. 129
  5. Kongtrul (1998) p. 199
  6. Martin (1996) p. 336
  7. Beer (2003) p. 212
  8. Thrangu Rinpoche (2004) p. 171
  9. Beer (2003) pp. 214
  10. 10.0 10.1 Padmasambhava (2004) p. 245-246
  11. Beer (2003) pp. 213-214
  12. Kongtrul (1998) p. 132
  13. Beer (2003) p. 214

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Beer, Robert (2003) The Handbook of Tibetan Buddhist Symbols ISBN 1-932476-03-2
  • Khenchen Thrangu Rinpoche. Translated by Erik Pema Kunsang (2004) Crystal Clear: Practical Advice for Mahamudra Meditators ISBN 962-7341-51-7
  • Kongtrul, Jamgon and Padmasambhava. Translated by Erik Pema Kunsang (1998) Light of Wisdom: A Collection of Padmasambhava's Advice to the Dakini Yeshe Rangjung Yeshe Publications, ISBN 962-7341-33-9
  • Kongtrul, Jamgon. Translated by Sarah Harding. (2002) Creation & Completion: Essential Points of Tantric Meditation ISBN 0-86171-312-5
  • Padmasambhava. Translated by Erik Pema Kunsang (2004) Dzogchen Essentials: The Path that Clarifies Confusion Rangjung Yeshe Publications, ISBN 962-7341-53-3
  • Wilson, Martin (1996) In Praise of Tara: Songs to the Saviouress ISBN 0-86171-109-2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Tormas