ข้ามไปเนื้อหา

โดโซจิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดโซจิงรูปหัยครีพ

โดโซจิง หรือ โดโซชิง (ญี่ปุ่น: 道祖神; "เทพบรรพชนริมทาง") เป็นชื่อเรียกของคามิประเภทหนึ่ง ได้รับการปฏิบัติบูชาในแถบคันโตและพื้นที่ใกล้เคียง เชื่อว่าเป็นเทพารักษ์ประจำถนนหนทาง ปกป้องนักเดินทาง ผู้แสวงบุญ และชาวบ้านที่กำลังเดินทางข้ามเขตแดน ให้ปลอดภัยจากโรคระบาดและวิญญาณชั่วร้าย[1][2][3] บ้างเรียก ซาเอโนะคามิ (障の神), ไซโนะคามิ (塞の神), โดโรกูจิง (道陸神) หรือ ชากูจิง (石神; "ศิลาเทพ") เป็นรูปแกะสลักหินหรือเสาตั้งอยู่ริมถนน มีรูปลักษณ์ค่อนข้างหลากหลาย เป็นต้นว่า เป็นรูปคนคู่ชายหญิง ได้รับการเคารพเป็นเทพแห่งการสมรสและภาวะเจริญพันธุ์[3] บ้างเป็นรูปอวัยวะเพศ สื่อถึงการให้กำเนิด และชีวิตสมรสที่สมบูรณ์[4]

โดโซจิงบางแห่งตั้งอยู่ภายในศาลเจ้าชินโตขนาดน้อยริมถนนเรียกว่าโฮโกระ ()[5] สามารถพบโดโซจิงทั่วไป ตามชนบทจะพบได้บริเวณเขตหมู่บ้านและเส้นทางแถบภูเขา ส่วนเขตชุมชนเมืองจะพบได้ตามมุมถนนและบริเวณหัวสะพาน[3]

หลังการรับศาสนาพุทธผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออก[6] ก็ได้รับความเชื่อเรื่องพระกษิติครรภโพธิสัตว์ หรือที่เรียกว่า จิโซ (地蔵) ไปด้วย โดยเชื่อกันว่าโพธิสัตว์พระองค์นี้จะคุ้มครองนักเดินทางและผู้แสวงบุญ และเริ่มมีการตั้งรูปปั้นพระกษิติครรภะทางเส้นทางแสวงบุญและเส้นทางบนภูเขาในอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[3]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แม่แบบ:EOS
  2. Iwanami ญี่ปุ่น: Kōjienโรมาจิ広辞苑 Japanese dictionary, 6th Edition (2008), DVD version. "Sae no kami" and "Dōsojin"
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Dosojin - Japanese Protective Stone Statues Safeguarding the Village, Warding Off Evil, and Ensuring Propogation of Community". www.onmarkproductions.com. สืบค้นเมื่อ 2019-05-02.
  4. Bocking, Brian (1997). A Popular Dictionary of Shinto. Routledge. ISBN 978-0-7007-1051-5.
  5. Bocking, Brian (1997). A Popular Dictionary of Shinto. Routledge. ISBN 978-0-7007-1051-5.
  6. Irons, Edward (2008). Encyclopedia of Buddhism - Ksitigarbha. Facts on File.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โดโซจิง